Toyota Showroom 

เมื่อปลายปีที่ผ่านมาเราได้เห็นยักษ์ใหญ่(เกือบ)ล้มดัง Big3 ยานยนต์สหรัฐอเมริกา
ทั้ง จีเอ็ม ฟอร์ด และไครสเลอร์ ประสบปัญหาการขาดทุนสะสมนานกว่า 3 ปี
เกิดจากการคุ้มครองสวัสดิการที่สหภาพแรงงานประกาศใช้ครอบคลุมไปถึงรุ่นหลานทำให้ต้นทุนการผลิตสูงมาก
ว่ากันว่าพนักงานบริษัทบิ๊กทรี ตัวเร่งความตายแห่งธุรกิจคือสภาวะเศรษฐกิจอันเกิดจากปัญหาการปล่อยสินเชื่อซื้อบ้านให้ผู้มีรายได้
และความน่าเชื่อถือต่ำหรือคำพูดยอดฮิตของปี 2008 ที่เรียกว่า Subprime
ลามเป็นลูกโซ่เมื่อสองอย่างบรรจบกันก่อเกิดวิกฤตยานยนต์ระดับโลกอย่างไม่มีใครคาดฝันว่า 100 ปีของยักษ์ใหญ่ที่สง่างาม ผ่าเผย และชำนาญการ
จะต้องมีวันนี้ที่ต้องขอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเบ็ดเสร็จรวมกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐและมีแนวโน้มที่จะขอกู้เพิ่มอีกเพื่อพยุงแผนฟื้นฟูเดินเครื่องให้องค์กรมีเสถียรภาพพอเดินด้วยตนเองได้

 

ไม่นานนักสิ่งที่คาดไม่ถึงในโลกยานยนต์ก็เป็นอย่างที่เราไม่คาดคิดนั่นคือยักษ์ใหญ่ยานยนต์ Big3 ค่ายดังของฝั่งญี่ปุ่นเริ่มขอเงินกู้จากรัฐบาลเพื่ออัดฉีดสภาพคล่องรับมือกับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โปรดอย่าตกใจว่าชะตากรรมจะเป็นเหมือนฝั่งอเมริกาหรือเปล่าแต่นี่คือการขอระดมทุนความช่วยเหลือเพื่อให้ตัวเองแข็งแกร่งขึ้นแบบมีหลักการมิใช่เพื่อการฟื้นฟู

 

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ นิสสันอาจพิจารณาขอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลถือเป็นค่ายรถญี่ปุ่นรายแรกที่เริ่มมีความเคลื่อนไหวเป็นรายแรกด้วยจำนวนเงิน 5 หมื่นล้านเยน หรือ 550 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เบื้องต้นนิสสันปฏิเสธว่ารายละเอียดข้อเท็จจริงแต่แน่นอนว่าความคล่องตัวทางการเงินไม่ถึงขึ้นสาหัส

nissan nuvu

แต่ข่าวที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการกลับเกิดขึ้นในนิสสันภูมิภาคยุโรปเมื่อเข้าขอรับการช่วยเหลือธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งยุโรปหรือ EIB
ที่เปิดโอกาสให้ค่ายรถยนต์กู้เงินเพื่อช่วยเหลือการพัฒนารถยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อมภายใจครึ่งปีแรก 2009
สอดคล้องกับวางแผนผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายรถไฟฟ้าและรถไฮบริดในยุโรปปี 2010
โครงการเงินกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของ EIB มิได้มีแค่ยานยนต์เท่านั้นแต่แตกแขนงไปยังธุรกิจอื่นได้แก่
ธุรกิจการสื่อสารคมนาคมเปิดโอกาสให้โนเกียกู้เงินสภาพคล่องเพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการซิมเบี้ยนยุคต่อไป เป็นต้น

นิสสันกล่าวว่าการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีและด้าน R&D ในฐานยุโรปตอนนี้เป็นเรื่องที่เสี่ยงหากไมได้รับเงินจาก EIB ซึ่งก็ต้องรอผลปลายปีนี้

 

ตลาดสหรัฐอเมริกาที่นิสสันวางแผนลงทุนผลิตรถไฟฟ้าเต็มรูปแบบในปี 2010 ก็ขอใช้สิทธิ์เงินกู้จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกันจากกระทรวงพลังงานที่สนับสนุนเงินทุนช่วยเหลือผู้ผลิตรถยนต์ที่คิดจะผลิตรถรักษาสิ่งแวดล้อมจัดงบทั้งหมดประมาณ 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หากนิสสันได้รับเงินช่วยเหลือแล้วจะนำไปปรับปรุงสายการผลิตที่โรงงาน Smyrna มลรัฐ Tennessee และสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ป้อนรถยนต์ไฟฟ้าของตน

ค่ายต่อมาที่เป็นที่ฮือฮามากที่สุดในรอบปีนั่นคือ โตโยต้า ยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ทั้งตลาดญี่ปุ่นและตลาดโลกผู้ชนะจีเอ็มอย่างชัดเจนเป็นชัยชนะที่น่าปวดหัวเมื่อเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจอย่างหนักเช่นกัน
การตัดสินใจขอเงินกู้จากรัฐบาลญีปุ่นคือการกล้าตัดสินใจกู้เงินครั้งประวัติศาสตร์กันเลย 
ผู้ทำหน้าที่ด่านหน้าขอเงินกู้เป็นโตโยต้า ไฟแนนซ์ เซอร์วิซ หน่วยย่อยจัดการดำเนินกู้กับธนาคารความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นหรือ JBIC

คาดว่าจะขอกู้จำนวน 200,000 ล้านเยนหรือประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์
การกู้เงินกับ JBIC ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่โตโยต้าจะระดมเงินทุนสำรอง
การรับมือของโตโยต้าอาจจะได้เปรียบในการแข่งขันกับธุรกิจยานยนต์ในสหรัฐอเมริกามากยิ่งขึ้น
เพราะความคล่องตัวทางการเงินระหว่างประเทศได้เปรียบกว่า
คาดว่าโตโยต้าน่าจะเป็นบริษัทรายแรกที่ขอเงินกู้จาก JBIC ภายใต้แผนมาตรการฉุกเฉินกระตุ้นเศรษฐกิจ

รายล่าสุด ฮอนด้าและมาสด้า มีความคืบหน้ากู้ยืมเงินไม่น้อยหน้าอาจจะข้อกู้ยืมเงินจากรัฐบาลประมาณ 1 หมื่นล้านเยนหรือ 102 ล้านดอลลาร์จาก JBIC ถึงรายละเอียดข่าวจะไม่มากนักแต่ถือเป็นการจารึกในหน้าประวัติศาสตร์ยานยนต์และเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอีกครั้งหนึ่ง

 

————————————–///——————————————–