จากกลุ่มบริษัทรถยนต์ที่เคยประสบปัญหาทางการเงินค่อนข้างรุนแรงจนผู้เชี่ยวชาญ
ในอุตสาหกรรมพากันส่ายหน้า วันนี้ PSA Group บริษัทแม่ผู้ผลิตรถยนต์ Peugeot
, Citroen และ DS ได้กลับเข้าสู่สภาวะแข็งแกร่งทางการเงินแล้วจนสามารถจัดสรรเงิน
ทุนที่ได้ขยายความยิ่งใหญ่ของตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง
วันนี้ มีข่าวยืนยันว่า GM ได้ตัดสินใจขายธุรกิจรถยนต์ Opel/Vauxhall ให้แก่ PSA Group
เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจาก GM มองว่าแบรนด์รถยนต์เจ้าปัญหาดังกล่าวไม่สามารถ
บรรลุผลกำไรตามที่เคยวางแผนไว้ ถึงแม้ยอดขายรถยนต์ Opel/Vauxhall อยู่ในระดับที่
เรียกว่า “ดีค่อนข้างมาก” ก็ตาม
PSA Group ตัดสินใจซื้อธุรกิจรถยนต์ Opel/Vauxhall จาก GM เป็นมูลค่า 2.3 พันล้าน
ดอลลาร์และนั่นทำให้สถานะของบริษัทถูกยกระดับขึ้นมาเทียบชั้นกับ Volkswagen Group
ในยุโรปได้สมน้ำสมเนื้อ
ภารกิจสำคัญของ PSA Group คือการเข้าไปบริหารงาน Opel/Vauxhall ให้กลับมามีกำไร
อย่างงดงามให้ได้ โดยกำหนดเป้าหมายกำไรมาร์จิ้น 2% ภายใน 3 ปีข้างหน้าและภายใน
ปี 2026 จะต้องมีกำไรมาร์จิ้นสูงถึง 6% ให้ได้ โดย PSA Group จะมีเป้าหมายในลดต้นทุน
ร่วมกันถึง 1.7 พันล้านยูโร และในการซื้อขายครั้งนี้ยังรวมถึงการซื้อหน่วยปฏิบัติการทางการ
เงินของ GM ยุโรปอีก 900 ล้านยูโร
Carlos Tavares ผู้บริหารมือดีจาก PSA Group (และเป็นผู้ซึ่งเคยเป็นผู้บริหารจาก
Renault-Nissan Alliance มาก่อน) กล่าวอย่างเปิดใจว่า ทางบริษัทมีความมั่นใจว่าจะ
ช่วยพลิกฟื้นธุรกิจรถยนต์ Opel/Vauxhall ให้กลับมามีกำไรจากการช่วยเหลือของ PSA
อย่างรวดเร็ว
ผลลัพธ์จากการซื้อธุรกิจรถยนต์ Opel/Vauxhall จาก GM ยุโรปก็ทำให้เราสามารถคิดเป็น
เชิงเปรียบเทียบได้ว่า PSA Group จะกลายเป็นบริษัทรถยนต์ที่ยิ่งใหญ่อันดับ 2 แซง
Renault-Nissan ในยุโรป หากคำนวณด้วยยอดขายของปี 2016 จะพบว่าหากควบรวม
ยอดขายรถยนต์จากบริษัท PSA Group และ GM ยุโรปก็จะมีส่วนแบ่งการตลาดยุโรปถึง
16% รองจาก Volkswagen Group ที่มีส่วนแบ่งการตลาดในยุโรปถึง 24%
การควบรวมครั้งนี้ไม่มีการสูญเสียแต่อย่างใด เพราะพนักงานที่โรงงาน Vauxhall
ประเทศอังกฤษจำนวน 4,500 อัตรายังคงทำงานอย่างสบายใจเหมือนที่ผ่าน ๆ มา
ถือเป็นการสยบข่าวลือที่ PSA Group จะต้องปิดโรงงานในอังกฤษเพื่อลดต้นทุนการผลิต
สาเหตุสำคัญที่ GM บริษัทที่เคยครอบครองธุรกิจรถยนต์ Opel มานานเกือบ 90 ปีต้อง
ตัดสินใจขายธุรกิจรถยนต์ Opel/Vauxhall ออกจากประวัติศาสตร์ก็เพราะ GM พลาด
เป้าหมายในการกอบกู้แบรนด์รถยนต์นี้ให้มีกำไรเฟื่องฟูได้ภายในปี 2016 ถึงแม้รถรุ่นใหม่
ของตนจะขายดีก็ตาม
นับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา GM ขาดทุนไปกับรถยนต์ Opel สูงถึง 9 ล้านดอลลาร์
ดังนั้นการควบรวมในครั้งนี้จะช่วยส่งผลดีต่อ Opel ในการร่วมแชร์ต้นทุนการพัฒนารถ
ใหม่และโครงสร้างการดำเนินงานอื่น ๆ รวมถึงเป็นการผนึกกำลังเพื่อร่วมกันผลักดันตลาด
รถแมสที่ทั้ง PSA และ Opel มีฐานมั่นคงในตลาดเยอรมนี, อังกฤษและฝรั่งเศส
ผลงานอันเลื่องชื่อของ Carlos Tavares ผู้บริหาร PSA Group คือการพลิกฟื้นกลุ่มธุรกิจ
นี้จากขาดทุนตั้งแต่ปี 2012 ให้กลับมาทำกำไรในปี 2015 มีกระแสเงินสดถึง 2.7 พันล้าน
ยูโรในปี 2016
ที่มา : Bloomberg