Nissan เผยไฮไลต์สำคัญในงาน Tokyo Motorshow 2015 นั่นคือการเผยโฉมรถต้นแบบ Nissan IDS Concept
อนาคตใหม่ของรถไฟฟ้าและรถขับขี่อัตโนมัติ
ในเดือนสิงหาคม 2013 Nissan Motor เคยประกาศตนชัดเจนแล้วว่าจะส่งรถขับขี่อัตโนมัติหลายรุ่นภายในปี 2020 และ
ด้วยกระบวนการพัฒนาในขณะนี้ก็ทำให้ Nissan มั่นใจได้ว่าระบบขับขี่อัตโนมัติจะเกิดขึ้นจริงตามที่เคยพูดไว้แน่
Nissan Intelligent Driving คือแนวคิดรถยนต์ขับขี่อัตโนมัติจาก Nissan และเป็นสิ่งที่เชื่อมั่นว่ารถยนต์ในอนาคตควร
จะต้องมีระบบนี้ไว้
Carlos Ghosn กล่าวว่า “รถอัจฉริยะจาก Nissan จะช่วยให้ผู้ขับขี่เพิ่มขีดความสามารถในการมองเห็น, คิดและกระทำ
มากขึ้น เพื่อชดเชยความผิดพลาดของมนุษย์อันเป็นเหตุของอุบัติเหตุถึง 90% ผลลัพธ์คือมนุษย์จะใช้เวลาที่อยู่ในรถอย่าง
ปลอดภัย, สะอาด, มีประสิทธิภาพขึ้นและมีความสนุกระหว่างเดินทาง”
นับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นไป Nissan คาดว่าระบบขับขี่อัตโนมัติจะมีวิ่งทั่วทุกระแหงทั่วโลก
Nissan เคลมว่า IDS Concept เป็นได้มากกว่ารถขับขี่อัตโนมัติทั่วไปที่ทำหน้าที่เพียงสายพานลำเลียงจากจุด A ไป B คือ
ทันทีที่ให้ระบบนำร่องทำงาน ระบบก็จะเร่ง, เบรกจนถึงหักเลี้ยวเลียนแบบพฤติกรรมขับขี่มนุษย์และตามที่ตั้งค่าไว้
โหมดขับขี่ปกติ ผู้ขับจะได้รับความสนุกสนานในการขับขี่ ด้วยคันเร่งที่แม่นยำและการเข้าโค้งที่น่าตื่นใจ เบื้องหลังที่
น่าสนใจ เซ็นเซอร์อัจฉริยะคอยตรวจสอบเงื่อนไขอย่างต่อเนื่องและให้ความช่วยเหลือได้ทุกขณะการควบคุม ในกรณีเกิด
เหตุอันตราย ระบบจะคอยป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้าย
นอกจากนี้ Nissan IDS Concept มีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่สามารถสื่อสารได้เฉกเช่นพันธมิตร ตั้งแต่การรับรู้สภาพ
การจราจร, ตารางชีวิตผู้ขับขี่จนถึงเรียนรู้ว่าผู้ขับขี่สนใจอะไร จากข้อมูลทั้งหมดก็ทำให้ระบบปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะสร้าง
ประสบการณ์การขับขี่ที่สนุกและปลอดภัย
ไฮไลต์สำคัญของ Nissan IDS Concept คงมิใช่เป็นแค่เพียงรถขับขี่อัตโนมัติเท่านั้น แต่มันเป็นรถที่สามารถสื่อสาร
ระหว่างรถกับเพื่อนมนุษย์ได้ด้วยจากระบบปัญญาประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่
Mitsunori Morita ผู้อำนวยการออกแบบรถต้นแบบคันนี้เปิดเผยว่า พวกเขาออกแบบ Nissan IDS Concept ให้มี
ความยาวฐานล้อมาก เพื่อความกว้างขวางของห้องโดยสารที่รองรับผู้ใหญ่ 4 คน และออกแบบภายในห้องโดยสารให้
สามารถเปลี่ยนรูปแบบไปมาสองโหมดการขับขี่ได้
หากผู้ขับขี่เข้าสู่โหมดขับขี่อัตโนมัติ พวงมาลัยก็จะหุบเข้าไปอัตโนมัติเพื่อหมุนหน้าจอขนาดใหญ่เข้ามาแทนที่ พร้อมกัน
หมุนหน้าจอขนาดใหญ่ฝั่งผู้โดยสารเพื่อแสดงผลสำคัญ โดยระบบปัญญาประดิษฐ์จะรับข้อมูลเสียงและการวาดมือจากผู้
ขับขี่เท่านั้น เบาะนั่งทั้งสองตอนจะบิดเอียงเข้าหาซึ่งกันและกันคล้าย ๆ ห้องสนทนา
ถ้าอยู่ในโหมดขับขี่โดยมนุษย์ แผงแดชบอร์ดจะกลายร่างเป็นแผงปกติ ไม่มีหน้าจอขนาดยักษ์และขนาดใหญ่ให้เห็น
พวงมาลัยก็จะยืดขึ้นมาพร้อมกับหน้าจอมาตรวัดมาตรฐาน ใช้ไฟหรี่โทนสีฟ้า, แป้นเหยียบต่าง ๆ จะถูกยกขึ้นมาเพื่อให้
รองรับสรีระผู้ขับขี่
การออกแบบภายนอกจะเน้นให้ผู้คนรู้สึกเชื่อมั่นในระบบขับขี่อัตโนมัติ การมีไฟล้อมรอบตัวรถและมีหน้าจอแสดงข้อความ
ทักทายผู้คนรอบข้างหรือสื่อสารกับผู้ใช้ถนนรอบข้าง
หลักอากาศพลศาสตร์ก็สำคัญต่อระยะทางวิ่งสูงสุด Nissan จึงเน้นหนักตรงจุดนี้ เริ่มจากโครงสร้างตัวถังคาร์บอนไฟเบอร์
ที่มีความสูงเพียง 1,380 มิลลิเมตร มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานต่ำ วางตำแหน่งล้อชิดมุมตัวรถมากที่สุด เน้น
เส้นผ่าศูนย์กลางล้อใหญ่แต่ใช้ยางขอบ 175 เพื่อลดแรงเสียดทาน, ตัวล้อดีไซน์ให้มีเลเยอร์คล้ายครีบฉลามเล็กเพื่อหวังผล
ด้านการหมุนเวียนลมที่ลื่นไหล
รวม ๆ ไม่ได้บอกว่าขุมพลังมอเตอร์ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพอย่างไร ดูเหมือนว่าจะโชว์ความเป็นรถอัจฉริยะเสียมากกว่า
ที่มา : Nissan