บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนสิงหาคม 2552
ปริมาณการขาย 43,251 คัน ลดลง 8.2% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 17,790 คัน ลดลง 1.1%
รถเพื่อการพาณิชย์ 25,461 คัน ลดลง 12.6% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้
จำนวน 21,778 คัน ลดลง 12.0%
สถิติการขายสะสม 8 เดือนของปี 2552 มีปริมาณทั้งสิ้น 317,835 คัน ลดลง 23.1% เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 131,379 คัน ลดลง 11.0%
รถเพื่อการพาณิชย์ 186,456 คัน ลดลง 29.8% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้
จำนวน 161,729 คัน ลดลง 29.0%
ต่อไปนี้ คือการวิเคราะห์ จากทางโตโยต้า
1. ตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคม มีปริมาณการขาย 43,251 คัน ลดลง 8.2% ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8
นับจากต้นปีเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการหดตัวในตลาดรถยนต์
เพื่อการพาณิชย์ที่มีอัตราการเติบโตลดลง 12.6% ในขณะที่ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน มีอัตราการ
เติบโตลดลง 12.0% จากปีที่แล้ว และเมื่อเทียบกับปี 2550 ตลาดลดลงมากถึง 37% ซึ่งแสดงให้เห็นว่า
ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ยังคงได้รับผลกระทบจากการหดตัวของภาคการลงทุน ในขณะที่ตลาด
รถยนต์นั่งเริ่มมีทิศทางดีขึ้น จากอัตราการเติบโตที่ลดลงเล็กน้อย 1.1% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และ
เติบโตประมาณ 19% เมื่อเทียบกับปี 2550
2. ตลาดรถยนต์สะสม 8 เดือนมีปริมาณการขาย 317,835 คัน ลดลง 23.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลา
เดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 11.0% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
มีอัตราการเติบโตลดลง 29.8% ทั้งนี้จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นมาต่อเนื่องตลอด 3 เดือนล่าสุด
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐเพื่อเพิ่มสภาพคล่องเริ่มส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม และการ
แนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง จะส่งผลดีต่อตลาดรถยนต์โดยรวม แต่ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน
ยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบ อาทิ มาตรการอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโต
ของภาคการลงทุน หรือทิศทางราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยอดขายสะสม 8 เดือน
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2550 เติบโตลดลงกว่า 35%
3. สำหรับตลาดรถยนต์เดือนกันยายน คาดว่าจะมีปริมาณการขายทรงตัว จากสถิติการขาย เดือนกันยายน
จะมียอดขายน้อยเป็นอันดับ 5 ของปี ทั้งนี้ในเดือนกันยายนจะมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ ที่อาจเป็น
ปัจจัยบวกต่อตลาดรถยนต์ พร้อมมีการปรับเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้ทันการส่งมอบ อย่างไรก็ตาม
ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น อาจส่งผลต่อตลาดรถยนต์โดยรวม
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนสิงหาคม 2552
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 43,251 คัน ลดลง 8.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 18,708 คัน ลดลง 8.3% ส่วนแบ่งตลาด 43.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,884 คัน ลดลง 16.8% ส่วนแบ่งตลาด 20.5%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 6,829 คัน เพิ่มขึ้น 13.1% ส่วนแบ่งตลาด 15.8%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 17,790 คัน ลดลง 1.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,502 คัน ลดลง 3.9% ส่วนแบ่งตลาด 47.8%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 6,366 คัน เพิ่มขึ้น 15.8% ส่วนแบ่งตลาด 35.8%
อันดับที่ 3 นิสสัน 838 คัน เพิ่มขึ้น 21.1% ส่วนแบ่งตลาด 4.7%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 21,778 คัน ลดลง 12.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,246 คัน ลดลง 11.3% ส่วนแบ่งตลาด 42.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,206 คัน ลดลง 18.7% ส่วนแบ่งตลาด 37.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,508 คัน เพิ่มขึ้น 1.8% ส่วนแบ่งตลาด 6.9%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 2,027 คัน
โตโยต้า 1,124 คัน – อีซูซุ 436 คัน – มิตซูบิชิ 392 คัน – ฟอร์ด 75 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 19,751 คัน ลดลง 15.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,122 คัน ลดลง 13.1% ส่วนแบ่งตลาด 41.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 7,770 คัน ลดลง 21.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,508 คัน เพิ่มขึ้น 1.8% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 25,461 คัน ลดลง 12.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,206 คัน ลดลง 11.7% ส่วนแบ่งตลาด 40.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,884 คัน ลดลง 16.8% ส่วนแบ่งตลาด 34.9%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,536 คัน เพิ่มขึ้น 2.2% ส่วนแบ่งตลาด 6.0%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – สิงหาคม 2552
1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 317,835 คัน ลดลง 23.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 132,435 คัน ลดลง 25.1% ส่วนแบ่งตลาด 41.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 66,637 คัน ลดลง 26.5% ส่วนแบ่งตลาด 21.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 53,995 คัน ลดลง 3.4% ส่วนแบ่งตลาด 17.0%
2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 131,379 คัน ลดลง 11.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 57,587 คัน ลดลง 20.5% ส่วนแบ่งตลาด 43.8%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 50,961 คัน เพิ่มขึ้น 3.6% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 3 นิสสัน 5,274 คัน เพิ่มขึ้น 7.3% ส่วนแบ่งตลาด 4.0%
3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 161,729 คัน ลดลง 29.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 67,712 คัน ลดลง 28.6% ส่วนแบ่งตลาด 41.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 62,390 คัน ลดลง 27.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.6%
อันดับที่ 3 นิสสัน 11,743 คัน ลดลง 29.8% ส่วนแบ่งตลาด 7.3%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 15,948คัน
โตโยต้า 9,221 คัน – อีซูซุ 3,243 คัน – มิตซูบิชิ 3,144 คัน – ฟอร์ด 340 คัน
4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 145,781 คัน ลดลง 32.0%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 59,147 คัน ลดลง 27.4% ส่วนแบ่งตลาด 40.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 58,491 คัน ลดลง 31.9% ส่วนแบ่งตลาด 40.1%
อันดับที่ 3 นิสสัน 11,743 คัน ลดลง 29.8% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 186,456 คัน ลดลง 29.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 74,848 คัน ลดลง 28.3% ส่วนแบ่งตลาด 40.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 66,637 คัน ลดลง 26.5% ส่วนแบ่งตลาด 35.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน 11,966 คัน ลดลง 30.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%
————————————–///——————————————