“คนสูงวัยจะไปไหนทีต้องเดือดร้อนลูกหลานขับรถให้นั่ง” นั้นได้หมดยุคไปแล้วในปัจจุบัน
เมื่อสถิติอย่างเป็นทางการของประเทศสหรัฐฯชี้ให้เห็นว่าจำนวนของผู้มีใบขับขี่ที่มีอายุเกิน
65 ปีได้เพิ่มขึ้นถึง 29% เมื่อเปรียบเทียบตัวเลขระหว่างปี 2003 และปี 2013

 

The 650-hp, 2015 Chevrolet Corvette Z06 is one of the most capable vehicles on the market, capable of accelerating from 0 to 60 mph in only 2.95 seconds, achieving 1.2 g in cornering acceleration, and braking from 60-0 mph in just 99.6 feet.

 

รสนิยมของผู้สูงอายุในการเลือกยานพาหนะคู่ใจซักคันได้เปลี่ยนไปแล้วด้วยเช่นกัน
เนื่องจากสถิติการซื้อรถยนต์ออนไลน์ในเมืองบอสตันจากเวปไซต์ CarGurus พบว่ารถยนต์
ขวัญใจวัยทองคือ Chevrolet Corvette ไม่เพียงแค่นั้น Hans-Richer ผู้บริหารฝ่ายการตลาด
ของ Harley – Davidson ยังให้สัมภาษณ์กับ Washington Post ด้วยว่ามีชายวัยเกษียณ
มาถอยชอปเปอร์ไปขี่เล่นหลายรายแล้ว ซึ่งอายุอานามก็ไม่ได้อยู่ในวัย 50 หยกๆ 60 อ่อนๆ
แต่มีหลายรายที่มีอายุถึง 80 ปี

นอกจากนี้ยอดจดทะเบียนรถยนต์นั้นได้แสดงข้อมูลที่น่าสนใจ เมื่อพบว่าเจ้าของรถยนต์ที่
อายุเกิน 75 ปีนั้นมีจำนวนมากเป็นหกเท่าของจำนวนเจ้าของรถยนต์ที่มีอายุระหว่าง 18 – 24 ปี
ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มเป้าหมายทางทางการตลาดกลุ่มใหญ่ที่หลายผู้ผลิตรถยนต์ให้ความสำคัญ
โดยให้เหตุผลที่ค่อนข้างใจร้ายว่ากลุ่มผู้สูงอายุมักจะไม่เป็นกลุ่มที่กลับมาซื้อรถเพิ่มเนื่องจาก
มีโอกาสสูงที่พวกเขาจะจากไปก่อนที่รถยนต์จะพังนั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มคนหนุ่มสาวที่มี
โอกาสสูงที่จะกลับมาซื้อรถยนต์คันใหม่เมื่อเติบโตขึ้นหรือซื้อทดแทนนั่นเอง

ข้อมูลเหล่านี้คงทำให้ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายทบทวนการวางกลุ่มเป้าหมายลูกค้าใหม่เสียแล้ว
เพราะยังมีข้อเท็จจริงอีกข้อที่ไม่ได้กล่าวถึงคือ กลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงเนื่องจาก
ทำงานเก็บหอมรอมริบมาทั้งชีวิตและต้องการจะหาของขวัญวัยเกษียณซักชิ้นให้ตนเอง ซึ่ง
แตกต่างจากคนวัยหนุ่มสาวโดยสิ้นเชิงที่ยังอยู่ในวัยก่อร้างสร้างหนี้ หมุนเงินกันหน้ามืด
ชนิดเดือนชนเดือน ทำให้กลุ่มลูกค้าที่ควรจะเป็นกลุ่มที่ใหญ่สุดมีขนาดเล็กกว่าบรรดาผู้สูงอายุ
เห็นทีคงหมดยุคคำพูดที่ว่า “รถก็เก่าคนก็แก่” ไปเสียแล้ว

ที่มา : Motortrend