ฮิโรชิม่า, ประเทศญี่ปุ่น – 23 มิถุนายน 2552 – มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประกาศความสำเร็จ
ในการเริ่มใช้ระบบการพ่นสีอะควาเทค Aqua-tech ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใหม่สำหรับการพ่นสีตัวถังรถยนต์
ที่โรงงานอูจินะ โรงงานหมายเลข 1 ของมาสด้าในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ล่าสุด
และได้มาตรฐานสูงสุดของโลก โดยระบบดังกล่าวยังสามารถช่วยลดการปล่อยสารระเหยอินทรีย์
และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันเกิดจากการใช้พลังงานในขั้นตอนการพ่นสีรถยนต์

สำหรับระบบการพ่นสี Aqua-tech นี้จะช่วยให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในระดับต่ำ
และอยู่ในระดับเดียวกันกับระบบพ่นสีแบบเปียก 3 ชั้น (3 Wets) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในโรงงานผลิต
ของมาสด้าทุกแห่งในญี่ปุ่นในปัจจุบัน และยังสามารถลดการปล่อยสารระเหยอินทรีย์ได้มากกว่าระบบเดิม
ถึง 57% ด้วยระดับการปล่อยที่ต่ำเพียง 15 กรัมต่อพื้นผิวตัวถังรถหนึ่งตารางเมตร ที่สำคัญระบบการพ่นสี
Aqua-tech นี้เป็นระบบพ่นสีที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดในโลก
นอกจากนั้นระบบใหม่นี้ยังช่วยให้ได้คุณภาพสีที่ดีกว่าระบบเดิมอีกด้วย

สีพ่นรถยนต์ที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลายจะปล่อยสารระเหยอินทรีย์อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าสีพ่นรถยนต์
ที่ใช้น้ำมันเป็นตัวทำละลายอยู่มาก เนื่องจากมีปริมาณส่วนผสมของสารระเหยอินทรีย์ที่ต่ำกว่า
อย่างไรก็ตามการทำให้สีพ่นรถยนต์ระบบน้ำแห้งจะสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าเพราะต้องผ่านขั้นตอน
การอบเพื่อให้น้ำระเหยออกไป ซึ่งกระบวนการนี้ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก
และกลายเป็นปัญหาของสีพ่นระบบน้ำมายาวนาน และมาสด้าก็สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้สำเร็จ
ด้วยนวัตกรรมสีพ่นแบบใหม่นี้

เทคโนโลยี Aqua-tech ที่มีการใช้ระบบปรับอากาศในห้องพ่นสีที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
และใช้ระบบการระเหยน้ำแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในการแยกน้ำที่อยู่ในสีพ่นออกไป
นอกจากนั้นมาสด้ายังประสบความสำเร็จในการรวมขั้นตอนเคลือบสีหลายๆ ขั้นตอนเข้าด้วยกัน
โดยการพัฒนาสีเคลือบชั้นบนสุดที่มีคุณสมบัติสูง ให้สีที่สดใสและทนต่อการหลุดร่อนได้ดีพอๆ กับ
สีเคลือบแบบเดิม ด้วยรายละเอียดทางเทคนิคที่ล้ำยุคเหล่านี้ มาสด้าจึงสามารถสร้างสรรค์เทคโนโลยี
การเคลือบสีรถยนต์ใหม่ที่มีระดับการปล่อยสารระเหยอินทรีย์ที่ต่ำมาก โดยไม่ก่อให้ เกิดปริมาณ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเลยแม้แต่น้อย

สำหรับโรงงานอูจินะ โรงงานหมายเลข 1 เป็นโรงงานผลิตรถยนต์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของมาสด้า
ตั้งอยู่ใกล้กับสำนักงานใหญ่ของมาสด้าในเมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น

 

HIROSHIMA, Japan — 23 June 2009 — Mazda Motor Corporation today announced 
the successful launch of the newly developed Aqua-tech Paint System for vehicle body 
painting at its Ujina Plant No.1 in Japan

 

The innovative new technology achieves the world’s highest standards for limiting emissions of
Volatile Organic Compounds (VOC) contained in paint as well as carbon dioxide (CO2) gas
generated from the energy consumed during the vehicle painting process.

The Aqua-tech Paint System maintains the same world-class low CO2 emissions volume as
the Three Layer Wet Paint System — Mazda’s paint system currently installed at all of its
production facilities in Japan — and reduces VOC emissions by a further 57 percent.
At only 15 grams per square meter of vehicle body surface, the extremely low VOC emissions volume
makes Aqua-tech the least polluting water-based paint system in the world. The new system also
delivers improved paint quality.

Water-based paints tend to produce far lower VOC emissions than solvent-based paints due to their low
VOC content. However, drying water-based paint consumes much more energy because the water must be
evaporated through a baking process. The large amounts of carbon dioxide produced during this process
have long been an issue associated with water-based paint systems. Mazda has solved this problem
with the introduction of this new, innovative coating technology.

The Aqua-tech technology includes the introduction of an improved paint shop air conditioning system and a new,
highly efficient evaporation system that removes the water contained in the paint. In addition, Mazda has managed
to consolidate the coating processes by developing highly functional top coat paints that exhibit the same brightness
and resistance to chipping as conventional primer paint. As a result of these technical breakthroughs, Mazda has
established a new vehicle coating technology that achieves extremely low VOC emissions without increasing CO2 volume.

 

————————————————-///———————————————–