แม้กระตุ้นด้วยการลดภาษีรถประหยัดพลังงานแล้วก็ไม่พ้นวังวนยอดขายลดลงจนได้
โชคดีที่ลดลงไม่มากนักตามสภาวะการใช้สอยของคนญี่ปุ่นคาดว่าปลายปีนี้คงเห็นยอดขายเพิ่มขึ้นแน่นอน

 
 

มาดูยอดขายรถยนต์ขนาดเครื่องยนต์ใหญ่กว่า 660 ซีซีหรือ Non-mini car
ยอดขายรวม 243,342 คันลดลงจากปีที่แล้วแค่ 13.5% เท่านั้นจากเดิมคาดการณ์ว่าน่าจะลดลงถึง 30%
ผ่อนหนักเป็นเบาได้ดีทีเดียว

อันดับ 1 Toyota Motor 112,526 (-11.4)
แบ่งเป็นแบรนด์ Toyota 110,677 (-11.4) และ Lexus 1,849 (-11.7)

อันดับ 2 Nissan Motor 38,844 (-20.8)

อันดับ 3 Honda Motor 37,450 (+ 5.7)
น่าสังเกตว่าเป็นค่ายรถเดียวที่ยอดขายเพิ่มด้วยอานิสงค์รุ่น Insight ส่วนหนึ่ง

อันดับ 4 Mazda Motor 13,580 (- 4.0)

อันดับ 5 Fuji Hevy Industry ผู้ผลิตรถยนต์ Subaru 6,145 (-14.0)

อันดับ 6 Suzuki Motor  5,275 (-26.5)
ถือเป็นค่ายที่ยอดขายลดลงมากที่สุด

อันดับ 7 Mitsubishi Motor 4,700 (- 7.4)

นอกนั้นเป็นรถนำเข้า 18,698 (-18.7)

ส่วนยอดขายรถขนาดมินิหรือ K-car ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 660 ซีซีแบ่งออกตามแบรนด์ดังนี้

อันดับ 1 Daihatsu Motor  49,858 (-13.0)
ผู้นำตลาดรถเคคาร์นาน 2-3 ปีเท่านั้นต้องจับตาดูต่อไปว่าจะครองบัลลังก์นานแค่ไหน

อันดับ 2 Suzuki Motor 45,644 (-9.7)
ถือเป็นเจ้าตลาดอันดับ 2 ที่แข็งแกร่งมากกว่าไดฮัทสุดเหมือนกันเพราะลดลงจากปีที่แล้วน้อยที่สุดในกลุ่ม

อันดับ 3 Honda Motor 13,436 (-30.6)
ค่ายนี้ลงหนักมากที่สุด

อันดับ 4 Nissan Motor 9,443 (-20.1)
อย่านึกว่าผลิตรถเคคาร์ด้วยตนเอง แต่นำรถจากค่าย Mitsubishi และ Suzuki แปะตราของตนเอง

อันดับ 5 Mitsubishi Motor 8,621 (-18.9)

อันดับ 6 Fuji Heavy ผู้ผลิตรถ Subaru 8,111 (-25.7)

อันดับ 7 Mazda Motor 3,823 (-25.1)
ค่ายนี้ยืมรถจาก Suzuki มาขายครับ