มีใครแอบสงสัยบ้างไหมว่าค่าย Renault เคยพูดถึงคำว่า “คุณภาพ” ที่ลูกค้าพึงพอใจออกมากี่ครั้ง? เท่าที่ผู้เขียน
สังเกตการณ์อย่างห่าง ๆ ก็ดูเหมือนว่า Renault จะเน้นหนักด้านการออกแบบรถที่ดูสวยงามดึงดูดอย่างแท้จริง, ติดตั้ง
เทคโนโลยีที่ใช้งานได้จริง แต่ยังไม่เคยออกข่าวปรับปรุงหรือพัฒนาคุณภาพตัวรถให้เป็นที่น่าพึงพอใจเลยอย่างจริงจัง

ในที่สุด Renault ก็ออกมาเผยจิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายที่พวกเขากำลังขาดแคลนอยู่ Renault จะอาศัยความรู้จาก Nissan
นำไปปรับปรุงคุณภาพตัวรถ (Renault, Dacia และ Lada) ให้สามารถแข่งขันกับ Toyota ได้หรือดีกว่า

2015 02 07 Renault

Christian Vandenhende ผู้บริหารหน้าใหม่ที่เพิ่งดำรงตำแหน่งฝ่ายดูแลคุณภาพแห่ง Renault เมื่อวันที่ 1 มกราคม
2015 ออกมาเปิดเผยว่า หากใช้มาตรวัดปกติทั่วไปก็รู้เลยว่าคุณภาพรถยนต์ Renault อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี แต่ถ้าใช้
มาตรวัดจากความพึงพอใจของลูกค้า ก็พบว่า Renault ยังอยู่ในระดับงั้น ๆ

ลูกค้าอาจประสบปัญหาเรื่องสีรถ, การปรับตำแหน่งเบาะหรืออื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่มันน่ารำคาญสำหรับลูกค้า
แต่ละตลาดลูกค้ายิ่งคาดหวังแตกต่างกัน อาทิ ตลาดยุโรปมีรสนิยมสีที่หลากหลายมากแตกต่างจากลูกค้าชาวอินเดียที่
ชอบรถสีอ่อนมาก พร้อมภายในโทนสีครีมอ่อน ถ้าผ่าไปเสนอภายในสีดำ นั่นคือสิ่งผิด

Renault ให้ความสนใจในข้อบกพร่องด้านคุณภาพมาตั้งแต่ปี 2002 ตั้งแต่เริ่มวิเคราะห์ความผิดพลาดและความผิดปกติ
ถือเป็นโครงการใหญ่ที่กินเวลาหลายปี ยกตัวอย่าง เครื่องยนต์ดีเซลรุ่นปี 2003-2004 ที่มีปัญหาขัดข้องพร้อมกันทุกยี่ห้อ
ไม่เว้นแม้แต่ Daimler และ Toyota อันเนื่องจากเป็นช่วงที่โหมกระหน่ำติดตั้งนวัตกรรมใหม่ โดยที่ไม่สามารถควบคุม
คุณภาพได้ แต่ Renault ก็ผ่านพ้นช่วงเวลานั้นได้ด้วยการจัดการนวัตกรรมในแบบของตนเองและตั้งมาตรฐานคุณภาพที่
เข้มงวดกว่าที่เคยเป็นมา

อันที่จริง Renault ก็เริ่มนำ Toyota มาเป็นแบบอย่างการพัฒนาคุณภาพมาตั้งแต่ยุค 90s แล้ว มาตรฐานคุณภาพถูก
ปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอสำหรับกระบวนการผลิตรถยนต์ Renault-Nissan ถ้าพบความล้มเหลวหรือจุดอ่อนก็เพิ่มความ
เข้มงวดของมาตรฐานการควบคุมได้

วิธีการทำงานคือจะต้องเข้าใจรายละเอียดความต้องการของลูกค้าอินเดีย, รัสเซีย, เยอรมันหรือฝรั่งเศส และตอบสนอง
ความต้องการเหล่านั้นผ่านรถยนต์ หลักการบริหารคือการปิดวงจรปัญหาและต้องมั่นใจแผนงานที่มีความสอดคล้องกัน
พวกเขาจะต้องแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที เพื่อมิให้มันเกิดขึ้นซ้ำอีกในภายหลัง

ความท้าทายในการควบคุมคุณภาพ คือการตรวจหาข้อบกพร่องที่แอบซ่อน (Renault เรียกมันว่า Low Signals) ซึ่งเป็น
บ่อเกิดปัญหาในเบื้องต้น ยกตัวอย่าง Renault เริ่มผลิต Espace ที่สร้างขึ้นบนชุดโครงสร้างพื้นตัวถังและงานวิศวกรรม
ร่วม CMF C/D ซึ่งมันเป็นชุดแพลทฟอรมที่มีการผลิตเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการค้นหาข้อบกพร่องเล็กน้อยจึงสำคัญมาก
เพราะมันจะกลายเป็นวิกฤตใหญ่ Renault จึงควรกำจัดมันเสียก่อนเป็นไฟลามทุ่ง

ที่มา : Automotive News