เอฟเฟคท์ข่าว Nissan ถือหุ้น 34% ใน Mitsubishi Motors ยังกระเพื่อม
ไม่หยุดหย่อน เพราะทุกคนมักคิดต่อกันไปว่าแล้วรถยนต์รุ่นใหม่ของทั้ง 2 จะมีแนว
ทางการพัฒนาอย่างไร? แล้ว Renault-Nissan Alliance สามารถไต่ระดับ
ความยิ่งใหญ่ไปสู่กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตรถยนต์ Top 3 ได้หรือไม่?
Carlos Ghosn ได้ไขข้อข้องใจกับสื่อมวลชนต่างประเทศถึง 2 ประเด็น ประเด็น
แรกเมื่อ Nissan ซื้อหุ้น Mitsubishi 34% แล้วจะเกิดความเปลี่ยนแปลง
อันดับยอดขาย Renault-Nissan Alliance อย่างไรบ้าง?
Ghosn คาดการณ์ว่ากลุ่มธุรกิจ Renault-Nissan Alliance จะมียอดขาย
รวมทั้งหมด (รวม Mitsubishi Motors) มากถึง 10 ล้านคันในปี 2016
ซึ่งจะทำให้ Renault-Nissan ติดอันดับยอดขาย Top 3 ระดับโลกไม่ตำแหน่ง
ใดก็ตำแหน่งหนึ่ง (หมายความว่าอาจจะเป็นเบอร์ 1, 2 หรือ 3 ขึ้นอยู่กับยอดขายของ
Toyota, VW และ GM)
หากเทียบยอดขายในกลุ่ม Renault-Nissan Alliance ประจำปี 2015
มียอดขาย 8.5 ล้านคัน ถ้าหากบริษัทสามารถบรรลุเป้าหมาย 10 ล้านคันได้ภาย
ในปี 2016 ก็หมายความว่าบริษัทจะเติบโตขึ้นถึง 17.64% โตแบบพุ่งก้าวกระโดดสุด ๆ
ปัจจุบัน Toyota เป็นเจ้าตลาดรถยนต์อันดับ 1 ของโลกประจำปี 2016 ด้วย
ยอดขายสูงถึง 10.23 ล้านคัน (รวมแบรนด์ Daihatsu, Hino และ Lexus
ด้วย) แต่ Toyota เองกลับคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ประจำปี 2016 อาจจะ
ลดเหลือ 10.15 ล้านคันถือเป็นการประเมินสถานการณ์ยอดขายลดลงเป็นครั้ง
แรกในช่วงรอบ 15 ปีที่ผ่านมา
ส่วนแผนงานการพัฒนาสินค้าก็เป็นประเด็นที่ทุกคนสนใจกันมาก คำตอบกระชับได้
ใจความว่าคือ โอกาสที่ Nissan จะพัฒนารถยนต์ร่วมกับ Mitsubishi โดยใช้
พื้นฐานวิศวกรรมส่วนมากเป็นไปได้สูงมาก
Ghosn กล่าวว่าต้นทุนการพัฒนาพื้นตัวถังสักแบบหนึ่งต้องใช้เงินทุนถึง 500 ล้าน
ดอลลาร์ แล้วถ้ายิ่งมีถึง 9 แพลทฟอร์มด้วยแล้วล่ะก็ลองคูณกันว่าต้นทุนสูงขนาดไหน
แต่ถ้ามีการแชร์แพลทฟอร์มกันก็อาจจะประหยัดงบการพัฒนาลงได้ถึง 4,500 ดอลลาร์
กันเลยทีเดียว
รถกระบะ Nissan NP300 Navara และ Mitsubishi Triton โฉมใหม่
ก็จะแชร์แพลทฟอร์มร่วมกันหลังจากพ้นทศวรรษนี้ไป เพราะทั้งคู่เพิ่งแนะนำรถกระบะ
รุ่นเปลี่ยนโฉมไปเมื่อปี 2014 ถือว่ายังเร็วไปที่จะพูดคุยถึงอนาคตของรถรุ่นใหม่กัน
Ghosn กล่าวว่ารถกระบะโฉมใหม่ทั้งคู่จะใช้แพลทฟอร์มร่วมกันจริงแต่ จะพัฒนา
แยกออกจากกันเพราะลูกค้า Mitsubishi จะไม่เหมือนกับ Nissan โดยอาศัย
ประโยชน์ของการลดต้นทุนการพัฒนาที่ต่ำกว่าและลดค่าใช้จ่ายการสั่งซื้อชิ้นส่วนที่
ลูกค้ามองไม่เห็นด้วยตาเปล่าได้ด้วย
การพัฒนารถกระบะโดยใช้พื้นตัวถังร่วมกันนั้น จะแยกส่วนงานดีไซน์, การปรับจูน
ช่วงล่างและระดับอุปกรณ์มาตรฐานให้แตกต่างกันตามแต่บุคลิกของแบรนด์ ดังนั้น
ลูกค้าสามารถคาดหวังรถกระบะรุ่นใหม่ที่มีเอกลักษณ์และสเปคที่แตกต่าง
สิ่งที่ Nissan กำลังพุ่งเป้าความสนใจในอนาคตคือการร่วมมือกันพัฒนารถยนต์
ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า, รถยนต์ขับขี่อัตโนมัติและระบบการเชื่อมต่อ แต่ Ghosn
ดูจะสนใจในการพัฒนารถไฟฟ้าร่วมกับ Mitsubishi มากกว่า
ถ้าพูดถึงเรื่องต้นทุนแล้ว Ghosn ก็ยิ่งต้องให้ความสนใจเพราะเขามองว่าถึงแม้
Mitsubishi Motors เป็นบริษัทรถยนต์ที่เล็กกว่า Nissan มาก (ยอดขาย
รถยนต์ Nissan ประจำปีงบประมาณ 2015 สูงถึง 5.4 ล้านคันและ Mitsubishi
Motors 1 ล้านคัน) แต่ Mitsubishi ก็เป็นบริษัทที่มีศักยภาพรีดเค้นกำไรสูงกว่า
เมื่อยิ่งมีการรวมพลังกันก็ยิ่งทำให้ Mitsubishi Motors มีพลังในการเค้นผลกำไร
ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมจากการแชร์ต้นทุนและขั้นตอนการจัดซื้อร่วมกัน
Ghosn พูดให้ทุกคนคิดและจินตนาการตามว่า ลองคิดดูว่าถ้า Mitsubishi
ได้ใช้แพลทฟอร์มที่แชร์โดย Nissan โดยไม่ต้องพัฒนาแพลทฟอร์มใหม่ด้วยตนเอง
Mitsubishi ก็กลายเป็นบริษัทที่มีความสำคัญขึ้นไปอีกเพราะด้วยขนาดบริษัท
ของ Mitsubishi เอง
ในขณะเดียวกัน Nissan ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลงเพราะเริ่มไปใช้
แพลทฟอร์มจาก Mitsubishi ในรถบางรุ่น
Ghosn ยืนยันว่าทั้ง Nissan และ Mitsubishi สามารถผลิตรถยนต์ซึ่ง
กันและกันได้ และรถยนต์บางรุ่นของ Mitsubishi สามารถผลิตในโรงงาน
Nissan ได้ ซึ่งคุณประโยชน์ของการผลิตข้ามบริษัทก็อาจจะช่วยลดความกังวล
เมื่อกำลังการผลิตเต็มหรือมีเหตุการณ์ปิดโรงงานเกิดขึ้น เพียงแต่ทั้งสองบริษัทยัง
ยืนยันที่จะผลิตรถยนต์ในโรงงานของตัวเองเป็นหลักก่อน
ดูเหมือนว่า Mitsubishi Motors อาจได้เปรียบกว่า Nissan ในด้านของ
ขนาดธุรกิจที่เล็กกว่า คล่องแคล่วปราดเปรียวและสามารถบีบผลกำไรได้เกินตัว
จนสื่อบางคนคิดว่าแล้ว Nissan จะได้ประโยชน์อะไรจาก Mitsubishi บ้าง?
คำตอบคือ Nissan จะได้รับการเอื้อประโยชน์จาก Mitsubishi ซึ่งมีสถานภาพ
ที่แข็งแกร่งในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังได้รับองค์ความรู้ด้านการ
พัฒนารถยนต์ Plug-in Hybrid ซึ่งกำลังเป็นปัญหาของ Nissan ที่ยังแก้ไม่ตก
ที่มา : Motoring