หลังจากที่องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ Environmental Protection Agency (EPA) โดน Volkswagen ตุ๋นซะเปื่อย
โดยการใช้เครื่องยนต์ TDi ขนาด 2.0 ลิตรที่ปล่อยค่ามลพิษมากกว่าที่กำหนดไว้ถึง 40% แต่ EPA กลับไม่รู้เรื่องและอนุมัติ
ให้เครื่องยนต์ตัวดังกล่าวออกขายจนกระทั่ง 6 ปีผ่านไปถึงความแตก แน่นอนว่าเพื่อเรียกศรัทธาขององค์กรกลับมาและป้องกัน
ไม่ให้มีการโกงเช่นนี้อีก มาตรการการทดสอบแบบใหม่จึงถูกเสนอขึ้นและ EPA ได้ออกจดหมายแจ้งผู้ผลิตรถยนต์ไปแล้ว

 
vehicle-Pollution

 

ใจความสำคัญของจดหมายสามารถสรุปได้ว่า EPA มีข้อสรุปว่าในการทดสอบวัดอัตราการบริโภคเชื้อเพลิง (Fuel Economy
Data Vehicles, FEDV) และอัตราการปล่อยก๊าซพิษ (Emission Data Vehicles, EDV) จะไม่ได้มีเพียงการทดสอบใน
ห้องทดลองปิดเหมือนเช่นที่เคยทำมา แต่จะมีการทดสอบบนถนนจริงภายใต้สภาพแวดล้อมการใช้งานจริงเป็นช่วงระยะ
เวลาหนึ่งด้วยเพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการโกงผลการทดสอบอีก

อันที่จริงระเบียบการนำรถยนต์มาทดสอบใช้งานภายใต้สภาพการใช้งานจริงนั้นได้มีมาตั้งแต่ปี 2000 แล้วแต่ 15 ปีที่ผ่านมา
EPA ไม่เคยนำระเบียบการดังกล่าวมาใช้เลยจน Volkswagen โกงค่ามลพิษดังกล่าวซึ่งเป็นเหตุให้ EPA ตัดสินใจ
นำระเบียบการนี้มาบังคับใช้

 

นอกจากนี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาด้วยว่าระยะการทดสอบรถยนต์ภายใต้สภาวะการใช้งานจริงนั้นควรอยู่ที่เท่าใด ซึ่งมี
ผู้เสนอด้วยซ้ำว่าอาจะต้องใช้เวลาถึง 20 เดือนแต่ความเห็นดังกล่าวยังไม่ได้รับการอนุมัติ ซึ่งผู้ผลิตรถยนต์มีหน้าที่ให้ EPA
ยืมรถยนต์เพื่อนำไปใช้ในการทดสอบและต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายใดๆที่อาจจะเกิดขึ้นในการทดสอบด้วย

แม้ว่าในจดหมายจะยังไม่ได้ระบุว่าระเบียบการทดสอบดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ทันทีหรือไม่แต่แน่นอนว่าถ้ามีการบังคับใช้เมื่อใด
ผลประโยชน์จะเป็นของผู้บริโภคแน่นอนเนื่องจากคนที่จะซื้อรถจะทราบข้อมูลที่แท้จริงว่าอัตรากินน้ำมันอยู่ที่เท่าใดและเป็นมิตร
กับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ซึ่งตัวเลขที่แสดงย่อมใกล้เคียงความเป็นจริงมากกว่าตัวเลขที่ผู้ผลิตใช้โฆษณา นอกจากนี้สิ่งที่แน่นอน
ที่สุดที่ทุกคนจะได้รับคืออากาศที่เราหายใจจะมีความบริสุทธิ์มากขึ้น

 

ที่มา : caranddriver, motortrend