บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนมีนาคม 2553
มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 63,067 คัน เพิ่มขึ้น 52.6% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 23,122 คัน
เพิ่มขึ้น 42.8% รถเพื่อการพาณิชย์ 39,945 คัน เพิ่มขึ้น 58.9% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน
ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 34,938 คัน เพิ่มขึ้น 61.7%
โตโยต้า ประเมินว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีเหตุผลสำคัญ 3 ข้อ
1.) ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคม มีปริมาณการขาย 63,067 คัน เพิ่มขึ้น 52.6% เติบโตต่อเนื่อง
เป็นเดือนที่เจ็ด เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 23,122 คัน
เติบโต 42.8% รถเพื่อการพาณิชย์ 39,945 คัน เติบโต 58.9% ซึ่งมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง
เป็นเดือนที่หกและสูงสุดในรอบ 89 เดือน รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้ 34,938 คัน
เติบโต 61.7% ทั้งนี้เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ดีขึ้น ประกอบกับการแนะนำ
รถยนต์นั่งรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดหลายรุ่นทั้งรถยนต์ประหยัดพลังงาน รถยนต์ขนาดเล็กและ
ขนาดกลาง ตลอดจนอัตราดอกเบี้ยที่ยังทรงตัว ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและการตัดสินใจซื้อ
ของผู้บริโภค
2.) ตลาดรถยนต์ไตรมาสแรก มีปริมาณการขาย 166,802 คัน เพิ่มขึ้น 54.8% เมื่อเทียบกับ
ช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่
ไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 50.7% ตลาด
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 57.6% แสดงถึงการฟื้นตัวของภาวะ
เศรษฐกิจในประเทศ ดังจะเห็นได้จากการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการปรับตัวดีขึ้น
ราคาสินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้นตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก การส่งออกดีขึ้น
และราคาน้ำมันที่ทรงตัว ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นเช่นกัน
3.) ตลาดรถยนต์ในเดือน เมษายน คาดว่ายังคงเติบโต เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ความนิยม
ในรถยนต์รุ่นใหม่ ตลอดจนยอดจองรถยนต์ในงานบางกอก มอเตอร์โชว์ที่ผ่านมาที่สูงถึง 27,878 คัน
และราคาน้ำมันที่ไม่ผันผวนมากนัก ยังคงเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดรถยนต์
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนมีนาคม 2553
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 63,067 คัน เพิ่มขึ้น 52.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 28,019 คัน เพิ่มขึ้น 67.2% ส่วนแบ่งตลาด 44.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,139 คัน เพิ่มขึ้น 50.0% ส่วนแบ่งตลาด 20.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 6,338 คัน ลดลง 12.5% ส่วนแบ่งตลาด 10.0%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 23,122 คัน เพิ่มขึ้น 42.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,427 คัน เพิ่มขึ้น 50.0% ส่วนแบ่งตลาด 45.1%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 5,933 คัน ลดลง 12.2% ส่วนแบ่งตลาด 25.7%
อันดับที่ 3 มาสด้า 2,120 คัน เพิ่มขึ้น 590.6% ส่วนแบ่งตลาด 9.2%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 34,938 คัน เพิ่มขึ้น 61.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,960 คัน เพิ่มขึ้น 79.7% ส่วนแบ่งตลาด 45.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,289 คัน เพิ่มขึ้น 49.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,384 คัน เพิ่มขึ้น 44.9% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,148 คัน
โตโยต้า 2,424 คัน- มิตซูบิชิ 957 คัน – อีซูซุ 677 คัน – ฟอร์ด 90 คัน
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 34,938 คัน เพิ่มขึ้น 61.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,960 คัน เพิ่มขึ้น 79.7% ส่วนแบ่งตลาด 45.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,289 คัน เพิ่มขึ้น 49.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,384 คัน เพิ่มขึ้น 44.9% ส่วนแบ่งตลาด 6.8%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,148 คัน
โตโยต้า 2,424 คัน- มิตซูบิชิ 957 คัน – อีซูซุ 677 คัน – ฟอร์ด 90 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 30,790 คัน เพิ่มขึ้น 58.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,536 คัน เพิ่มขึ้น 77.4% ส่วนแบ่งตลาด 44.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,612 คัน เพิ่มขึ้น 49.6% ส่วนแบ่งตลาด 37.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,384 คัน เพิ่มขึ้น 44.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.7%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 39,945 คัน เพิ่มขึ้น 58.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,592 คัน เพิ่มขึ้น 79.3% ส่วนแบ่งตลาด 44.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,139 คัน เพิ่มขึ้น 50.0% ส่วนแบ่งตลาด 32.9%
อันดับที่ 3 นิสสัน 2,449 คัน เพิ่มขึ้น 47.7% ส่วนแบ่งตลาด 6.1%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มีนาคม 2553
1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 166,802 คัน เพิ่มขึ้น 54.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 69,801 คัน เพิ่มขึ้น 57.1% ส่วนแบ่งตลาด 41.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 35,349 คัน เพิ่มขึ้น 50.1% ส่วนแบ่งตลาด 21.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 21,893 คัน เพิ่มขึ้น 19.2% ส่วนแบ่งตลาด 13.1%
2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 66,247 คัน เพิ่มขึ้น 50.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 28,495 คัน เพิ่มขึ้น 38.5% ส่วนแบ่งตลาด 43.0%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 20,318 คัน เพิ่มขึ้น 17.8% ส่วนแบ่งตลาด 30.7%
อันดับที่ 3 มาสด้า 5,633 คัน เพิ่มขึ้น 521.7% ส่วนแบ่งตลาด 8.5%
3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 87,062 คัน เพิ่มขึ้น 58.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 37,291 คัน เพิ่มขึ้น 73.5% ส่วนแบ่งตลาด 42.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 33,037 คัน เพิ่มขึ้น 49.5% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 3 นิสสัน 5,839 คัน เพิ่มขึ้น 42.1% ส่วนแบ่งตลาด 6.7%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 9,278คัน
โตโยต้า 4,997 คัน – มิตซูบิชิ 2,478 คัน – อีซูซุ 1,583 คัน – ฟอร์ด 220 คัน
4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 77,784 คัน เพิ่มขึ้น 56.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 32,294 คัน เพิ่มขึ้น 76.1% ส่วนแบ่งตลาด 41.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 31,454 คัน เพิ่มขึ้น 49.7% ส่วนแบ่งตลาด 40.4%
อันดับที่ 3 นิสสัน 5,839 คัน เพิ่มขึ้น 42.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%
5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 100,555 คัน เพิ่มขึ้น 57.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 41,306 คัน เพิ่มขึ้น 73.1% ส่วนแบ่งตลาด 41.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 35,349 คัน เพิ่มขึ้น 50.1% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 5,965 คัน เพิ่มขึ้น 42.1% ส่วนแบ่งตลาด 5.9%