กรุงเทพฯ 2 กรกฎาคม 2556 – บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด และสถาบันเอไอเอสที (The National Institute of Advanced Industrial Science
and Technology: AIST) ร่วมกันพัฒนาหุ่นยนต์สำรวจที่มีระบบควบคุมการทำงานจากระยะไกล โดยเริ่มออกสำรวจพื้นที่ชั้น 1 ของโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ณ โรงไฟฟ้า
นิวเคลียร์ฟุกุชิมา ไดอิจิของบริษัท โตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ หรือเทปโก้ (Tokyo Electric Power Company Inc: TEPCO) ซึ่งช่วยให้มองเห็นโครงสร้างที่อยู่ใน
พื้นที่สูงและแคบได้ หุ่นยนต์สำรวจที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่นี้เริ่มออกปฏิบัติงานภายในโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2556
หุ่นยนต์สำรวจดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใช้งานจริง โดยอ้างอิงข้อมูลจากเทปโก้ เกี่ยวกับสภาพภายในโรงปฏิกรณ์ โดยเอไอเอสทีได้พัฒนา
แพลตฟอร์มเพื่อใช้ในการเคลื่อนที่บนพื้น
ต่างระดับ ส่วนฮอนด้าเป็นผู้พัฒนาแขนหุ่นยนต์สำรวจที่ติดตั้งอยู่ส่วนบนสุดของแพลตฟอร์ม
ฮอนด้าได้นำเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นสำหรับอาซิโม หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์มาใช้ในการพัฒนาแขนหุ่นยนต์สำรวจได้แก่
– เทคโนโลยีการแสดงภาพโครงสร้าง 3 มิติ รอบๆ สิ่งที่ทำการสำรวจ โดยใช้ระบบ 3D พอยต์คลาวด์ (point cloud) (กลุ่มของจุดตัดในระบบพิกัดตำแหน่ง)
– ระบบควบคุมที่สามารถควบคุมข้อต่อแขนกลได้หลายจุดพร้อมๆ กัน
– เทคโนโลยีควบคุมที่ช่วยให้แขนหุ่นยนต์สามารถดูดซับแรงกระแทกที่อาจกระทบกับโครงสร้างโดยรอบ
ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว ทำให้แขนหุ่นยนต์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่นี้สามารถเข้าถึงวัตถุที่มองเห็นได้ยาก ซึ่งอยู่ข้างหลังวัตถุอื่นๆ ในสภาพแวดล้อมที่มี
โครงสร้างซับซ้อนภายในโรงปฏิกรณ์ได้อย่างง่ายดาย โดยใช้การควบคุมข้อต่อแขนกลในหลายจุดพร้อมๆ กัน และเมื่อเข้าถึงวัตถุ หุ่นยนต์จะใช้กล้องซูม
เครื่องกำหนดพิกัดด้วยเลเซอร์ และอุปกรณ์วัดปริมาณกัมมันตรังสีที่ติดตั้งบนปลายแขน เพื่อยืนยันรายละเอียดของภาพ เก็บข้อมูลแบบ 3 มิติ พร้อมทั้งระบุแหล่งกัมมันตรังสี
สำหรับแพลตฟอร์มเพื่อใช้ในการเคลื่อนที่บนพื้นต่างระดับ ใช้โครงสร้างที่มีศูนย์กลางความถ่วงต่ำ เพื่อให้หุ่นยนต์ทรงตัวได้ โดยเอไอเอสทีใช้เทคโนโลยีการควบคุม
จากระยะไกล และวางตำแหน่งกล้องได้อย่างชาญฉลาด มีการใช้หลอดไฟ เครื่องกำหนดพิกัดด้วยเลเซอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ จึงสามารถควบคุมหุ่นยนต์ได้ในระยะ 400 เมตร
ผ่านเครือข่ายไฟเบอร์ออพติกระบบ LAN แบบมีสาย และระบบ LAN แบบไร้สาย
นอกจากนี้ ฮอนด้าและเอไอเอสทียังร่วมกันพัฒนาระบบควบคุมจากระยะไกลเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์จากสถานที่ที่อยู่ห่างไกลได้ อาทิ
จากอาคารป้องกันแผ่นดินไหว และยังช่วยให้หุ่นยนต์สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่มืดและแคบภายในโรงปฏิกรณ์ได้อีกด้วย โดยเมื่อหุ่นยนต์เข้าถึงจุดเป้าหมาย
เสาจะยืดขึ้นเพื่อสำรวจพื้นที่ที่อยู่ในระดับสูงได้ถึง 7 เมตร โดยไม่ชนกับโครงสร้างโดยรอบ
นอกจากความคืบหน้าในการพัฒนาอาซิโม หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่สามารถช่วยเหลือผู้คนและอยู่ร่วมกับผู้คนในชีวิตประจำวันได้แล้ว ฮอนด้ายังศึกษาและวิจัย
ความเป็นไปได้ในการใช้หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ในพื้นที่ภัยพิบัติ จากการพัฒนาแขนหุ่นยนต์สำรวจดังกล่าว ฮอนด้าจะเร่งพัฒนาหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่ออกแบบมา
เพื่อให้ความช่วยเหลือในเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงการป้องกันและลดความเสียหายที่เกิดจาก
ภัยพิบัติอีกด้วย
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในภาคตะวันออกของญี่ปุ่น เอไอเอสทีได้ให้การสนับสนุนเพื่อการฟื้นฟูในหลายรูปแบบ อาทิ การสำรวจพื้นที่ที่มีการรั่วซึมของน้ำทะเล
ในชั้นใต้ดินบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากการเกิด
สึนามิ การเป็นผู้นำโครงการ Kesennuma Kizuna การวัดปริมาณการแพร่กระจาย และการกำจัด
สารกัมมันตรังสี
การลดปริมาณสารกัมมันตรังสีซีเซียมภายในโรงงาน เอไอเอสทียังคงเดินหน้านำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้เพื่อสนับสนุนความพยายามในการปิด
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมา ไดอิจิของเทปโก้