พฤติกรรมลูกค้าทั่วโลกในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่มักจะนำหัวข้ออัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมาขบคิดประกอบการพิจารณาใน
การซื้อรถ ยิ่งประหยัดมากเท่าไรก็ยิ่งน่าซื้อมากขึ้นเท่านั้น บริษัทรถเลยคิดแผนการตลาดใหม่ ๆ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่ารถคันนี้
สิดีจริง ประหยัดจริง แต่ท้ายที่สุดกระบอกเสียงแห่งความจริงก็แข็งแกร่งและน่าเชื่อถือมากที่สุดอยู่ดี

Christopher Grundler ผู้อำนวยการหน่วยงานควบคุมและปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection
Agency : EPA) ก็เปิดเผยข้อมูลกับสำนักข่าว Automotive News ว่า ผู้ผลิตมักเตือนให้ผู้บริโภครับทราบว่าอัตรา
สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจากบริษัทอาจจะไม่ตรงกับการใช้งานในชีวิตจริง (จนถึงขั้นมีการฟ้องร้อง) ขณะเดียวกันผลทดสอบ
อัตราสิ้นเปลืองจากผู้ผลิตก็ผิดเพี้ยนกับที่ EPA ทดสอบแบบคนละเรื่องกันเลย

alt

ในอดีตผลทดสอบอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงระหว่างผู้ผลิตรถยนต์กับ EPA มีส่วนต่างในปี 2007 เพียงแค่ 1.15% เท่านั้น ปี
2008-2010 ห่างกัน 2.28% ส่วนปัจจุบันเคยมีส่วนต่างหากกันมากถึง 14% มาแล้วในรถบางรุ่น คือผลที่ EPA ทดสอบ
ได้จะกินน้ำมัน 30 MPG แต่ผู้ผลิตกลับแจ้งว่ากินน้ำมัน 34 MPG

เหตุผลสำคัญที่ทำให้อัตราสิ้นเปลืองออกสื่อจากผู้ผลิตเกินจริง เพราะผู้ผลิตใช้นักขับขี่ที่มีทักษะดีมาช่วยทำให้ผลทดสอบ
ออกมาดูดี อาทิ การออกตัวอย่างนุ่มนวลจากจุดหยุดนิ่ง, ค่อย ๆ เบรคหรือกดคันเร่ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำตัวเลขให้
ประหยัดเข้าไว้ซึ่ง Christopher Grundler ได้แสดงความเห็นว่าผู้ผลิตรถยนต์จะต้องมีนักขับขี่ที่ขับดีมาก ๆ มาช่วยใน
การทดสอบอยู่แล้ว

John German ผู้เชียวชาญด้านอัตราสิ้นเปลืองผู้ซึ่งเคยทำงานเป็นวิศวกรให้กับ Chrysler และ Honda กล่าวว่า ตัวแปร
สำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตเน้นเรื่องความประหยัดน้ำมันก็คือกระแสความต้องการของลูกค้าและมาตรฐานบังคับต่าง ๆ เมื่อถึง
เวลาบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดก็ยิ่งบังคับให้ผู้ผลิตต้องลงทุนด้วยเงินเป็นจำนวนมาก (ในการปรับปรุงงานวิศวกรรม)
ผู้ผลิตก็มักจะมองวิธีการที่ถูกที่สุดเพื่อให้เข้าข้อบังคับกฏเกณฑ์นั้น จึงทำให้ผู้ผลิตหาช่องทางในการทำแบบนั้น

และเพื่อป้องกันการฉ้อฉลจากการทดสอบของผู้ผลิตทำให้ EPA ต้องร่วมมือกับสมาคมวิศวกรรมยานยนต์แห่ง
สหรัฐอเมริกา (SAE) เพื่อให้ผลทดสอบระหว่างผู้ผลิตกับ EPA มีผลใกล้เคียงกันมาก ด้วยการให้ผู้ผลิตยินยอมให้มีการนำ
“รถติดตาม” ที่มีการเก็บผลข้อมูลการขับขี่อิเล็กทรอนิคส์ติดตามไปด้วย เพื่อดูว่าผู้ขับขี่ใช้รถทดสอบสามารถขับขี่รักษา
ระดับบนเขาหรือเนินสูงได้แค่ไหน

ผู้ผลิตที่แจ้งอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ดีเกินไปจนน่าสงสัย EPA ก็จะให้ผู้ผลิตมาทดสอบใหม่อีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่า
สลากประหยัดน้ำมันออกมาใกล้เคียงกับการใช้งานจริงมากที่สุด

และแน่นอนว่าเมื่อ EPA ได้คิดวิธีออกมาปกป้องผลประโยชน์ผู้บริโภคก็ทำให้ องค์กรนี้ต้องทำงานเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวหนึ่ง
หนึงในทางเลือกคือการตั้งค่าโปรแกรมหุ่นยนต์ทดลองขับที่สามารถกดคันเร่งและเบรคได้แม่นยำ แต่ปัญหาสำคัญคือจะ
ไม่สามารถครอบคลุมพฤติกรรมการขับขี่ของมนุษย์ได้ทั้งหมดและหนำซ้ำยังอาจจะโดนผู้ผลิตรถตั้งค่าตัวรถได้ง่ายขึ้น
เพื่อให้ผลทดสอบสวยหรูแบบออกนอกจักรวาลกันได้

สุดท้าย Grundler ก็พูดทิ้งท้ายสั้น ๆ แต่น่าคิดว่า “ประชากรไม่ใช่หุ่นยนต์”

ที่มา : http://www.autonews.com/article/20131004/OEM11/131009914/epa-says-automakers-test-drivers-can-be-too-good#ixzz2gmsn9GDc