ในเมื่อ BMW คิดจะทำพัฒนารถพลังงานสีเขียว i-Project โดยใช้ต้องใช้มอเตอร์ไฟฟ้า, แบตเตอรี่และระบบอิเล็กทรอนิคส์ควบคุมเป็นวงจรขับเคลื่อนหลักแล้วล่ะก็ BMW จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นมาใหม่แทนที่จะซื้อระบบดั้งเดิมจากผู้ผลิตชั้นนำ
ดังนั้น BMW จึงประกาศกลยุทธ์ Powertrain Electrification พัฒนาระบบกลไกที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าและรถ Hybrid ของตนเอง เริ่มจากแบตเตอรี่ High Voltage ลิเธี่ยมไอออนขนาด 35 เซลล์ ขนาดกะทัดรัดสามารถยืดหยุ่นแปรผันตามขนาดของรถ ไมว่าจะเป็นรถซีดาน คูเป้ หรือรถเล็กก็ดัดแปลงได้ตามต้องการ ให้พลังงาน 0.8 กิโลวัตต์ชั่วโมง อัตรากินไฟ 19 กิโลวัตต์ชั่วโมง
ระบบภายในแบตเตอรี่ High Voltage ก็ถูกออกแบบเทคนิคการเชื่อมต่อเซลล์ของแบตเตอรี่, ระบบเซ็นเซอร์และคอมพิวเตอร์บริหารแบตเตอรี่ รวมถึง housing ของตัวแบตเตอรี่และระบบทำความเย็น ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ระบบสำคัญส่วนที่สองคือระบบอิเล็คทรอนิคส์ส่งกำลัง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างระบบแบตเตอรี่และระบบมอเตอร์ไฟฟ้า โดยมีหน้าที่ทั้งเป็น Inverter แปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC: Direct Current)ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC: Alternate Current) เพื่อป้อนพลังงานให้กับระบบมอเตอร์ไฟฟ้า และเป็น Voltage transducer เพื่อปรับกำลังไฟฟ้าจากระบบแบตเตอรี่ high voltage เพื่อป้อนพลังงานให้กับระบบ on-board แบตเตอรี่แบบ 12-โวลต์ โดยใช้ซอฟท์แวร์ควบคุมอีกที
ระบบจะต้องจ่ายไฟได้ทั้งระบบขับเคลื่อนและการแสดงควบคุม On Board อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการเร่งแซงคับขันจะต้องบูสกำลังมอเตอร์ไฟฟ้าและการให้พลังงานแก่อุปกรณ์อำนวยความสะดวกติดรถยนต์ทั้งคัน
ระบบสำคัญส่วนที่สามคือมอเตอร์ไฟฟ้าที่ BMW พัฒนาเพียงครั้งเดียวก็สามารถยืดหยุ่นขุมพลังให้สามารถติดตั้งกับรถยนต์ทุกประเภททุกขนาดทั้งแบบ Hybrid และรถไฟฟ้า BMW มั่นใจว่าสามารถรีดสมรรถนะออกมาได้ดีกว่าไปซื้อระบบของผู้ผลิตอื่นแน่นอน
BMW เลือกใช้มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ Hybrid Synchronous Motor มีอัตราส่วน power-to-weight หรือ กำลังต่อน้ำหนักที่สูงกว่าระบบมอเตอร์แบบ Asynchronous ประหยัดพลังงานดีกว่า 5% โดยทีมวิศวกรพัฒนามอเตอร์ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูง 95% ในช่วงกว้าง ทำให้การขับขี่คล่องตัวและมีระยะทางวิ่งสูงสุดกว่าด้วย
การลงทุนพัฒนาระบบส่วนสำคัญทั้ง 3 ระบบนี้น่าจะช่วยทำให้ BMW สามารถลดต้นทุนการพัฒนาได้ในภายหลังเพราะมันแทบจะกลายเป็นแม่แบบของรถไฟฟ้าและรถ Hybrid ยุคใหม่ได้