ทุกวันนี้บริษัทรถทั้งหลายต่างก็ประยุกต์กรรมวิธีพัฒนาตัวรถให้เข้ามาในยุค Modular Platform หรือการใช้ชุดชิ้นส่วน
หรืองานวิศวกรรมร่วมกันให้ได้มากที่สุด คล้าย ๆ ชุดต่อของเล่นเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการในวัยเด็กอย่าง Lego แต่ก็มี
คำถามที่หลายคนสงสัยเช่นกันคือ แล้ว Modular Platform มันดีต่อผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ อย่างไร แล้วจะมีใคร
สังเกตความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เพราะชุดชิ้นส่วนหรืองานวิศวกรรมทั้งหลายล้วนเป็นสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่ายาก

2015 02 01 Nissan

บัดนี้ Nissan Motor ได้ให้คำตอบของประโยชน์ Modular Platform ก่อนใครเพื่อนว่า พวกเขาจะมีการใช้ Common
Part ที่มีดีไซน์ร่วมกัน อาทิ พวงมาลัย, กระจกมองข้างและมือจับประตูอันเป็นมาตรฐานเดียวกันกับรถทุกรุ่นซึ่งก็นับเป็น
ความเสี่ยงที่ทำให้ภาพลักษณ์ดูราคาถูก (เพราะใช้ข้าวของร่วมกันเยอะมาก) แต่ Shiro Nakamura ก็ชี้แจงไปว่าหากบริษัทเดิน
ถูกทางมันก็จะช่วยลดต้นทุน, เพิ่มคุณภาพตัวรถและช่วยสร้างเอกลักษณ์แบรนด์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้

ส่วนรถประเภทใดที่ได้รับผลประโยชน์จากการใช้ชิ้นส่วนที่มองเห็นด้วยตาเปล่าร่วมกันคงหนีไม่พ้นรถขนาดเล็กหรือ Entry
Level ที่จะสามารถยกระดับการตกแต่งภายในห้องโดยสารเทียบชั้นได้กับรถที่มีราคาแพงกว่าได้

กรรมวิธีการพัฒนารถขนาดเล็กในอดีตจนถึงปัจจุบันส่วนใหญ่ รวมถึง Nissan ก็มักจะใช้อุปกรณ์มาตรฐานตามเกรดของ
ตัวรถที่มีต้นทุนไม่แพงนัก ไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัย, กระจกมองข้าง, มือจับประตู, ระบบเครื่องเสียงและระบบแอร์ (ถ้าเรียกกันตามตรงคือ
คุณจ่ายเท่าไรก็ได้ของราคาและคุณภาพแค่นั้น) แต่ในยุคใหม่นี้ Nissan ได้วางแผนพัฒนาให้อุปกรณ์ติดรถเหล่านั้นให้มีคุณภาพดี
และมีการผลิตเป็นจำนวนมาก (เพราะจะติดตั้งลงในรถทุกรุ่น ทุกเรกด) เพื่อให้ต้นทุนที่ถูกลงแต่มีคุณภาพดีขึ้น

ดังนั้นรถเล็กของ Nissan จึงได้รับอานิสงค์การยกระดับภาพลักษณ์ด้านคุณภาพ (Perceived Quality) มีค่าใช้จ่ายการ
พัฒนาถูกลงแต่มีชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ดีกว่าเดิมและสามารถออกแบบสไตล์ให้ดูซับซ้อนมากขึ้นได้

Shiro Nakamura ยังยืนยันอีกว่าทางบริษัทจะวัดผลความเสี่ยงจากการใช้ชิ้นส่วนร่วมกันตั้งแต่รุ่นใหญ่ลงมารุ่นเล็ก และเชื่อว่าผู้บริโภคจะไม่
สังเกตเห็นเด่นชัด ถ้าหากมีการจัดการอย่างระมัดระวัง

ผลจากการแชร์งานวิศวกรรมและชิ้นส่วนภายใต้โปรแกรม CMF ร่วมก็ทำให้ Renault-Nisaan Alliance สามารถลด
ค่าใช้จ่ายการสั่งซื้อลง 20-30% และลดค่าใช้จ่ายงานวิศวกรรมลง 30-40% ดั่งจะเห็นได้จาก Nissan X-Trail ซึ่งเป็นรถคัน
แรกที่ได้ใช้กลยุทธ์ดังกล่าว

รถยนต์คลื่นลูกแรกที่เกิดจากการใช้พื้นตัวถัง, ชิ้นส่วนและงานวิศวกรรมร่วมภายใต้โครงการ CMF จะถาโถมเข้ามาภายในปี 2016
นั่นก็ทำให้ Renault-Nissan จะมีการใช้ชิ้นส่วนและงานวิศวกรรมร่วมรวมกันมากถึง 1.5 ล้านคันต่อปีเลยทีเดียว 

ที่มา : Automotive News