ในสัปดาห์ที่ผ่านมา Subaru ได้ประกาศแผนธุรกิจชื่อ STEP ด้วยปรัชญาที่จะเป็นบริษัทที่มีจุดยืนในตลาด และให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอย่างแรก ภายใต้วิสัยทัศน์ 3 ประการ ประกอบด้วย เป็นแบรนด์ที่แตกต่างจากผู้อื่น, ดำเนินกิจการทางธุรกิจโดยให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมเพื่อสังคมในหลากหลายรูปแบบ สำหรับความหมายของ STEP มีดังนี้

  • S – Speed รวดเร็ว
  • T – Trust เชื่อมั่น (ใช้สีเข้มเนื่องจาก เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด)
  • E – Engagement ผูกพัน
  • Peace of Mind and enjoyment อุ่นใจและสนุก

แผนธุรกิจ STEP ของ Subaru ถือเป็นแผนการดำเนินงานระยะกลาง ครอบคลุมปี 2018 – 2025 มีรายละเอียดปลีกย่อยในแต่ละหัวข้อ ดังนี้

ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมบริษัท

ทำสิ่งที่ถูกต้องในทางที่เหมาะสม, ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในองค์กร รวมถึงเรื่องทรัพยากรบุคคล, ทบทวนกิจกรรมเพื่อสังคม และนำ IT มาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมทางธุรกิจ

ด้านคุณภาพ

ให้ลูกค้าอุ่นใจกับการเป็นเจ้าของรถยนต์ Subaru ในระยะยาว ด้วยการทบทวนทุกกระบวนการ ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการผลิต เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพ, ยกระดับโรงงานผลิต, เพิ่มความเข้มงวดในระบบตรวจสอบคุณภาพ และปรับปรุงขั้นตอนการให้บริการ พร้อมกันนั้น มีแผนการลงทุนมูลค่า 150,000 ล้านเยน (ราว 44,000 ล้านบาท) เพื่อปรับปรุงเรื่องดังกล่าว ตามกรอบเวลา 5 ปี

แผน Subaru-zukuri (การสร้างรถยนต์ Subaru)

ไม่ใช่แค่การสร้างรถยนต์ แต่นี่คือการสร้างรถยนต์ Subaru ด้วยการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้า ในเรื่องของ คุณภาพสูง, มูลค่าสูง และราคาถูก โดยจะเกี่ยวข้องทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผนผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการให้บริการ

เสริมความปลอดภัยและความอุ่นใจ

Subaru ตั้งเป้าที่จะกำจัดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ Subaru ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่อยู่ในรถยนต์ และคนเดินถนนหรือคนปั่นจักรยานที่ Subaru ไปชน ภายในปี 2030 ด้วยการพัฒนาระบบความปลอดภัย ที่ช่วยลดความผิดพลาดของคนขับ โดยไม่ไปยุ่งกับสิ่งที่คนขับเชี่ยวชาญกว่า

สร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง

สร้างเครือข่ายระหว่าง Subaru, ผู้จำหน่าย, ลูกค้า และสังคม ให้เชื่อมต่อกัน พร้อมเปิดตัวระบบ Subaru Digital Innovation ที่นำข้อมูลและเทคโนโลยีเชื่อมต่อในรถยนต์ มาสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าแต่ละราย

แผนผลิตภัณฑ์และทิศทางการออกแบบ

Subaru จะเปิดตัวรถยนต์รุ่นหลักแบบ All NEW ในทุกปี โดยเน้นทั้ง SUV และรถสปอร์ต ส่วนแนวทางการออกแบบจะเป็นการนำแนวคิด Dynamic x Solid มาต่อยอดขึ้นไป

ทางสิ่งแวดล้อม

ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ทั้งในแง่ของ อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง อัตราการปล่อยมลพิษ และความทนทาน อีกทั้งยังมีการปรับปรุงทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้ง การผลิต, การขาย และงานธุรการ

ความร่วมมือกับ Toyota

ร่วมมือกับ Toyota ต่อไป เพื่อสร้างรถยนต์ที่ดีกว่าเดิม และปรับเปลี่ยนตามสังคมแห่งการเคลื่อนที่ ไปพร้อมกับการรักษาเอกลักษณ์ของ Subaru เอาไว้ ส่วนการพัฒนาร่วมกันนั้น จะครอบคลุมทั้งในเรื่องของรถยนต์ไฟฟ้า และระบบเชื่อมต่อระหว่างรถยนต์

การสรรสร้างนวัตกรรม

Subaru ได้ร่วมมือกับ SBI Investment เพื่อก่อตั้งทุน Subaru-SBI Innovation Fund โดยนำเงินไปลงทุนกับธุรกิจ start-up ทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ เพื่อนำเทคโนโลยีและโครงสร้างธุรกิจ ของบริษัทใหม่มาปรับใช้

กลยุทธ์ทางการตลาด

Subaru ตั้งเป้าที่จะมียอดขายทั่วโลก 1,300,000 คัน ในปี 2025 พร้อมรักษาอัตราการเติบโตทั่วโลก ทั้งในสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, โอเชียเนีย, รัสเซีย, ตะวันออกกลาง, ยุโรป และจีน

กลยุทธ์ในธุรกิจการบิน

Subaru จะยังอยู่ในธุรกิจการบินต่อไป เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งระบบจำแนกวัตถุ, กลยุทธ์ความร่วมมือ และความร่วมมือกับธุรกิจยานยนต์

นโยบายการเงินและผลกำไร

  • เพิ่มการลงทุนเชิงกลยุทธ์และด้าน R&D
  • เป็นผู้นำด้านการสร้างผลกำไร (ตั้งเป้าให้มี operating margin ไม่ต่ำกว่า 10%)
  • มีสัดส่วนหุ้น 50% หรือสูงกว่า พร้อมรักษาระดับ ROE ไว้ที่ 10% และตั้งเป้าเอาไว้ที่ 15% หรือสูงกว่านั้น
  • รักษาสภาพคล่องทางการเงิน ให้อยู่ในระดับที่เทียบเท่ากับ ยอดขายอย่างต่ำ 2 เดือน
  • คืนผลกำไรให้กับผู้ถือหุ้นทุกราย และปรับสัดส่วนการซื้อหุ้นคืน ตามสภาพคล่องทางการเงิน

ที่มา: Subaru