ปี 2013 ที่ผ่านมา เกิดข่าวครึกโครมเมื่อมีรถยนต์ 8 ล้านคัน จากผู้ผลิตรถยนต์ 10 แบรนด์ ต้องถูกเรียกคืนเนื่องจาก
ต่างมีความบกพร่องของถุงลมนิรภัยที่ระเบิดออกมาได้เองเหมือนๆกัน เพราะใช้ถุงลมนิรภัยจาก Takata ซัพพลายเออร์
จากญี่ปุ่นด้วยกัน และล่าสุดมีรายงานออกมาว่า บริษัทผลิตถุงลมนิรภัยดังกล่าว ได้ปรับสูตรเคมีที่ใช้จุดระเบิดกับถุงลม
ของตนแล้ว

alt

ตัวแทนจาก Takata ซึ่งไม่ประสงค์ออกนาม ได้กล่าวว่าตอนนี้บริษัทได้ปรับสูตรเคมีของถุงลมนิรภัย แต่เลี่ยงที่จะกล่าวว่า
เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง โดยแย้มเพียงแค่ยังใช้ Ammonium Nitrade เป็นหนึ่งในส่วนประกอบเหมือนเดิม และการปรับปรุง
ครั้งนี้ เป็นหนึ่งในขั้นตอนที่บริษัทต้องทำอยู่แล้ว เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ แต่ย้ำเช่นกันว่า เป็นการปรับปรุง
เพื่อทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น

ในขณะเดียวกัน Takata ได้ปฏิเสธว่า การเปลี่ยนสูตรเคมีครั้งนี้ ทำเพื่อแก้ปัญหาความบกพร่องของถุงลมนิรภัยจนต้อง
เรียกคืนถึง 8 ล้านคัน อีกทั้งได้ปฏิเสธเช่นกันว่าเป็นการเปลี่ยนสูตรเพื่อต้นทุนที่ถูกลง และชี้แจงว่าถุงลมนิรภัยที่ใช้สูตรเคมีเดิมนั้น
อาจมีการระเบิดออกมาได้เอง หากสัมผัสกับความชื้น หรือถูกประกอบกับรถยนต์ด้วยขั้นตอนที่ผิดพลาด

อย่างไรก็ตาม มีการเปิดเผยว่า ซัพพลายเออร์ถุงลมนิรภัยคู่แข่งเช่น Autoliv และ TRW Automotive ได้หลีกเลี่ยง
การใช้ Ammonium Nitrate สำหรับการปรุงสูตรเคมีเพื่อใช้ในการจุดระเบิดถุงลมนิรภัย ซึ่งตัว Ammonium Nitrate นั้น
ถือเป็นสารเคมีราคาไม่แพงมาก เนื่องจากนำไปใช้ในเกษตรกรรมและการผลิตอาวุธสงครามด้วย

ตั้งแต่ปี 2000 ที่ผ่านมา Takata ได้ผลิตชิ้นส่วนจุดระเบิดถุงลมนิรภัยกว่า 100 ล้านชิ้นแล้ว จนกระทั่งในปี 2008
เริ่มมีปัญหาเรื่องคุณภาพจนต้องเรียกคืนรถยนต์กว่า 17 ล้านคัน จนมาถึงปี 2013 ที่ต้องเรียกคืนรถยนต์ 8 ล้านคัน
ซึ่งรถยนต์ที่ใช้ Takata เป็นซัพพลายเออร์ถุงลมนิรภัยมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Ford, Chrysler, รถยนต์ในเครือ
General Motors รวมไปถึงค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าคนไทยเองก็เป็นผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่ต้องใช้รถยนต์
ที่มี Takata เป็นซัพพลายเออร์แอร์แบ็กด้วย

อย่างไรก็ตาม ข่าวการปรับปรุงสูตรเคมีเพื่อจุดระเบิดถุงลมนิรภัยนี้ น่าจะเป็นข่าวดีสำหรับผู้บริโภคทั่วโลก รวมถึงไทยเอง
ซึ่งจะได้ใช้ชิ้นส่วนในรถยนต์ที่ปลอดภัยมากขึ้น และบกพร่องด้วยตัวมันเองน้อยลง

ที่มา : Automotive News