หลังจากที่ทางการของประเทศมาเลเซีย ได้ไปประชุมหารือเรื่องของความปลอดภัย
บนท้องถนน กับทางการของประเทศเกาหลีใต้ รัฐมนตรีของมาเลเซียได้นำแนวคิด
การเปลี่ยนไปใช้ราวกั้นถนน (Barrier) แบบใหม่ ที่มีลักษณะแปลกตาเพราะมีลูกกลิ้ง
อยู่ข้างใน กลับมาใช้ที่ประเทศของตน และ ราวกั้นถนนแบบดังกล่าวได้เริ่มใช้งานจริง
หลังจากที่มีการเสนอติดตั้งในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

road_safety_barriers_2812_620_413_100

ราวกั้นถนนที่เห็นนี้ผลิตโดยบริษัท FTI จากเกาหลีใต้ มีลักษณะแตกต่างจากราวกั้นถนน
ทั่วไป เพราะมีลูกกลิ้งพลาสติกสีเหลืองกั้นอยู่ตรงกลาง ระหว่างแนวเหล็กรั้วถนนยาว
ตลอดแนว ตัวลูกกลิ้งนี้เองจะทำหน้าที่รับแรงปะทะตอนที่รถยนต์เสียหลักเข้ามาชนรั้ว
ช่วยลดโอกาสที่รถยนต์คันนั้นจะทะลุรั้วไปอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดความสูญเสียได้
หากอีกฝั่งของราวกั้นถนนเป็นเลนสวน หรือเหวลึก

SONY DSC

ราวกั้นถนนแบบใหม่นี้ได้รับการติดตั้งในวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา บริเวณทางลอด Subang
Airport Road มุ่งหน้าไปยัง Federal Highway เป็นระยะทาง 100 เมตร เนื่องจากเป็นจุบอับ
ในตอนนี้อยู่ระหว่างการติดตามผลว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ตั้งแต่ติดตั้ง
ราวกั้นถนนแบบใหม่มาก็ยังไม่เคยเกิดอุบัติเหตุเลย หากผลศึกษาพบว่าช่วยลดความ
เสียหายจากอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะมีการนำราวกั้นถนนแบบใหม่ไปติดตั้ง
ในจุบอับอื่นๆด้วย

roadside-safety-management-28-728

ราวกั้นถนนแบบใหม่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการลดความสูญเสียบนท้องถนน เพราะ ทางการ
อยู่ระหว่างการศึกษาที่จะเปลี่ยนราวกั้นถนนแบบเดิม จากมาตรฐาน TL3 ไปเป็น TL6 ที่
สามารถทนแรงกระแทกจากยานพาหนะที่มีน้ำหนักเกิน 3,500 กิโลกรัม ความตื่นตัว
ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่มีอุบัติเหตุรถบัสชนที่กั้นรั้วบนถนน North-South Expressway
ในวันที่ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา

Muariv_24122016_620_427_100

เหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้เสียชีวิตจำนวน 14 ศพ เพราะ รถบัสได้ตกลงไปในเหวที่มีความลึก
10 เมตร นับว่าเป็นอุบัติเหตุรถบัสที่ร้ายแรงที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศมาเลเซีย
รองลงมาจากเหตุการณ์รถบัสตกเหวในปี 2013 ที่คร่าชีวิตผู้โดยสารไปถึง 37 ศพ

จากคลิปวีดีโอดังกล่าว หากเป็นรถที่มีขนาดใหญ่พบว่าน่าจะช่วยลดความเสี่ยงของการ
ตกไหล่ทางไปได้มาก แต่หากเป็นรถขนาดเล็ก แรงกระเด้ง กระดอนอาจสร้างความ
เสียหายให้กับรถยนต์ที่วิ่งอยู่ข้างๆได้ ทั้งนี้คงต้องรอดูกันต่อไปว่า ราวกั้นถนนแบบใหม่นี้
จะแสดงประสิทธิภาพกับการใช้งานจริงกับรถทุกประเภทได้มากน้อยขนาดไหน
แต่ที่แน่ๆรถขนาดใหญ่น่าจะลดความเสี่ยงไปได้มากทีเดียว

ส่วนในประเทศไทยเองก็มีใช้ในหลายพื้นที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น แถวๆเขื่อนแก่งกระจาน,
ทางลงวงแหวนอุตสาหกรรม ฝั่งลงปู่เจ้าสมิงพราย, วงแหวนเข้าแหลมฉบัง, ซอย
วัดลาดปลาดุก, มอเตอร์เวย์ฝั่งขาออก วิ่งเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ ฯลฯ

ที่มา : paultan, themalaymailonline