สิ่งที่หนักใจที่สุดในการทำธุรกิจรถยนต์คือการระมัดระวังการปูพื้นฐานของแบรนด์หรือการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่
ชัดเจนจนทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจและอยากจะกลับมาใช้รถยนต์ต่อไปไม่สิ้นสุด และกว่าที่จะถึงจุดของความแข็งแกร่ง
นั้นมันก็ต้องแลกอะไรหลาย ๆ อย่างอย่างสุดตัวด้วยเช่นกัน แต่สิ่งที่ยากมากกว่านั้นคือการ “พลิกแบรนด์” จากแบรนด์แย่
ให้กลายเป็นดีซึ่งเป็นการวางแผนที่ยากที่สุด เพราะการเปลี่ยนภาพจำเดิม ๆ ของลูกค้ามันต้องอาศัยพละกำลังมหาศาล
พอสมควร
และหนึ่งในค่ายรถยนต์ที่สามารถพลิกภาพลักษณ์จากแบรนด์รถยนต์แย่ ๆ ให้กลายเป็นแบรนด์รถที่มีภาพลักษณ์ดีใน
สายตาลูกค้ามากขึ้นก็คือ Opel ค่ายรถเบอร์ 3 ในยุโรปที่เคยประสบชะตากรรมการขาดทุนสะสมมาอย่างยาวนานเพราะ
มัวแต่เน้นกลยุทธ์ทำรถราคาคุ้มค่า(เกินไป)จนหากำไรได้ยาก
Tina Mueller ผู้บริหารฝ่ายการตลาดด้านแบรนด์ดิ้ง กล่าวว่า หลังจากที่ Opel ได้แนะนำ Adam และสินค้ารุ่นใหม่
พร้อมกับแคมเปญทางการตลาดมันก็ช่วยทำให้แบรนด์ Opel กลายเป็นแบรนด์ในสายตาของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น แต่ถึงแม้
Opel จะทุ่มเทกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ใหม่ แต่เนื่องจากตัวแบรนด์มีรอยด่างพร้อยในตลาดเยอรมนีจากรถยนต์ Opel รุ่น
ที่ผ่านมาจนทำให้ลูกค้าหลายคนมอง Opel ไม่ได้อยู่ในสายตา และไม่คิดอยากจะขับ Opel
เครื่องมือที่ใช้ในการกอบกู้ภาพลักษณ์แบรนด์คือแคมเปญการตลาด “Umparken im Kopf” หรือแปลงเป็น
ภาษาอังกฤษว่า “change parking spots in your head.” โดยจะมุ่งเน้นผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้รถ Opel และ
สร้างความน่าสนใจโดยท้าทายผู้ที่มีอคติและอุปาทานแบรนด์ Opel เท่านั้น
หลังจากหมดแคมเปญการตลาดไปแล้ว Opel ก็นำชื่อแคมเปญดังกล่าวเป็นสโลกแกนในการพลิกแบรนด์ใหม่ทันที
โฆษณาการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ใหม่ของ Opel Insignia ก็ได้ผลเช่นกันเมื่อ Opel ได้ว่าจ้าง Juergen Klopp โค้ช
สโมสรฟุตบอล Borussia Dortmund เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์โดยพล๊อตโฆษณาจะฉายภาพแอร์โฮสเตสสาวพบกุญแจ
รถยนต์ Opel ในบริเวณห้องโดยสารชั้นนักธุรกิจใกล้กับม่านที่กั้นกับห้องโดยสารชั้นประหยัด ทันใดนั้นแบรนด์แอมบาส
เดอร์ก็แสดงตัวจากหลังม่านก็ทำให้แอร์โฮสเตสสาวตกใจเล็กน้อย เพราะนึกว่ากุญแจรถคันนี้เป็นพวกบรรดานักธุรกิจที่มี
ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจดีนั่นเอง
ผลจากการฉายโฆษณาดังกล่าวก็ทำให้ Opel Insignia ขายดีขึ้น 35% ในช่วงที่ฉายโฆษณา
Opel ยังคาดหวังกับรถยนต์รุ่นใหม่อย่าง Karl, Astra โฉมใหม่ว่าจะกลายเป็นตัวกอบกู้แบรนด์อย่างแท้จริง
ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ Opel สามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้น 4% หรือ 185,740 คันครองส่วนแบ่งการตลาด 7.3%
สำหรับค่ายรถยนต์ค่ายใดที่ทำตลาดในเมืองไทยสนใจจะลองกลยุทธ์การพลิกฟื้นแบรนด์ใหม่แบบนี้ดูก็ได้นะครับ เผื่อว่า
มันอาจจะได้ผลสำหรับตลาดเมืองไทยบ้าง
ที่มา : Automotive News