นอกจากจีนเป็นประเทศแรกที่มีการจับคู่เครื่อง 1.5 Turbo กับเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ
ให้เลือกแล้ว โดยใช้ชื่อรุ่นว่า ” Civic 220Turbo “ ที่เปิดตัวไปเมื่อช่วงต้นปี
Dongfeng Honda ก็มาตามนัด ดังที่เคยประกาศเอาว่าว่าจะมีทางเลือกเครื่องยนต์
รุ่นใหม่ที่เล็กกว่าขุมพลัง 1.5 ลิตรเทอร์โบ ด้วยรุ่น 180Turbo ติดตั้งเครื่องยนต์เบนซิน
3 สูบ 1.0 ลิตรเทอร์โบ ทั้งยังให้อุปกรณ์ต่างๆมา ในรูปแบบเดียวกับรุ่น 220 Turbo อีกด้วย
แต่จะแตกต่างที่รายละเอียดภายนอกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ความแตกต่างภายนอกระหว่างรุ่น 220 Turbo และ 180 Turbo อยู่ที่กระจังหน้าโครเมี่ยมรมดำ
เปลี่ยนเป็นกระจังหน้าโครเมี่ยม, ไฟหน้า LED เปลี่ยนเป็น ไฟหน้า Projector ฮาโลเจน, ล้อ
ขนาด 17 นิ้ว เปลี่ยนเป็น 16 นิ้วรัดด้วยยาง 215/ 55 และสัญลักษณ์ชื่อรุ่น 220 Turbo เปลี่ยน
เป็น 180 Turbo ใต้ป้ายชื่อรุ่น Civic บริเวณฝากระโปรงหลังด้านขวา
ภายในให้อุปกรณ์ต่างๆมาเหมือนกัน ประกอบไปด้วย หน้าจอสัมผัสพร้อมระบบนำทาง Honda
Navi Infotainment, พวงมาลัยแบบ Multi-Function, หน้าปัดกึ่งดิจิตอล, เบรกมือไฟฟ้า,
เบาะหนัง, ปุ่มควบคุม Eco Mode และระบบปรับอากาศอัตโนมัติ
Civic 220Turbo
เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ 1.5 ลิตร เทอร์โบ ให้กำลังสูงสุด 174 แรงม้า (PS)
ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 220 นิวตันเมตร ที่ 1,700 – 5,000 รอบ/นาที
จับคู่กับเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ หรือ เกียร์อัตโนมัติ CVT
Civic 180Turbo
เครื่องยนต์เบนซิน 3 สูบ 1.0 ลิตร เทอร์โบ ให้กำลังสูงสุด 123 แรงม้า (PS)
ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 180 นิวตันเมตร ที่ 2,000 – 4,500 รอบ/นาที
ทำงานร่วมกับเกียร์ธรรมดา หรือ เกียร์อัตโนมัติ CVT
ซึ่งตัวเลขสมรรถนะ และ อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ที่เคลมเอาไว้จากโรงงาน
– เกียร์ธรรมดา ให้อัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ภายใน 11.6 วินาที
ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 204 กิโลเมตร/ชั่วโมง อัตราสิ้นเปลืองโดยเฉลี่ยอยู่ที่
18 กิโลเมตร/ลิตร
– เกียร์อัตโนมัติ CVT ให้อัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ภายใน 11.3 วินาที
ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง อัตราสิ้นเปลืองโดยเฉลี่ยอยู่ที่
20 กิโลเมตร/ลิตร
นอกเหนือจากเครื่องยนต์ และ ระบบส่งกำลังที่ต่างกันเล็กน้อยแล้ว มี Sunroof
และ ช่องแอร์สำหรับผู้โดยสารตอนหลัง ยังมีระบบป้องกัน Active Safety
อย่าง Honda Sensing เพิ่มเข้ามา
– Collision Mitigation Braking System (CMBS)
กล้องและเรดาร์ด้านหน้าคอยตรวจจับรถหรือวัตถุหรือคน เมื่ออยู่ในความเสี่ยง
ระบบก็จะเตือนด้วยเสียงและภาพ เพื่อเริ่มเข้าใกล้วัตถุหรือคนเข้าทีละน้อย
ระบบก็จะค่อย ๆ เพิ่มแรงดันเบรก ยิ่งใกล้มากเท่าไร ระบบก็จะส่งเสียงเตือน
และพวงมาลัยก็จะสั่นเตือนเพื่อให้เบรกและเมื่อจวนตัวจนใกล้จะชนแล้วล่ะก็
ระบบก็จะหยุดรถให้ทันที
– Road Departure Mitigation system (RDM)
ระบบจะเตือนให้ผู้ขับขี่รับทราบว่าตัวรถได้เผลอออกนอกเลนแล้วผ่านภาพและ
การสั่นของพวงมาลัย เพื่อให้ผู้ขับขี่บังคับรถกลับ และถ้าตัวรถออกนอกเลน
มากเกินไป ระบบก็จะเบรกเพื่อป้องกันการชนรถหรือคนเดินถนน
– Lane Keeping Assist System (LKAS)
ระบบป้องกันการออกนอกเลนเมื่อขับขี่ด้วยความเร็วมากกว่า 65 km/h
ด้วยการประคองพวงมาลัยช่วยผู้ขับขี่เพื่อลดอาการเหนื่อยล้า และถ้ารู้สึกว่าตัวรถ
ทำท่าจะออกนอกเลน ระบบก็จะเตือนผู้ขับขี่ด้วยการสั่งให้พวงมาลัยสั่น
– Adaptive Cruise Control with Low-Speed Follow (LSF)
เรดาร์และกล้องหน้าคอยตรวจจับระยะห่างของรถคันหน้า ระบบจะช่วยรักษาความเร็ว
และคอยเบรกเพื่อรักษาระยะห่าง โดยมีขอบเขตการรักษาระยะห่างทุกย่านความเร็วจน
ไปถึง 0 km/h
ที่มา : paultan, autoindustriya