ดูเหมือนว่า Toyota จะเริ่มประชาสัมพันธ์คุณงามความดีของชุดโครงสร้างพื้นตัวถัง
และงานวิศวกรรมร่วม TNGA ว่ามันมีดีอย่างไรบ้างแล้วซึ่ง Toyota เลือกประชาสัมพันธ์
ข้อมูลในช่วงที่ Toyota C-HR ครอสโอเวอร์รุ่นใหม่ล่าสุดกำลังเปิดตัว เพราะมันคือ
รถยนต์ที่ช่วยสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ Toyota ในด้านงานดีไซน์, งานวิศวกรรมและ
ตัวรถก็เป็นรถที่ตรงกับความต้องการของตลาดไม่น้อย
TNGA ย่อมาจาก Toyota New Global Architecture เป็น Modular Platform
ที่มีหลักการเดียวกับ Volkswagen Group MQB และ Renault-Nissan CMF คือ
มันจะเป็นชุดโครงสร้างงานวิศวกรรมสำเร็จรูปที่ประกอบไปด้วยพื้นตัวถังส่วนห้องเครื่องยนต์
, พื้นตัวถังห้องโดยสาร, พื้นตัวถังห้องสัมภาระและชุดระบบส่งกำลัง/ระบบไฟฟ้าที่
สามารถใช้ร่วมกันได้โดยไม่ต้องดัดแปลงให้เปลืองต้นทุน
Toyota C-HR คือรถยนต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นบนพื้นตัวถัง TNGA-C สำหรับรถระดับ
คอมแพคท์ C-Segment มีความยาวฐานล้อสั้นเพียง 2,640 มิลลิเมตร (สั้นกว่า
Prius ใหม่ที่สร้างขึ้นบนพื้นตัวถังเดียวกัน 60 มิลลิเมตร) แต่กลับมีความกว้างแทร๊ค
ล้อคู่หน้ามากกว่า Prius 20 มิลลิเมตร สำหรับความกว้างแทร๊คล้อคู่หลังมากกว่า
Prius 10 มิลลิเมตร
จุดมุ่งหมายของการพัฒนา Toyota C-HR แตกต่างจากเอสยูวีและครอสโอเวอร์รุ่นอื่น
เพราะมันถูกพัฒนาให้มีสมรรถนะการขับขี่ใกล้เคียงกับรถแฮทช์แบคเอามาก ๆ ด้วย
การออกแบบให้รถจุดศูนย์ถ่วงต่ำ, ช่วงล่างหน้าเป็นแบบแมคเฟอสันสตรัท
พื้นตัวถัง TNGA นี้ทนต่อการบิดตัวสูงกว่า C-Platform ดั้งเดิม (Corolla Altis, Auris)
ถึง 65% และ Toyota ตั้งเป้าหมายให้รถยนต์รุ่นใหม่ทั่วโลก 50% ต้องพัฒนาขึ้นบนพื้น
ตัวถัง TNGA ภายในปี 2020
Toyota C-HR มีขุมพลังทางเลือก 3 แบบที่เหมาะสมในแต่ละตลาด อาทิ เครื่องยนต์
ใหม่เบนซิน 1.2 ลิตรเทอร์โบ 115 แรงม้า (PS) แรงบิด 185 นิวตันเมตรจับคู่เกียร์
ธรรมดา 6 จังหวะและ CVT มีให้เลือกทั้งแบบขับเคลื่อนสองล้อหรือสี่ล้อ
เครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร Dual VVT-I 147 แรงม้า (PS) แรงบิด 187 นิวตันเมตรมี
ให้เลือกเฉพาะเกียร์ CVT และขุมพลัง Hybrid ที่จับคู่เครื่องยนต์เบนซิน 1.8 ลิตร
Atkinson Cycle กับมอเตอร์ไฟฟ้าลูกเดียวกับ Prius ใหม่
สำหรับตลาดเมืองไทยต้องอดใจรอกันสักพักใหญ่
ที่มา : Paultan