เวลาที่คนทั่วไปตกลงปลงใจที่จะออกรถยนต์ป้ายแดงแล้ว พวกเขามักเลือกที่จะสั่งรถยนต์ใหม่
จากโรงงานโดยที่ระบุสเป็คเป๊ะๆ พร้อมเลือกอุปกรณ์ตกแต่งตามใจนึก ให้รถยนต์คันที่กำลังจะ
เป็นของตนนั้นมีความเป็นตัวเองมากที่สุด หาใช่เลือกรถยนต์ที่มีอยู่ในสต็อกของผู้แทนจำหน่าย
อยู่แล้ว แต่สิ่งที่พูดมาทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับลูกค้าชาวสหรัฐฯ เพราะพวกเขาเลือกที่จะซื้อ
รถยนต์ที่พร้อมส่งมอบทันทีซึ่งอยู่ในลานจอดมากกว่า เพราะการสั่งผลิตนั้นรอนานเกินไป
ฟังดูเป็นเรื่องง่ายกับการเอามาจอดเป็นสต๊อกแล้วรอขายไป เพราะปัญหานั้นอยู่ที่ว่า มีค่าใช้จ่าย
มากมายในการจัดการรถยนต์ในสต็อกเหล่านั้น เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ทรยศทำเจ้าของศูนย์หน้าแตก
เวลาที่มีลูกค้ามาซื้อแล้ว ปรากฏว่าสตาร์ทไม่ติดซึ่งนี่เป็นปัญหาที่ผู้แทนจำหน่ายต้องแบกรับเอาไว้
โดยมีการคำนวณเผื่อ 11-12 % ของราคาขายรถยนต์นั้น รวมไปค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ทั้งยังมีการ
เผื่อเอาไว้เป็นส่วนลดเพื่อจูงใจลูกค้าให้เอารถยนต์รุ่นใกล้เคียง ในกรณีที่ไม่มีรถยนต์สเป็ค
ที่ลูกค้าต้องการอีกด้วย
มีการศึกษาหัวข้อนี้ในประเทศอังกฤษเช่นกัน หลังจากที่พบว่ามีรถยนต์รอจำหน่ายในลานจอด สูงถึง
3.9 ล้านคันในเดือนที่ผ่านมา และ ค่าใช้จ่ายในการดูแลเฉลี่ยต่อคันนั้นสูงถึง 27,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ
หรือ ราว 94,000 บาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลย สำหรับการแก้ไขปัญหานี้ดูเหมือนจะตกหนักกับ
ตัวผู้ผลิตเอง หากต้องการช่วยแบ่งเบาภาระตัวแทนจำหน่ายด้วยการพัฒนากระบวนการผลิต
ให้มีความยืดหยุ่น และ ประกอบได้ไวขึ้น เพื่อให้การส่งมอบรถยนต์ตามสั่งนั้นทันใจลูกค้าใจร้อน
เพียงแต่ปัญหาอยู่ที่ว่าต้องคำนวณให้ดีว่าค่าใช้จ่ายในการบริหารสต็อก กับ การพัฒนาสายการผลิตนั้น
อันไหนคุ้มกว่ากัน
.
ที่มา : motortrend