คืนวันหนึ่ง หลังจากทดลองอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ของรถรุ่นหนึ่ง เสร็จสิ้น ผมก็นัดหมาย
ตารางงานล่วงหน้า ที่ผมกับ น้องโจ๊ก V10ThLnD แห่ง The Coup Team ของเรา จะต้องมา
เจอกัน เพื่อทำการทดลองอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง…..ตามปกติ
แต่พอรู้ว่าเป็น Proton Preve ใหม่…โจ๊กพูดทันที…
“เอ่อ คันนี้ ขอบายละกันนะพี่จิม โจ๊กไม่ว่างพอดีเลย”
เอ้า..โอเค ไม่เป็นไร…..ไม่ว่ากัน งานยุ่ง หรือติดขัด ก็เป็นเรื่องปกติ
แต่…พอลองเอาคำถามเดียวกันไปถาม ต๊อบ Philozophy น้องใน The Coup Team อีกคนหนึ่ง
เจ้าตัวก็ตอบด้วยเสียงเรียบๆง่ายๆ ว่า…
“เอ่อ ขอเป็นคันอื่นได้ปะ?”
ผมชักสงสัย…นี่น้องๆในทีมเว็บผม รังเกียจรังงอนอะไร Proton กันขนาดนี้เลยเหรอ?
เที่ยงวันศุกร์ที่ 11 มกราคม 2013
ชั้น 8 อาคาร มณียา ชิดลม ราชประสงค์
เป็นครั้งแรกที่ผมมาเยือนถึงออฟฟิศ Proton Motors (Thailand) ของพวกเขา คุณหม่อน และ
Mr.Choo ออกมาต้อนรับขับสู้อย่างดี เพราะนี่คือ ครั้งแรกที่เราจะมีรีวิว Proton คันแรก ใน
Headlightmag.com
“ผมคงไม่ขอพูดอะไรมากไปกว่า จะบอกคุณว่า ไปลองขับดู จะหนักหน่วงแค่ไหนอย่างไร
เอาให้เต็มที่ได้เลย แค่ว่า ปลอดภัยไร้อุบัติเหตุก็พอ”
สีหน้าและแววตา ของผู้บริหาร Proton Thailand ดูมั่นอกมั่นใจกับรถเก๋ง Compact C-Segment
รุ่นใหม่ล่าสุดของพวกเขาอย่างมาก จนผมสัมผัสได้ ถึงขั้นกล้าตั้งสโลแกนของ Sedan ใหม่
รุ่นนี้ ว่า Drive it to believe it!
มันจะเป็นไปได้หรือ? ที่บริษัทรถยนต์ ซึ่งพึ่งก่อตั้งเมื่อปี 1983 และยังมีภาพลักษณ์ฝังหัวคนไทย
ว่าพึ่งพาเทคโนโลยีจาก Mitsubishi Motors จะสามารถสลัดภาพเดิมๆ ที่ผุ้คนเคยมองว่าเป็นรถยนต์
ราคาถูก เน้นความคุ้มค่า แต่สมรรถนะก็ห่วยได้ใจ อย่าไปคาดหวังอะไรมาก พลิกสู่การเป็นผู้ผลิต
รถยนต์ราคาคุ้มค่า แต่สมรรถนะ ดีเกินกว่าทุกความคาดหมาย?
บริษัทที่ผมเคยเขียนคอมเมนท์ รถยนต์ของพวกเขาไปอย่างรุนแรง สมัยยังทำอยู่ที่เว็บเก่า เมื่อปี
2008 ว่า “กลับไปทำรถมาใหม่เถอะ” เนี่ยนะ!?
ผมไม่เชื่อ…จนกระทั่งทันทีที่ขึ้นไปนั่งบนรถคันสีขาว ที่เห็นอยู่นี้ แล้วค่อยๆ ออกรถไปช้าๆ
ผมเริ่มพบความเปลี่ยนแปลงจาก รถรุ่นก่อนๆของพวกเขาอย่างชัดเจน ไม่ใช่ ดีขึ้นใน 10 วัน
แบบโฆษณาแชมพู หรือครีมบำรุงหนังหน้าหรอกนะ…แต่พบว่ามันดีขึ้นทันทีที่ขึ้นขับเลยละ!
ยิ่งเมื่อทำอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ผมก็มองว่า เฮ้ย ไม่เลว…เกิน 13 กิโลเมตร/ลิตรมาได้ ก็จัดว่า
อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแล้วละ…ยิ่งติด Turbo ด้วย ก็ถือว่าทำได้ดีกว่าคาดไว้
แต่ที่ทำเอาผม Shock สุดขีด…ก็ตอนทำ Top Speed นั่นละ…
เครื่องยนต์ 1.6 ลิตร พ่วง Turbo ลูกเล็กของ Borg Warner พา Preve คันนี้ ทะยานขึ้นไป
อย่างต่อเนื่อง ด้วยแรงบิดแบบ Flat Torque ของมัน จนเข็มความเร็วที่เรืองแสง เหมือน
ปลายดาบของ Dark Vader ใน Star War ไปหยุดนิ่งสนิท ที่ 210 กิโลเมตร/ชั่วโมง ขณะที่
เข็มวัดรอบเครื่องยนต์ ก็หยุดนิ่งสนิทเช่นกัน ณ ระดับ 5,500 รอบ/นาที มาตั้งแต่ออกตัว
ครับ คุณอ่านไม่ผิดแน่ๆ แถมตัวรถยังคงนิ่งสนิท เหมือนเข็มบนมาตรวัดเลยนั่นแหละ
แม้ว่า จะใช้ความเร็วสูงขนาดนั้นด้วยเนี่ยสิ!!
กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด
อ๊ากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก!!!!!!
ว๊ากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก!!!!!!
โว้ววววววววววววววววววววววววววววววๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
เช็ดโด้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
Ahhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhhh
บ้าไปแล้ว ของจริง!
ผมกับ คุณผู้อ่านของเรา ตา Besthuafoo ที่มาลองรถด้วยกัน ถึงกับ กรีดร้องลั่นรถทั้งคู่!….
เราเหวอไปแล้วครับคุณผู้อ่าน…สโลแกนของรถรุ่นนี้ ที่ว่า Drive it to believe it นั้น
มันจริงของเขาเลยหวะ!!! ผมต้องถามย้ำกับตัวเองให้ว่า แน่ใจนะ ว่าเนี่ย รถยนต์นั่งจาก
ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซีย?? ยี่ห้อที่เราเคยร้องยี้ เพราะรถยนต์นั่งรุ่นก่อนๆ ของ
พวกเขา มันยังทำผลงานได้ไม่ดีขนาดนี้ เนี่ยนะ? มาวันนี้ เขาพัฒนาตัวเองไปมากขึ้นจน
เข้าสู่การเป็นผู้ผลิตรถยนต์ระดับ World Class กับเขาได้สักทีแล้วเนี่ยนะ!
ครับ ใช่ Proton เนี่ยแหละ!!
ทำไมพวกเขาถึงเปลี่ยนแปลงรถยนต์ของตนไปได้มากมายถึงเพียงนี้ อะไรคือเบื้องหลัง
ของความเปลี่ยนแปลงที่ผมถือว่า พลิกโฉมครั้งใหญ่ของพวกเขาในครั้งนี้ แล้วสมรรถนะ
ของตัวรถ กับออพชันที่มีมาให้ มันจะคุ้มกับการจ่ายเงินเพียง 759,000 บาท แลกกับการ
เป็นเจ้าของหรือไม่ บรรทัดต่อไปข้างล่างนี้ มีคำตอบให้คุณแน่ๆ ครับ
แต่ก่อนอื่น..คุณควรจะรู้จัก Proton กันเสียก่อน ว่า กว่าที่พวกเขาจะมายืนอยู่ในวันนี้
พวกเขาผ่านอะไรมาบ้าง จากประวัติของ Proton คร่าวๆ ไม่ยาวหรอกครับ สั้นและ
เข้าใจง่ายขึ้นเยอะ คั้นเอาแต่เนื้อๆเน้นๆล้วนๆ
“There’s only one choice for Proton…is the sucess! , Failure is not an object!”
คำพูดของ Dr. Mahathir Mohamad (ดร. มหาเธร์ โมฮัมหมัด) อดีตนายกรัฐมนตรี ของ
มาเลเซีย เคยกล่าวไว้ในสุนทรพจน์ครั้งหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงตวามตั้งใจแน่วแน่
ในแนวคิดและความฝันที่อยากจะเห็นรถยนต์แห่งชาติของมาเลเซีย สำเร็จเป็นรูปร่าง
ขึ้นมาให้จงได้
บริษัท EON หรือ Edoran Otomobil Nasional (ต่อมาเปลี่ยนชื่อในภายหลังเป็นบริษัท
Perusahaan Otomobil Nasional หรือ National Automobile Enterprise).ก่อตั้งขึ้น
เมื่อ วันที่ 7 พฤษภาคม 1983 จากดำริของ ดร.มหาเธร์ ด้วยความร่วมมือ ในฐานะทั้งหุ้นส่วน
และพันธมิตรผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและประสบการณ์ให้อย่าง Mitsubishi Corporation
และ Mitsubishi Motors Corporation ใช้วิธีการนำ Mitsubishi Lancer Fiore ขับล้อหน้า
(หรือรุ่นที่บ้านเราเรียกว่า Lancer Champ) มาดัดแปลง เปลี่ยนหน้าตาเสียใหม่ ให้ต่าง
ไปจากรุ่นดั้งเดิม และมีเอกลักษณ์ในแบบของ Proton มากขึ้น พวกเขาเริ่มสร้างโรงงาน
ไปพร้อมกับกาลงทุนด้านงานวิจัยและพัฒนา หรือ R&D (Research & Development)
แม้กระทั่งการลงทุนตั้งโรงงานขึ้นรูปชิ้นส่วนตัวถังกับสนามทดสอบรถยนต์ของตนเอง
ที่ Shah Alam บนพื้นที่กว่า 923,900 ตารางเมตร เพื่อให้สามารถผลิตรถยนต์ได้ระดับ
80,000 คัน/ปี
และแน่นอน จะผลิตรถยนต์ทั้งที มันควรจะมีชื่อเรียกให้ง่าย ในการทำตลาด พวกเขา
จึงจัดให้มีการประกวดตั้งชื่อรถขึ้น และผุ้ชนะ ได้แก่ ชายที่ชื่อ Ismail Jaafar ซึ่งตั้งชื่อ
รถยนต์แห่งชาติมาเลเซีย คันแรก ว่า “Proton Saga”
9 กรกฎาคม 1985 Proton Saga ก็ถูกเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ สู่ตลาดมาเลเซีย โดยในงาน
แถลงข่าว ดร.มหาเธร์ ก็เป็นประธานร่วมแสดงความยินดีด้วย..แน่ละ ฝันของเขาเลยนี่
ด้วยมาตรการส่งเสริมด้านภาษีเป็นพิเศษ ทำให้ Proton Saga มีราคาถูกมาก ใครๆ ก็
ซื้อหาไปขับขี่กันได้ ขณะที่รถยนต์นำเข้าแบรน์ญี่ปุ่นหรือยุโรป จะมีค่าตัวรวมภาษี
แพงกว่า Proton นั่นจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ Proton ขายดีขึ้น จนกระทั่ง พวกเขา
ผลิตรถยนต์ คันที่ 100,000 ออกมาในเดือนมกราคม 1989
จากวันนั้นเป็นต้นมา Proton ก็เริ่มต้นสั่งสมเทคโนโลยีการพัฒนารถยนต์ในแบบ
ของตนเอง โดยอาศัยองค์ความรู้พื้นฐาน และเทคโนโลยีจาก Mitsubishi Motors
เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รถยนต์ของ Proton ในช่วงก่อนปี 2000 แทบทุกรุ่น ทั้งรุ่น Wira
Satria และ Putra จะใช้พื้นฐานงานวิศวกรรมร่วมกันกับ Mitsubishi Lancer และ
Mirage กับ Mirage Asti รุ่น E-Car ปี 1991 ถึง1995 ด้วยกันทั้งสิ้น ยกเว้นเฉพาะ
รุ่นสูงสุด Perdana ที่จะใช้พื้นฐานของ Mitsubishi Eterna รุ่นปี 1992 – 1996 ที่
ถูกนำมาประกอบขายในชื่อ Proton เมื่อปี 1995 รวมทั้ง Proton Tiara ซึ่งเป็นการ
นำรถยนต์นั่งขนาดกระทัดรัดอย่าง Citroen AX มาปรับหน้าตาเสียใหม่ ผลิต
ออกขาย ในช่วงปี 1996 – 2000
Proton เริ่มทำรถยนต์ทั้งคันด้วยตัวเองครั้งแรก คือ Proton Waja ออกสู่ตลาดเมื่อ
ปี 2000 งานวิวกรรม แชร์ร่วมกับ Mitsubishi Motors ตามเคย ทว่า ใช้เครื่องยนต์
1.8 ลิตร สำเร็จรูปจาก Renault ฝรั่งเศส และพอจะมียอดขายได้อยู่เรื่อยๆ
ปัจจุบัน แม้ว่า Proton จะถูกกลุ่มบริษัท DRB-HICOM ซึ่งเป็นบริษัทขนาดยักษ์
เจ้าของกิจการใหญ่ๆเช่นอู่ต่อเรือ ซื้อกิจการไปอยู่ในเครือแล้ว หลังจากที่ Proton
ต้องดิ้นรนสารพัดรูปแบบ ทั้งการมองหาพันธมิตร ในการร่วมงานต่อไป (ตอนแรก
เป็น Volkswagen และล่าสุด ก็เป็น Honda) รวมทั้งการหาหนทางใช้บริการบริษัท
ที่ตนไปซื้อมา อย่าง Lotus ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เท่าที่ทำได้ แต่นั่นยิ่งทำให้
Proton แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุด โรงงานใน Shah Alam มีกำลังการผลิตเพิม
เป็น 240,000 คัน/ปี เรียบร้อยแล้ว
คนไทยรู้จัก Proton มาช้านานแล้ว เพราะชาวมาเลเซีย พาเจ้า Saga เข้ามาวิ่งเล่นใน
บ้านเราอยู่เรื่อยๆ จนกระทั่ง กลุ่มพระนครยนตรการ (PNA) ตัดสินใจ เป็นผู้แทนจำหน่าย
อย่างเป็นทางการ และจัดงานเปิดตัวรถยนต์ 3 รุ่น พร้อมกัน ทั้ง Savvy Persona และ
Satria NEO ขึ้นในเมืองไทยครั้งแรก ที่ งาน Motor Expo ปลายเดือนพฤศจิกายน
2007 และในช่วงแรก ก็ได้รับความสนใจจากลูกค้าอยู่มาก จนกระทั่งพักหลังมานี้
ยอดขายเริ่มลดลง เพราะเสียงลือเสียงเล่าอ้างของลูกค้่าที่ซื้อไปก่อนหน้านี้ เรื่อง
บริการหลังการขาย ในหลายรูปแบบ รวมทั้งเคสที่โพสต์ลงในเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง
Pantip.com เรื่อง ราคาอะไหล่ของ Savvy บางชิ้นที่แพงหูฉี่ ในความเข้าใจของ
ลูกค้า ถึงขั้นยอมลงทุนเดินทางไปเที่ยวมาเลเซีย และซื้ออะไหล่ชิ้นนี้เอง จน
ทำให้ภาพลักษณ์เริ่มติดลบในใจลูกค้าไปมาก แม้ว่า PNA จะพยายามปรับปรุงอยู่
แต่ก็ยังต้องใช้เวลามากกว่านี้อีกสักพัก
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบัน Proton จะผลิตรถยนต์ ส่งออกไปขายมากถึง 50 ประเทศ
ทั่วโลก แต่ Proton ก็ยังคงมีปัญหาสำคัญที่แก้ไม่ตกมาช้านาน นั่นคือ ความฝังใจใน
ประเด็นด้านคุณภาพ ของทั้งตัวรถ การประกอบ และในด้านต่างๆ จริงอยูว่า Proton
ถือเป็นแบรนด์รถยนต์ ที่เน้นความคุ้มค่า คุ้มราคามาแต่ไหนแต่ไร แต่ถ้าตราบใดที่
ยังคงยึดติดอยู่กับภาพลักษณ์เดิมๆแบบนี้ และยังไม่ปรับปรุง ยกรดับด้านคุณภาพกัน
เสียที Proton ก็จะยืนหยัดอยู่ในเวทีอุตสาหกรรมยานยนต์โลกได้อย่างลำบากยิ่ง
พวกเขา จำเป็นต้องมีรถยนต์รุ่นใหม่สักรุ่น ที่จะเป็นเครื่องยืนยันได้ถึงพัฒนาการ
ของ Proton ที่พร้อมจะกระโจนสู่ตลาดโลกอย่างเต็มภาคภูมิ ยิ่งกว่าที่เคยเป็น เพื่อ
ให้ผู้บริโภค ยอมซื้อรถยนต์ Proton เพราะคุณภาพการขับขี่ และการประกอบที่ดี
ทัดเทียมกับบค่ายรถยนต์ข้ามชาติอื่นๆ แทนที่จะซื้อ Proton เพราะราคาถูกเพียง
อย่างเดียว เหมือนเช่นที่เคยเป็นมาในอดีต
ปี 2009 Proton ก็เริ่มคิดเรืองนี้ได้อย่างจริงจังกันเสียที และเริ่มทำงานกันอย่างลับๆ
เพื่อก่อกำเนิดโครงการพัฒนารถยนต์ขนาดกลางรุ่นใหม่ ในรหัส P3-21A
Dato Sri Haji Syed Zainal Abidin : Managing Director ของ Proton เล่าว่า ” โครงการ
พัฒนารถยนต์นั่งรุ่นใหม่ รหัส P3-21A ถือเป็นรถยนต์นั่งระดับโลกคันแรกของ Proton (Proton First
Global Car) เราเริ่มต้นโครงการนี้ เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (2009) ด้วยวิสัยทัศน์ ด้วยจิตวิญญาณ และ
คำสัญญาที่จะมุ่งไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เพื่อที่จะพิสูจน์ให้โลกได้รู้ว่า รถยนต์ Proton รถยนต์จากมาเลเซีย
นี่แหละ ที่จะเป็นรถยนต์ระดับ Global Car ให้ได้”
เพื่อเผยให้สาธารณชนได้รับรู้ว่า Proton กำลังพัฒนารถยนต์นั่ง C-Segment Compact Class
รุ่นใหม่ ที่พวกเขาตั้งใจจะทำคลอดออกมาต่อกรกับ Toyota Corolla ALTIS , Honda Civic
Nissan Sylphy , Volkswagen Jetta , Ford Focus , Mazda 3 รวมถึง Mitsubishi Lancer EX
ซึ่งวางขายในมาเลเซีย ด้วยชื่อ Proton Inspira
Proton ก็เลยร่วมงานกับสำนักออกแบบรถยนต์ Italdesign Giugiaro แห่งอิตาลี รังสรรค์รถยนต์
ต้นแบบ Sedan คันสีขาว ที่เห็นอยู่นี้ ออกแสดงในงาน Kuala Lumpur International Motor Show
เมื่อปลายปี 2010 ในชื่อ Proton TUAH
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตัวรถ จะดูสวยจบทั้งคัน แต่มันยังขาดเอกลักษณ์บางอย่างที่จะทำให้ผู้คน
จำได้ว่ามันคือ Proton ทีมออกแบบของ Proton ก็เลยไปจัดการขัดเกลางานออกแบบใหม่อีก
โดยเฉพาะครึ่งคันด้านหลังของตัวรถ
Proton วางตำแหน่งการตลาดของ Preve ในเมืองไทยให้เจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก
เป็นคู่แต่งงานอายุระหว่าง 20 – 40 ปี มีเป้าหมายในการซื้อรถยนต์คันใหม่ เพื่อใช้งาน
ทดแทนรถยนต์คันเดิม หรือซื้อรถยนต์ เพิ่มเติม รายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวอยู่ในระดับ
40,000 – 80,000 บาท/เดือน เลือกซื้อรถยนต์เพราะถูกใจรูปทรงการออกแบบ การขับขี่
นุ่มนวล ความปลอดภัย และต้องมีคุณภาพดี ในราคาที่ไม่แพง ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่เปลี่ยน
รถยนต์คันเดิม จาก Savvy หรือ Saga รวมทั้ง ลูกค้าเก่าของ Proton Persona
ส่วนกลุ่มเป้าหมายรอง เป็นคนโสดในช่วง อายุ 20 ปีกว่าๆ ขึ้นไป ตั้งใจซื้อรถยนต์
คันแรก หรือทดแทนรถยนต์คันเดิม ของตนเองหรือของครอบครัว รายได้เฉลี่ยอยู่ใน
ระดับ 40,000 – 60,000 บาท/เดือน เป็นนักธุรกิจ ผู้บริหารรุ่นใหม่ ชอบความสนุกสนาน
ตื่นตัว ชอบทำกิจกรรมต่างๆ และสนในจด้านสมรรถนะของตัวรถ กลุ่มนี้จะอัพเกรด
ตัวเอง จากลูกค้า Honda City , Toyota Vios รวมทั้ง อัพเกรดตัวเองจากรถยนต์ ในกลุ่ม
ECO Car 1.2 ลิตร
Hazrin Fazail Bin Haroon , General Manager . Product Planing (ผู้จัดการทั่วไป
ฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์) เล่าว่า “เรากำลังสร้างรถยนต์ ด้วยความรู้สึกอยากให้ผู้คนรัก ให้ผู้บริโภค
ได้รู้ว่า เราทุ่มเทกับรถคันนี้ลงไปอย่างมาก และเพื่อให้ผู้บริโภคได้มีความสุขยามได้เป็นเจ้าของ”
Azalan Othman หัวหน้าทีมออกแบบ เล่าว่า “โครงการนี้ เป็นโครงการใหญ่และมีความสำคัญ
สิ่งที่เราต้องการคือ บางสิ่งบางอย่างที่ สด และใหม่ ที่จะสื่อสารออกไป มันไม่ใช่แค่การพัฒนา
งานวิศวกรรมด้านผลิตภัณฑ์ แต่มันหมายถึงการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการออกแบบทุกชิ้นส่วน
และเพื่อสะท้อนให้เห็นความตั้งใจในการทำรถยนต์รุ่นนี้ ของทุกคนใน Proton ท้ายที่สุด พวกเขา
ก็เลือกใช้ชื่อ Preve ให้เป็นชื่อรุ่นของรถยนต์คันใหม่นี้ ซึ่งอ่านออกเสียงในภาษาไทยว่า “เพรเว่”
(Preve’: Pray-vay) เป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษ ให้ความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “Prove”
หมายถึง”การพิสูจน์” Proton ประกาศสู่สาธารณชนว่าจะใช้ชื่อนี้กับรถยนต์รุ่นใหม่ของพวกเขาใน
เดือน มีนาคม 2012 หรือเพียง 1 เดือน ก่อนกำหนดออกสู่ตลาดจริง
Proton เปิดตัว Preve ออกสู่ตลาดอย่างป็นทางการ ที่โรงงาน Tanjung Malim เมื่อวันที่
16 เมษายน 2012 ที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของมาเลเซีย Najib Abdul
Razak มาร่วมงานด้วย ซึ่งเป็นปกติของการเปิดตัวรถยนต์ Proton ในมาเลเซียทุกรุ่น
ที่ผ่านมาอยู่แล้ว ว่า นายกรัฐมนตรี คือแขกคนสำคัญของงานเสมอ เพราะนี่คือรถยนต์
แห่งชาติของมาเลเซีย
Preve สำหรับตลาดมาเลเซียนั้น มี 3 ระดับการตกแต่ง และมีค่าตัวตั้งแต่ 59,540 ถึง
72,990 ริงกิต และในงานวันนั้น ก็มีการเผยโฉมเวอร์ชัน “แต่งเต็มยศ หรูเต็มพิกัด”
ในชื่อ Proton Preve Sapphire ให้ได้ชมกันอีกด้วย แต่ยังไม่ใช่รุ่นที่จะจำหน่ายจริง
ในเร็ววันนี้
ออสเตรเลีย เป็นประเทศที่ Proton เลือกให้เป็น ดินแดนที่ 2 ในการนำ Preve ไปบุก
ตลาด เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2012 ในงาน Australian International Motor
Show ส่วนประเทศไทย เป็นประเทศที่ 3 ในโลก ที่ได้สัมผัสกับ Preve โดยเพิ่งจะมี
การเปิดตัว กลางงาน Motor Expo เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2012 ที่ผ่านมาสดๆร้อนๆ
Preve ในเมืองไทย จะมีให้เลือก 2 ขุมพลัง 3 ระดับการตกแต่ง ทั้งรุ่น Standard กับ
Executive เครื่องยนต์ 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,597 ซีซี 108 แรงม้า (PS) จากรุ่น
Persona มีทั้งเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะและอัตโนมัติ CVT รวม 4 รุ่นย่อย ส่วนคันที่นำมา
ลองขับในรีวิวนี้ จะเป็นรุ่น Premium เครื่องยนต์ CFE Turbo 138 แรงม้า PS) มีเฉพาะ
เกยร์อัตโนมติอัตราทดแปรผัน CVT เท่านั้น
หลังจากนี้ต่อไป Proton จะส่ง Preve เข้าไปบุกตลาด สหราชอาณาจักร อินโดนีเซีย
และตลาดอื่นๆ ทั่วโลก ส่วนรถยนต์พวงมาลัยซ้าย สำหรับตลาดตะวันออกกลาง และ
เมืองจีน ก็จะตามมาในปี 2013 นี้
Preve มีความยาวทั้งคัน 4,543 มิลลิเมตร กว้าง 1,786 มิลลิเมตร สูง 1,524 มิลลิเมตร
ระยะฐานล้อ 2,650 มิลลิเมตร ความกว้างช่วงล้อหน้า (Front Track) และความกว้าง
ช่วงล้อหลัง (Rear Track) เท่ากันเป๊ะ ที่ระดับ 1,542 มิลลิเมตร ความสูงจากพื้นถนน
จนถึงใต้ท้องรถ 155 มิลลิเมตร น้ำหนักตัวรถเปล่า 1,340 มิลลิเมตร ถือว่าหนักกว่า
ชาวบ้านทั้งหลายทั้งปวง ทุกรุ่นกันเลยลู่ลมด้วยค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานอากาศ
(Aero Dynamic) อยู่ที่ Cd 0.30
เมื่อเทียบขนาดกับ Proton รุ่นก่อนๆ ทั้ง Persona และ Waja จะพบว่า Preve ยาวขึ้น
70 – 73 มิลลิเมตร ตามลำดับ กว้างขึ้น 60 และ 45 มิลลิเมตร ตามลำดับ สูงขึ้น 86 และ
104 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนระยะฐานล้อ ยาวขึ้น 50 มิลลิเมตร แต่ก็มีน้ำหนักเพิ่ม
จากเดิม 95 และ 85 กิโลกรัม ตามลำดับ
แต่เมื่อเทียบขนาดกับคู่แข่ง จะพบว่า Preve สั้นกว่า Nissan Sylphy ใหม่ ซึ่งยาวสุด
ในตลาดตอนนี้ 72 มิลลิเมตร กว้างน้อยกว่า Chevrolet Cruze ที่ถือว่ากว้างสุดในกลุ่ม
เพียง 2 มิลลิเมตร และมีระยะฐานล้อ สั้นกว่า Nissan Sylphy , Chevrolet Cruze
และ Honda Civic FB ใหม่ 50 , 35 และ 20 มิลลิเมตร ตามลำดับ นอกนั้น ถือว่า
มีขนาดใหญ่กว่าคู่แข่งในกลุ่มนี้ที่กล่าวมาทั้งหมด (โดยตัวเลขเหล่านี้ ยังไม่ได้
เปรียบเทียบกับ Ford Focus ใหม่ ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่สุดในตลาดอย่างแท้จริง)
เส้นสายภายนอกนั้น แม้จะเป็นผลงานบางส่วนที่ดัดแปลงต่อเนื่องจากรถยนต์ต้นแบบ
รุ่น Tuah กระนั้น ดูเผินๆ ก็เหมือนจะพบว่า Preve ได้รับอิทธิพล รูปลักษณ์ จากคู่แข่ง
ทั้ง Honda City , Honda Civic (เวอร์ชัน อเมริกาเหนือ) และ Mazda 3 ไม่น้อยเลย
ชุดไฟหน้าเป็นแบบ Projector มาพร้อมระบบเปิดไฟหน้าอัตโนมัติ ด้วยเซ็นเซอร์
มีไฟตัดหมอกหน้ามาให้ พร้อมไฟหรี่แบบ LED ช่องสีดำบริเวณไฟตัดหมอกฝั่งซ้าย
ของตัวรถ จะเจาะช่องเอาไว้ เปิดรับอากาศเข้าสู่ Intercooler
ฝากระโปงหน้ามีแนวสันรูปลิ่ม เพื่อเพิ่มแรงกดของอากาศ ขณะที่รถแล่นด้วยความเร็วสูง
ช่วยให้หน้ารถจิกอยู่กับพื้นถนนได้ดีขึ้น เสาหลังคาคู่หน้า A-Pillar ลาดเอียว และลากยาว
เป็นเส้นโค้งต่อเนื่องไปจนถึงฝากระโปรงท้าย มีแนวครีบด้านข้างเพื่อควบคุมการไหลของ
อากาศผ่านตัวรถ และเพิ่มบุคลิกให้ตัวรถดูหนาขึ้น กระจกมองข้างมีกรอบพลาสติกพร้อม
ไฟเลี้ยว LED จะพับเก็บทันทีเมื่อสั่งล็อกรถ และกางออกทันทีที่รถเริ่มแล่นด้วยความเร็ว
เกิน 5 กิโลเมตร/ชั่วโมง
บั้นท้าย มีชุดไฟท้าย LED และไฟตัดหมอกหลังมาให้ แถมด้วยครีบสปอยเลอร์หลัง
และแผ่นทับทิมสะท้อนแสง ที่เปลือกกันชนด้านหลังทั้ง 2 ฝั่ง รวมทั้งยังมีท่อไอเสียที่
ถูกออกแบบให้ซ่อนปลายท่อไว้อีกด้วย เสาอากาศ เป็นแบบครีบ กึ่งหางหนู รวมเสา
รับสัญญาณระบบนำทาง GPS ไปในตัว
การเปิดประตู ใช้รีโมทกุญแจ แบบพับดอกกุญแจเก็บได้ แต่ยังต้องกดปุ่มสั่งปลดล็อก
และสั่งล็อก เหมือนรีโมทปกติ แถมยังมีปุ่ม Alarm สำหรับกดปุ่มไล่ผูัไม่พึงประสงค์
ด้วยเสียงของระบบกันขโมยในรถ Immobilizer จากโรงงาน แต่ไม่มีสวิชต์ เปิดฝา
ประตูห้องเก็บของด้านหลัง ถ้าความเร็ว เกิน 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง รถจะล็อกเองอัตโนมัติ
กุญแจแบบนี้ มักทำให้ผม เผลอตัว กดปุ่ม ดึงดอกกุญแจออกมาเตรียมเสียบเข้าไปในรู
แล้วบิดเพื่อติดเครื่อง ทั้งที่ความจริงแล้ว Preve 1.6 CFE Turbo ใช้ปุ่ม Push Start แต่
ยังต้องมีลูกกุญแจมาให้ สำรองในกรณีฉุกเฉิน เช่นแบ็ตเตอรีอ่อน จนต้องใช้กุญแจไข
เข้าไปในรถ
การลุกเข้า-ออกจากตัวรถ ทำได้สบายๆ เพราะการติดตั้งเบาะนั่งไว้ในระดับสูงกว่า
รถยนต์ปกติทั่วไปนิดหน่อย ไม่ต้องก้มหัวมาก และไม่ต้องออกแรงกดที่หัวเข่าตอน
ยกตัวขึ้นยืนมากเหมือนรถยนต์สมัยก่อน
พื้นที่วางแขนบนแผงประตู อยู่ในระดับเหมาะสมพอดี วางแขนได้จริง มีช่องวางของ
เล็กๆ ติดมาให้ด้วย วัสดุที่ใช้่นั้น กัดลายได้ใกล้เคียงกับ ลายของพื้นผิววัสดุใน Toyota
Prius อยู่เหมือนกัน มีช่องใส่ขวดน้ำขนาด 7 บาท ที่แผงประตูมาให้
ทันทีที่เข้าไปนั่ง สัมผัสได้ถึง “กลิ่นของห้องโดยสาร ที่สะอาด ดมแล้วลื่นจมูกชมัด”
นี่คือกลิ่นของรถใหม่ในแบบที่ผมชอบ และไม่แสบจมูกมากจนเกินไป อยากให้
Proton รักษากลิ่นแบบนี้เอาไว้ ใช้กับรถยนต์รุ่นใหม่หลังจากนี้ นานๆ
เบาะนั่งติดตั้งมาในตำแหน่งที่ผมว่า สูงไปสักหน่อย แม้ว่า จะมีก้านปรับระดับสูง -ต่ำ
ฝั่งคนขับมาให้แล้ว แต่ต่อให้ปรับเบาะจนต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ ตำแหน่งนั่ง ก็ยังสูงไป
อยู่ดี เมื่อเทียบกับรถยนต์นั่งในระดับเดียวกันจากค่ายญี่ปุ่น มันสูงจนทำให้ผมเข้าใจ
ว่ากำลังขับรถยนต์ Minivan มากกว่าที่จะนั่งขับรถเก๋ง Sedan ยินยันว่า ตำแหน่งเบาะ
ที่ต่ำที่สุด ควรจะต่ำลงกว่านี้ได้อีกสัก 2 – 3 จังหวะ
ยิ่งถ้าเป็นเบาะฝั่งผู้โดยสารแล้ว ตำแหน่งของเบาะ สูงไป แม้จะเข้า-ออกจากรถง่าย
แต่ เมื่อนั่งเดินทางแล้ว มันให้ประสบการณ์คล้ยกับนั่งอยู่บนเบาะหน้าฝั่งซ้ายของ
Toyota Corolla ALTIS คือ เบาะสูงไปจนเหมือนตัวเราจะลอยจากพื้น และเกิด
ความไม่มั่นใจในการโดยสารอยู่บ้างเหมือนกัน
ดังนั้น ใครที่จะเริ่มสัมผัส Preve ครั้งแรก อย่าขึ้นไปนั่งบนเบาะหน้าฝั่งซ้าย แต่ให้
เริ่มจากการขึ้นไปนั่งบนเบาะคนขับไปเลย แล้วปรับตำแหน่งให้ต่ำสุด คุณจะพบว่า
มันเป็นตำแหน่งนั่งที่ยอมรับได้ สบายใจกว่าเบาะหน้าฝั่งซ้าย
พนักพิง แม้จะมีการดันหลังในระดับที่กำลังดีสำหรับผม แต่ปีกด้านข้าง แทบไม่
เกิดประโยชน์ในการรั้งตัวผู้ขับขี่ขณะเข้าโค้งเอาเสียเลย ยังคงแบนเกือบเท่ากับ
ไม้กระดานแต่แค่ว่ามีการดันหลังเพิ่มขึ้นเท่านั้น นั่งนานๆ ไม่ค่อยสบายเท่าที่ควร
คือรู้ว่าตั้งใจปรับปรุงจาก Presona และ Gen2 รุ่นเดิม ที่ถือว่าเลวร้ายมาก แต่ทว่า
ยังดีขึ้นไม่เพียงพอ แถมยังแข็งไปอีกต่างหาก ถ้ามีฟองน้ำที่นุ่มกว่านี้ จะช่วยลด
เสียงบ่นของผู้โดยสารลงได้มากกว่านี้
เข็มขัดนิรภัย แม้จะเป็นแบบ ELR 3 จุด พร้อมระบบผ่อนแรงปะทะ และดึงกลับแบบ
อัตโนมัติ Pre-tensioner & Load Limiter แต่ กลับไม่สามารถปรับระดับสูง – ต่ำ
ได้ ไม่แน่ใจว่า นี่เป็นคำแนะนำจาก วิศวกร BMW ที่ Proton ดึงมาร่วมทีมด้วยหรือไม่
แต่ขอบอกว่า แม้จะเป็นไอเดียที่ถูกต้อง ว่า ผู้ขับขี่ ควรปรับตัวเองบนเบาะในระดับที่
เหมาะสม ไม่ใช่ให้เขมขัดนิรภัยปรับตาม แต่ในความเป็นจริง คนเอเซีย ไม่มองเรื่องนี้
และคุณจำเป็นต้องปรับตำแหน่งเข็มขัดนิรภัยให้สูงต่ำได้ เพราะสรีระของชาวเอเซียนั้น
แตกต่างหลากหลายมากมายกว่าชาวยุโรปเหลือเกิน
การเข้า – ออก จากบานประตูคู่หลัง ทำได้ดี เพียงแต่อาจต้องก้มศีรษะเพิ่มจากที่เคยทำ
กับรถยนต์รุ่นอื่นๆ อีกนิดหน่อย มิเช่นนั้น ศีรษะของคุณ จะโขกกับขอบหลังคาได้
ส่วนการลุกออกจากรถ ทำได้สบายๆ ไม่ลำบากยากเข็น แถม ขาก็ยังไม่แกว่งไปโดน
พลาสติกบริเวณฐานของเสาหลังคากลาง B-Pillar อีกด้วย
แผงประตูด้านข้าง วางแขนได้สบายพอดีๆ แต่กระจกหน้าต่างไฟฟ้า เลื่อนลงได้ไม่สุด
ด้านหลังของกล่องคอนโซลกลาง จะพบว่า มีช่องเสียบจ่ายไฟ ให้กับ โทรศัพท์ หรือ
คอมพิวเตอร์ Notebook จนถึงเครื่องเล่นเกมต่างๆ เพิ่มจากบริเวณด้านหน้า
เบาะหลัง มีพนักพิงศีรษะที่แข็งพอสมควรมาให้ทั้งฝั่งซ้ายและขวา แต่ไม่มีสำหรับ
ผู้โดยสารตรงกลาง ทั้งที่เข็มขัดนิรภัยทั้งซ้าย กลาง และขวา เป็นแบบ ELR 3 จุด
ทุกตำแหน่ง พนักพิงแม้จะเป็นฟองน้ำ แต่ค่อนข้างแข็ง จนชวนให้นึกถึงเบาะ
ของ Chevrolet Aveo รุ่นเดิม แข็งได้ใกล้เคียงกันเลย ขณะที่เบาะรองนั่ง จะนุ่ม
กว่ากันชัดเจน แต่ความยาวยังไม่พอ สั้นไปนิดนึง กระนั้น ยังถือว่า พอรองรับ
สรีระของคนทั่วๆไปได้ นั่งทางไกล พอได้ ยังไม่เลวร้ายเท่ากับเบาะรองนั่งสั้นๆ
ของรถยนต์อีกหลายๆคันที่เราเคยเจอมา
ที่ต้องขอชมคือ พื้นที่วางขา สำหรับผู้โดยสารตอนหลังนั้น ยาวใหญ่กว่าที่คิด และ
แน่นอนว่า หัวเข่าของคุณจะไม่มีทางติดกับช่องใส่หนังสือด้านหลังเบาะคู่หน้า
แน่ๆ ถ้าคนขับ ไม่ปรับเบาะถอยหลังจนสุดรางเลื่อน แถมยังมีจุดยึดเบาะนิรภัย
สำหรับเด็ก มาตรฐาน ISOFIX มาให้ทั้งฝั่งซ้ายและขวาของพนักพิงเบาะ ตาม
มาตรฐานของยุโรปเลยทีเดียว
พนักวางแขน พับเก็บได้ตรงกลาง มีช่องวางแก้วน้ำมาให้ 2 ตำแหน่ง ใช้วางแขนได้
จริง ระดับความสูงเหมาะสมมาก ตำแหน่งเดียวกับพื้นที่วางแขนบนแผงประตูหลัง
ทั้ง 2 ฝั่งพอดีเป๊ะ พื้นที่เหนือศีรษะ สำหรับคันตัวสูง 171 เซ็นติเมตร อย่างผม ยังมี
เหลืออีก 3 นิ้วมือ สอดแทรกลางในแนวนอน ระหว่างศีรษะของผม กับเพดานรถ
เพดานหลังคา เป็นอีกจุดที่ต้องขอกล่าวถึงนิดนึง เพราะ เมื่อกดลงไปปุ๊บ ก็เจอกับ
คานเหล็กและแผ่นเหล็กหลังคากันอย่างไม่ทันตั้งตัว…ยังไม่อยากนึกเลยว่า ถ้าเจอ
ช่วงฝนตก เสียงหลังคา จะฟังแล้วกุ๊งกิ๊งอร่อยเหาะ ขนาดไหน? แต่ที่แน่ๆ งานนี้
Proton เขาแถม “ศาสดา” (มือจับยึดเหนี่ยวจิตใจในช่วงที่คนขับซิ่งเกินเหตุ) มาให้
ครบทั้ง 4 ตำแหน่งเลยทีเดียว
นอกจากนี้ เบาหลังยังสามารถแบ่งพับได้ในอัตราส่วน 60 : 40 เพื่อเพิ่มพื้นที่ห้องเก็บ
สัมภาระด้านหลัง การออกแบบมาในสไตล์เบาะรถยุโรป คือ จะต้องดึงเบาะรองนั่ง
ออกมาจากตำแหน่งล็อก แล้วยกหงายขึ้นไปข้างหน้าก่อน จากนั้น ค่อยกดปุ่ม ปลด
ล็อกพนักพิงเบาะ ที่บริเวณไหล่ ด้านใน ติดกับ พนักศีรษะ ของทั้ง 2 ฝั่ง แล้วค่อย
พับเบาลงมา พร้อมกับ กดปุ่มล็อก ถอดพนักศีรษะออก จึงจะพับเบาะลงมาได้ราบ
เรียบสนิทเป็นแนวเดียวกับพื้นห้องเก็บของด้านหลัง
ข้อดีก็คือ ในกรณีที่คุณจำเป็นต้องเปลี่ยนปั้มติ๊ก (ปั้มจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงสู่เครื่องยนต์
ที่ติดตั้งอยู่ในถังน้ำมัน) คุณไม่จำเป็นต้องรื้อเบาะออกมา แค่เพียงยกเบาะรองนั่งแล้ว
หงายมันไปข้างหน้า ก็สามารถเข้าถึงบริเวณถังน้ำมันของรถ ซึ่งติดตั้งอยู่ใต้เบาะหลัง
ได้โดยง่ายดาย
ฝาประตูห้องเก็บของด้านหลัง เปิดจากก้านโยกที่พื้นรถฝั่งผู้ขับขี่ (ตำแหน่งเดียวกับ
ฝาเปิดภังน้ำมัน เหมือนรถยนต์ทั่วๆไป) หรือ ต้องไขกุญแจเปิดเอาเอง ซึ่งจริงๆแล้ว
น่าจะให้กลอนไฟฟ้า และสวิชต์สั่งปลดล็อกได้จากรีโมทกุญแจ มาให้ได้แล้ว
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากให้คู่แข่งทั้งหลาย กรุณา ศึกษาดูด่วน ก็คือ การปิดฝาประตูหลัง
ที่ไม่ต้องออกแรงเยอะ แค่กดฝากระโปรงหลังลงมาเบาๆ กลอนก็งับดัง “ฉึบ” อยู่หมัด!
เห็นได้ชัดว่า งานนี้ Proton ใส่ใจในรายละเอียดใช้ได้ ไม่เว้นแม้แต่เสียงปิดฝาประตู
ห้องเก็บขงด้านหลัง ที่ผมว่า ดีกว่า Mercedes-Benz E-Class รุ่นปัจจุบัน เสียอีก!!!!
แม้จะเสียดายว่า ไม่มีช็อกอัพไฮโดรลิกค้ำยันมาให้ทั้ง 2 ฝั่ง แต่เมื่อใช้งานจริง ผมกลับ
มองว่า นั่นไม่จำเป็นสำหรับ Preve เลย!
ห้องเก็บสัมภาระด้านหลัง มีขนาดใหญ่ถึง 506 ลิตร ใหญ่กว่า Toyota Corolla Altis รุ่น
ปัจจุบัน (475 ลิตร) และ Honda Civic FB 2012 (464 ลิตร) เป็นรองแค่ Volkswagen
Jetta (510 ลิตร) ซึ่งไม่มีขายในเมืองไทย ที่สำคัญ มีไฟส่องสว่างในห้องเก็บของมาให้อีกด้วย!
อย่างไรก็ตาม พื้นที่ซุ้มล้อ เบียดบังเข้ามาในห้องเก็บของด้านหลังค่อนข้างเยอะ ดังนั้น
แม้จะมีพื้นที่ใหญ่โต แต่การจัดวางสัมภาระก็ต้องใช้ความคิดกันอยู่ไม่น้อย
เมื่อยกพื้นห้องเก็บของขึ้น จะพบ ยางอะไหล่ขนาด T135-70D16 สวมกับล้อกระทะเหล็ก
4T x 16 พร้อมชุดเครื่องมือประจำรถ และแม่แรงยกรถ ผมมองหาช่องเกี่ยวพื้นเก็บของกับ
ชิ้นส่วนตัวรถ แต่ก็ยังหาไม่เจอ ซึ่งอาจไม่ค่อยสะดวก สำหรับการยกยางอะไหล่ออกมาใน
ช่วงเวลาจำเป็น จะว่าไป รถเก๋งประกอบในบ้านเราส่วนใหญ่ ก็มักละเลยเรื่องนี้กันอยู่แล้ว
แผงหน้าปัดนั้น ออกแบบมาให้เน้นการใช้งานง่ายๆเป็นหลัก แต่ยอมรับเลยว่า มันดูย้อนยุค
ไปถึงรถยนต์นั่งในยุคปี 2000 ชวนให้แอบนึกถึงแผงหน้าปัดของ Chevrolet Optra อยุ่ไม่น้อย
ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ในภาพสเก็ตช์ตอนแรก เห็นได้ชัดว่า ทีมออกแบบของ Proton ตั้งใจจะ
างตำแหน่งชุดเครื่องเสียงไว้ด้านบน โดยย้ายช่องแอร์ ไปวางขนาบชุดเครื่องเสียงทั้ง 2 ฝั่ง แต่
ด้วยเหตุผลกลใดก็ไม่อาจทราบได้ ท้ายที่สุด ในรุ่นผลิตขายจริง ชุดเครื่องเสียงต้องลดระดับ
ลงมาอยู่ใต้ช่องแอร์กันอย่างที่เห็น
วัสดุของแผงหน้าปัด ครึ่งท่อนบนนั้น ทำได้ดีเทียบเท่าหรือดีกว่ารถยุโรปบางคันด้วยซ้ำ
ด้านบนสุด แม้จะแข็ง แต่แอบมีฟองน้ำบุไว้ใต้วัสดุที่กัดลายแบบ Modern อย่างที่เห็น
แถมลาย Trip ประดับ ก็เป็น ลายไม้สีน้ำตาลเข้ม ดูมีระดับ หรูหรามาก เสริมด้วย ลาย
สีเงิน ขนาบข้าง ชุดเครื่องปรับอากาศ แต่พลาสติดบริเวณครึ่งท่อนล่างของแผงหน้าปัด
ยัง Look Cheap อยู่ และเป็นบริเวณที่ผู้ใช้รถจะสัมผัสถึงมากที่สุด
แผงบังแดด ด้านบน มีกระจกแต่งหน้ามาให้ทั้ง 2 ฝั่ง แต่ไม่มีไฟแต่งหน้ามาให้ ต้องอาศัย
ไฟอ่านแผนที่ ตรงกลาง ช่วยแทน มีไฟส่องสว่าง กลางเพดานหลังคาอีก 1 ตำแหน่งมาให้
ส่วนกระจกมองหลัง เป็นแบบ ตัดแสงด้วยระบบอัตโนมือของคนขับ โทนสีเพดานและ
เสาหลังคา เป็นสีสว่าง ช่วยให้ภายในรถดูโปร่งขึ้นอีกมิติหนึ่ง
จากขวา ไปซ้าย สวิชต์ กระจกหน้าต่างเลื่อนขึ้น – ลงด้วยไฟฟ้า ทั้ง 4 บาน ยกเว้นฝั่งคนขับ
ที่จะกดหรือยกสวิชต์ขึ้นแบบ AUTO One Touch เลื่อนขึ้น – ลงเพียงครั้งเดียว พร้อมระบบ
jam Protection ดีดกลับเมื่อมีสิ่งกีดขวาง
กระจกมองข้าง ปรับด้วยสวิชต์ไฟฟ้า และยังสั่งพับได้ด้วยสวิชต์ไฟฟ้า อยากให้ลองสังเกต
สัมผัสขณะกดลงไปบนปุ่มพับกระจกมองข้างครับ คุณจะพบว่า มัน Smooth มาก ระดับที่
รถยุโรปบางค่าย ยังทำไม่ได้ขนาดนี้! ต้องค่อยๆ กดลงไปครับ จึงจะพบความแตกต่าง!
การติดเครื่องยนต์ ต้องเสียบรีโมทกุญแจเข้าไปในช่องด้านข้างก่อน แล้วค่อยกดปุ่มติดเครื่อง
แบบเดียวกับยุคของ Volvo S80 ใหม่ ล็อตแรกๆ ซึ่งถือเป็นวิธีแก้ปัญหาการลืมคืนกุญแรถ
ของผม กับ PR ค่ายรถต่างๆ ได้อย่างดีมาก!
แต่ใต้สวิชต์ติดเครื่องยนต์ลงมา เป็นช่องเก็บของขนาดยักษ์ พอจะใส่ขวดน้ำได้ ปัญหาคือ
เมื่อดึงออกมา คุณจะพบว่า มัน”คลอน และร่วงผล็อยลงมา” ติดตั้งมาไม่ดี โยกไปมา อย่าง
น่ากลัวว่ามันจะหลุดติดมือผมขึ้นมาเลยเนี่ยสิ! ปรับปรุงด่วนครับข้อนี้!
ก้านสวิชต์บนคอพวงมาลัยนั้น ฝั่งขวา จะเป็นชุดใบปัดน้ำฝน พร้อมระบบปัดอัตโนมัติ และมี
Rain Sensor อยู่เหนือกระจกมองหลังตรงกลาง พร้อมปุ่มกดหน้าจอ SID ซึ่งจะพูดถึงใน
ย่อหน้าถัดไป ก้านสวิชต์ฝั่งซ้าย จะเป็นชุดไฟหน้าแบบเปิดอัตโนมัติจากเซนเซอร์ (ไฟหน้า
Auto) ส่วนไฟเลี้ยวและไฟสูง ทำตัวเหมือน ก้านสวิชต์ของ Mitsubishi Motors ไม่มีผิด
ไม่สามารถกระดิกเพื่อกระพริบไฟสูงได้ ต้อง ดึงกลับให้ก้านสวิชต์ถอยกลับมาเอง การใช้งาน
แบบนี้ ทำให้ผู้ร่วมสัญจรเข้าใจผิดได้ว่า คุณเปิดไฟสูงแช่ยาวเพื่อด่าพวกเขา อันเป็นเหตุให้
ผู้ขับขี่ โดนลูกปืนยิงสวนมาได้โดยไม่คาดฝัน ข้อนี้ ปรับปรุงหน่อยก็ดีนะครับ ส่วนสวิชต์ของ
ไฟตัดหมอกหน้าและหลัง ย้ายไปไว้ด้านข้าง สวิชต์ไฟฉุกเฉิน Hazzard Light ใต้ชุด
เครื่องเสียง
พวงมาลัย 3 ก้าน หุ้มด้วยยูรีเทน ปรับระดับสูง -ต่ำได้ แต่ปรับระยะใกล้ – ห่าง Telescopic
ไม่ได้ มีแป้นแตรที่ดูแล้ว Look Cheap เหมือนเช่น Proton รุ่นก่อนๆ มีสวิชต์ควบคุมชุด
เครื่องเสียง บนก้านพวงมาลัยทั้ง 2 ฝั่ง ส่วนสวิชต์ระบบควบคุมความเร็วคงที่ Cruise
Control ติดตั้งมาให้เป็นก้านเล็กๆ ด้านข้างพวงมาลัยฝั่งขวา เหมือนของ Toyota ทั่วไป
ชุดมาตรวัดเป็นแบบ Analog 2 วงกลม กรอบสีขาว พื้นสีดำ ตัวเลขสีขาว และแดง ซึ่งใช้
Font ตัวอักษรที่เล็กและตีบแบน อ่านค่อนข้างยากในยามค่ำคืน ต้องละสายตาจากพื้นถนน
เพื่อมองความเร็ว และรอบเครื่องยนต์ นานกว่าที่ควรเป็นไปสักหน่อย
ช่องตรงกลางเป็นจอ Smart Information Display system (SID) กเรืองแสงสีแดงเข้มๆ เพื่อ
แสดงข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉลี่ย และแบบ Real Time (Instant) ปริมาณไฟใน
แบตเตอรี่ แสดงระยะทางที่น้ำมัน 1 ถังยังแล่นต่อไปได้ แสดงตำแหน่งเกียร์ นาฬิกา ปรอท
วัดอุณหภูมิภายนอก แสดงไฟเตือนลืมคาดเข็มขัดนิรภัย ลืมเปิดประตูรถทิ้งไว้ เตือนให้
เหยียบเบรกก่อนกดปุ่มติดเครื่องยนต์
ส่วนการปรับความสว่างของมาตรวัด ให้กดปุ่มที่หัวก้านสวิชต์ใบปัดน้ำฝน (ฝั่งขวาของคอ
พวงมาลัย)
เครื่องปรับอากาศ เป็นแบบอัตโนมัติ ข้อดีคือ เย็นฉ่ำสบาย รวดเร็วทันใจ จนแทบจะบอกว่า
Preve หนาวมาก! แต่ก็มีข้อให้ต้องปรับปรุง นั่นคือ การออกแบบสวิชต์ของมัน ที่ควรดูดีกว่านี้
เรียบร้อย ไฮโซกว่านี้ เพราะพลาสติกบริเวณสวิชต์เครื่องปรับอากาศ มีพื้นผิวดูราวกับว่า เพิ่ง
โดน อาม่า เผลอทำยาล้างเล็บหกใส่! (สำนวนเจ้าต๊อบ Philozophy ใน The Coup Team ของเรา
เขา Comment ไว้ซะฮาส้วมแตกเลยทีเดียว!)
ถ้าจะใส่สวิชต์แบบกดปุ่ม พร้อมหน้าจอแสดงตัวเลขแบบ Digital มาให้เลย แบบ Nissan Sylphy
ผมว่าจะช่วยให้แผงหน้าปัดของรถ ดูดียิ่งขึ้นกว่านี้ได้อีก
ช่องแอร์ตรงกลาง ถ้าคิดจะออกแบบมาให้ชวนระลึกถึง รถยนต์ Sedan ยุคปี 2000 มากขนาดนี้
ก็ควรจะแก้ไข ด้วยการ ล้อมกรอบโครเมียม แถบบางๆ รอบช่องแอร์ ทุกตำแหน่งสักหน่อย เพื่อ
ให้ดูหรูหรา และสอดคล้องกับลายไม้สีน้ำตาลเข้มที่ดูดีมีระดับมากๆ กว่าที่เป็นอยู่
ชุดเครื่องเสียงเป็นของ BLAUPUNKT จากเยอรมัน เป็นวิทยุ AM/FM พร้อมเครื่องเล่นแผ่น
CD/MP3 1 แผ่น ปรับ Equalizer ได้เมามัน มีระบบนำทางผ่านดาวเทียม Navigation System
แสดงผลบนหน้าจอมอนิเตอร์สี แบบสัมผัส Touch Screen มาให้ ที่เด็ดก็คือ มีช่องเสียบ USB
ให้ถึง 2 จุด คือที่ตัวเครื่อง และที่คอนโซลกลาง ใกล้กับช่องเสียบปลั๊กไฟ ต่อเชื่อมกับอุปกรณ์
Gadget ต่างๆ มีลำโพงมาให้ 4 ชิ้นทุกรุ่นย่อย พร้อมเชื่อมต่อกับ Bluetooth ได้อีกด้วย!
คุณภาพเสียง จัดอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี ไม่เลวร้าย ฟังได้ดี โดยเฉพาะ เพลงแนว Jazz หรือ
Bossa Nova ทั้งหลาย แต่ข้อที่ต้องปรับปรุง คือ Software ของตัวเครื่องที่ทำงานช้ามากกกกก!
อืดอาดยืดยาด ผิดกับอัตราเร่งของตัวรถลิบลับ ยิ่งถ้าจะเรียกระบบนำทาง ขึ้นมาดูแผนที่ ยิ่ง
ต้องทำใจ รอไปเลยสิ กว่าจะเรียกขึ้นมาได้ หลับไปตื่นนึง พึ่งจะแสดงหน้าจอเสร็จ! แถม
ถ้าเล่นเพลงจาก iPod หรือ iPhone อยู่ แล้วเรียกระบบนำทางขึ้นมา พี่แก “เอ๋อ” ครับ! ทะลึ่ง
ตัดเสียงเพลงจาก เครื่องเล่น iPhone ทิ้วงกันดื้อๆ Mute หายไปเลยซะงั้น!
สรุป ไปเปลี่ยน Software ประมวลผลในชุดเครื่องเสียงมาใหม่เถอะ! มิเช่นนั้น ผมว่า ไม่ต้อง
ไปช้งไปใช้มันหรอก ระบบนำทาง แค่ฟังเพลงจากเครื่องเสียง BLAUPUNKT อย่างเดียวก็
รื่นรมณ์เพียงพอแล้ว
ด้านข้างผู้ขับขี่และผู้โดยสารตอนหน้า มีช่องใส่แก้วน้ำ 2 ตำแหน่ง และกล่องเก็บของ พร้อม
ฝาปิด ที่บุผ้าแบบเดียวกับผ้าหุ้มเบาะ เพื่อเป็นพื้นที่วางแขนในตัว ใช้งานได้จริง วางแขนได้
สบายพอดีๆ ในตำแหน่งที่ถูกต้องและเหมาะสม ส่วนขนาดของกล่องเก็บของนั้น จุกล่อง
CD ได้เยอะอยู่ แอบซ่อนข้าวของได้ดี แถมยังมีช่องใส่เหรียญมาให้ ซึ่งต้องขอแนะนำว่า
ควรจะบีบเศษเหรียญแน่นๆ แล้วค่อยยัดใส่ไปทีเดียว จะได้ไม่ก่อเกิดเสียงกรุ๊งกริ๊งชวนให้
หงุดหงิดใจระหว่างเดินทาง
ทัศนิวิสัยด้านหน้า ถือว่า ปลอดโปร่งพอประมาณ สำหรับคนที่มีปัญหาในการกะระยะ แล้ว
การออกแบบตำแหน่งเบาะนั่งให้สูง กว่ารถยนต์ทั่วไป ช่วยให้ผู้ขับขี่ มองเห็นฝากระโปรง
ด้านหน้าได้ดีขึ้น แต่สำหรับผม ซึ่งปรับเบาะนั่งให้เตี้ยสุดอยู่ตลอดเวลา พบว่า พื้นที่ของ
กระจกบังลมหน้า เมื่อมองจากมุมผู้ขับขี่ ไม่สูงมาก และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของรถยนต์
ยุคใหม่ทั่วไป
เสาหลังคาคู่หน้า A-Pillar ฝั่งขวา มีความหนา พอกับรถยุโรป ดังนั้น การเลี้ยวเข้าโค้งขวา
บนถนนแบบสวนกันเลนเดียว อาจพบการบดบังรถที่แล่นสวนทางมาในโค้งได้ ต้องใช้
ความระมัดระวังอยู่บ้างเหมือนกันในบางจังหวะ
กระจกมองข้าง มีขนาดกำลังดี แต่พื้นที่ด้านริมนอกสุด ถูกกรอบพลาสติกบังพื้นที่เข้ามา
เล็กน้อย การเปลี่ยนเลนทางขวา ของรถคันนี้ ขอแนะนำว่า หันเหลือบไปมองรถคันที่
แล่นขนาบข้างมาจากด้านหลังด้วยอีกทาง จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้นกว่าปกติ
เสาหลังคาคู่หน้า A-Pillar ฝั่งซ้าย มีขนาดหนา เท่ากันกับฝั่งขวา ดังนั้น การบดบังรถที่
แล่นสวนทางมา ขณะเลี้ยวกลับรถ จึงม่ีอยู่บ้างในบางจังหวะ แต่ไม่ได้เป็นในทุกจุดที่
จะต้องเลี้ยวกลับแต่อย่างใด กระจกมองข้างฝั่งซ้าย ก็มีปัญหาแบบเดียวกับฝั่งขวา คือ
กรอบกระจกด้านนอก เบียดบังพื้นที่กระจกมองข้างเข้ามานิดหน่อย ทำให้มองเห็น
รถคันที่แล่นมาด้านหลังฝั่งซ้ายได้ไม่ชัดเจนนัก แต่ถือว่า ทำได้ในระดับมาตรฐาน
ส่วนเสาหลังคาคู่หลัง C-Pillar ฝั่งซ้ายของตัวรถ บดบังรถมอเตอร์ไซค์ที่แล่นสวนทางมา
ในระดับที่ พอกันกับ Mazda 3 รุ่น Sedan เพียงแต่ พื้นที่กระจกดูจะโปร่งกว่ากันนิดนึง
เมื่อมองด้วยตาเปล่า การถอยหลังเข้าจอด อาจต้องเพิ่มความระมัดระวังขึ้นด้วย อย่าคิด
พึ่งพาแค่เพียงเซนเซอร์กะระยะ ที่ติดตั้งอยู่บนเปลือกกันชนหลัง มาจากผู้จำหน่าย
ซึ่งจะทำงานทุกครั้งที่เข้าเกียร์ R ถอยหลัง เพียงอย่างเดียว
********** รายละเอียดทางวิศวกรรม และการทดลองขับ **********
ขุมพลังที่อยู่ใต้ฝากระโปรงหน้าของ Preve 1.6 CFE Turbo เป็นเครื่องยนต์ CamPro CFE
(ย่อมาจาก Charged Fuel Efficiency หรือเน้นการเพิ่มความประหยัดน้ำมันเป็นหลักนั่นเอง)
รหัส S4P-CFE แบบ 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,561 ซีซี กระบอกสูบ x ช่วงชัก 76.0 x 86.0
มิลลิเมตร กำลังอัด 8.9 : 1 จ่ายเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีดอีเล็กโทรนิกส์ ดูหน้าตาเหมือนเครื่องยนต์
ธรรมดาๆ บ้านๆ แต่ความจริงแล้ว เทคโนโลยีที่ซ่อนอยู่ในนั้น มันไม่ธรรมดาอย่างที่คิด!
อันที่จริง มันเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้พื้นฐานมาจาก รุ่น S4P เดิม แต่ชิ้นส่วนในเครื่องยนต์นั้น ถูก
ปรับปรุงขึ้นใหม่กว่า 90% ด้วยฝีมือของ ทีมวิศวกรกว่า 30 คนของทั้ง Lotus และ Proton
โดยในช่วงแรก Lotus Technical Centre นอกเมือง Norwich สหราชอาณาจักร เป็น
หัวหน้าโครงการทั้งหมด ก่อนจะมีการโอนย้ายมาอยู่ในการดูแลของ ศูนย์ Proton Technical
Center ที่เมือง Shah Alam ในมาเลเซีย การทำงานร่วมกัน อยู่บนพื้นฐานการประชุมผ่าน
เครือข่าย Web Conferencing ข้ามทวีป ซึ่งมีการร่วมงานและถ่ายทอด เทคโนโลยีใหม่ๆ
ในการผลิตเคริ่องยนต์ลูกนี้กับทั้ง ผู้ผลิตชิ้นส่วน ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ทั้งแผนก Supplier
Quality Assurance (SQA) และ Advanced product quality Planing (APQP)
อีกด้วย เพียง 7 เดือน หลังจากเริ่มโครงการ เครื่องยนต์ต้นแบบ ก็พร้อมส่งเข้าไปทดสอบ
บนแท่น Dynamometer มีทั้งที่ Lotus UK และที่ Proton ในมาเลเซีย นอกจากนี้
ยังมีการทดสอบทั้งในสภาพอากาศหนาวสุดขั้ว ที่ Sweden รวมทั้ง อากาศร้อนสุดติ่ง ใน
Spain และ Malaysia อีกต่างหาก! ส่วนโรงงานผลิตเครื่องยนต์นี้ อยู่ที่ Shah Alam
การปรับปรุงเครื่องยนต์บล็อกเดิม ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั้น มีตั้งแต่การลดช่วงชักลง
จาก 88 มิลลิเมตร เหลือ 86 มิลลิเมตร ทำให้ความจุกระบอกสูบ ลดลงจาก 1,597 ซีซี เหลือ
1,561 ซีซี ลดกำลังอัดลง จาก 10.0 : 1 เหลือ 8.9 : 1 ลดความสูงของเสื้อสูบแบบ Iron Cast
(เหล็กหล่อ) อีกทั้งยังมีการออกแบบทางเดินของน้ำหล่อเย็นใหม่ รวมทั้งใช้ปั้มน้ำมันเครื่อง
และปั้มน้ำหล่อเย็นที่ปรับปรุงใหม่ เพื่อช่วยระบายความร้อนของเครื่องยนต์ให้ดีขึ้น ปรับ
ตำแหน่งของแคมชาฟท์ (เพลาราวลิ้น ควบคุมการเปิด-ปิด ของวาล์ว ทั้งฝั่งไอดี และไอเสีย)
กันใหม่ ปรับปรุงฝาสูบใหม่ ให้ทนทาน และรองรับแรงดันของ Turbo ได้ มีระบบแปรผัน
วาล์ว VVT (Varialble Valve Timing) ก้านสูบ และลูกสูบ เปลี่ยนมาใช้เหล็กที่เหนียว และ
ทนทานเป็นพิเศษ เพลาข้อเหวี่ยงออกแบบขึ้นใหม่ให้ ทนต่อการหมุนของเครื่องยนต์ใน
ช่วงรอบสูงๆ ได้ดียิ่งขึ้น
รวมทั้งมีการใช้ Software ควบคุมเครื่องยนต์แบบใหม่ ที่ชื่อ Torque based engine
management system (EMS) เพื่อให้การทำงานร่วมกับทั้งระบบเกียร์ CVT และระบบ
ควบคุมเสถียรภาพ ESP เป็นไปอย่างราบอื่นมากขึ้น โดยผู้ผลิตทั้งกล่องสมองกลของ
เครื่องยนต์ ECU (Engine Control Unit) และ โปรแกรม EMS นั้น คือ Continental SA
ที่สำคัญก็คือ เพิมระบบอัดอากาศ เป็น Turbocharger ของ Borg Warner รุ่น KP39 ซึ่งถูก
ออกแบบมาให้เน้นแรงบิดรอบต่ำ และลดอากาศรอรอบเครื่องยนต์ที่ Turbo จะเริ่มทำงาน
(หรืออากาศ Turbo Lag) ให้เหลือน้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้ มี Waste Gate ไฟฟ้า ชุดควบคุม
Boost ของ Turbo แบบไฟฟ้า หล่อลื่นแกน Turbo ด้วยน้ำมันเครื่อง ผ่ายบุชทองเหลือง มี
ปั้มน้ำหมุนเวียนทำงานด้วยไฟฟ้า ทันทีที่ดับเครื่องยนต์ ปั้มตัวนี้จะทำงานต่อเนื่องไปอีก
6 นาที เพื่อระบายความร้อยของแกน Turbo ทำให้คุณไม่จำเป็นต้องติดตั้ง Turbo Timer
เพื่อชะลอการดับเครื่องยนต์ออกไป โดยไม่จำเป็น ปรับตั้งแรงดัน Boost ของ Turbo ไว้ที่
0.8 – 1.1 Bar ความเร็วรอบการทำงานสูงสุด 220,000 รอบ/นาที! ถือว่าเป็น Light-Turbo ที่
ทำงานได้ประสิทธิภาพสงสุดลูกหนึ่ง
ไม่เพียงเท่านั้น เครื่องยนต์ S4P-CFE นี้ ยังต้องรองรับการใช้น้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน
88 RON ได้ แม้ในสภาพอากาศร้อนระอุ โดยต้องไม่มีปัญหาในการทำงานระยะยาวด้วย
เช่นเดียวกันที่ เวอร์ชันไทย จะต้องออกแบบให้รองรับการใช้น้ำมันเบนซิน Gasohol 95
ได้ถึงระดับ E20 (ปริมาณ เอทานอล ไม่เดิน 20% จากเนื้อน้ำมันทั้งหมด)
ทั้งหมดนี้ ช่วยให้ เครื่องยนต์ CamPro CFE Light Turbo มีกำลังสูงสุด 138 แรงม้า (PS) ที่
5,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 205 นิวตันเมตร (20.88 กก.-ม.) ที่รอบเครื่องยนต์ระหว่าง
2,000 – 4,000 รอบ/นาที แรงบิดที่ได้ มาในแบบ Flat Torque คือ แรงบิดสูงสุดจะมาพบคุณ
ตั้งแต่เข็มวัดรอบ ชี้ไปที่เลข 2 แล้วต่อเนื่องไปจนถึง เลข 4 ก่อนจะเริ่มค่อยๆเหี่ยวปลาย
สุดที่ระดับ 5,500 รอบ/นาที เหยียบคันเร่งยังไง รอบเครื่องยนต์ ก็จะไม่กวาดขึ้นไปถึง
6,000 รอบ/นาที หรือเลข 6 บนมาตรวัดรอบแน่ๆ
เครื่องยนต์ลูกนี้ ถูกนำมาติดตั้งครั้งแรกใน Proton Exora Bold (หรือที่มีขายในบ้านเรา
โดยใช้ชื่อ Proton Exora Turbo) เปิดตัวในเมืองไทย เมื่อปี 2011 ที่ผ่านมานี่เอง
เครื่องยนต์ CamPro CFE จะส่งกำลังสู่ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า ด้วยเกียร์อัตโนมัติแบบ
อัตราทดแปรผัน CVT 7 จังหวะ ProTronic พร้อมโหมด + / – ที่คันเกียร์ และแป้นเปลี่ยน
เกียร์ Paddle Shift ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านหลังของพวงมาลัย
น้ำมันเกียร์ CVT ตามสเป็กระบุว่า ใช้ของ ESSO EZL 799 (A) ประมาณ 4.1 – 4.3 ลิตร
ส่วนน้ำมันชุดคลัชต์ ใช้ร่วมกับน้ำมันเบรกได้ ทั้งแบบ DOT3 และ DOT4 อัตราทดเกียร์
เมื่อแบ่งย่อยตามตำแหน่งล็อกอัตราทด (โหมด บวก/ลบ) บนพูเลย์แล้ว มีดังนี
เกียร์ 1 ………………………..2.41
เกียร์ 2 ………………………..1.56
เกียร์ 3 ………………………..1.07
เกียร์ 4 ………………………..0.81
เกียร์ 5 ………………………..0.64
เกียร์ 6 ………………………..0.54
เกียร์ 6 ………………………..0.45
เกียร์ถอยหลัง …………………2.68
อัตราทดเฟืองท้าย …………..5.76
แป้น Paddle Shift แม้จะมีการใช้งานที่เหมือนๆกับของ Honda City กับ Civic แต่พลาสติก
ที่ขึ้นรูปนั้น ดูป๋องแป๋งมาก ถ้าออกแบบให้ดีๆ และไม่ดู Look Cheap อย่างนี้ จะช่วยเพิ่ม
มูลค่าของรถในสายตาลูกค้าขึ้นได้อีก
แจ้งไว้ให้ทราบเพิ่มเติมเป็นข้อมูล (เผื่อใครจะซ่อมบำรุงเองในอนาคต) ว่าชิ้นส่วนอะไหล่ที่ใช้
ของ BOSCH ได้แก่ TMAP Sensor , CAM Sensor , หัวฉีด ระบบเบรก ABS + EBD
พร้อม Sensor ,สมองกล ECU และเซ็นเซอร์ ของถุงลมนิรภัย ,พัดลมหมอน้ำปั้มน้ำ และ
สายพานของเกียร์ CVT
นอกนั้น หัวเทียน ใช้ของ NGK แบบ Iridium เบอร์ ILKAR7G7 แบ็ตเตอรี มีขนาด 12 V 48 Ah.
แบบ 55D23L Maintenance Free ส่วน Alternator มีขนาด 12 V 90 A. ส่วนมอเตอร์สตาร์ต
เป็นแบบ 12 V 1.2 กิโลวัตต์ น้ำมันเครื่อง เกรด SAE 10W 30 เกรด API SL ขึ้นไป ประมาณ
3.75 ลิตร (ไม่รวมอีก 0.5 ลิตร ในไส้กรองน้ำมันเครื่อง) สรุปว่า ใช้ทั้งหมด 4 ลิตร
ดูจากข้อมูลทางวิศวกรรมแล้ว คราวนี้ Proton จัดเต็มกว่าเดิมมากๆ จนผมสงสัยว่า สมรรถนะ
จะดีขึ้นกว่าเดิมแค่ไหน เรายังคงทดลองจับเวลาหาอัตราเร่งในช่วงเวลากลางคืน เปิดแอร์
นั่ง 2 คน เปิดไฟหน้า และผลลัพธ์ที่ได้ เมื่อเทียบกับรถยนต์ C-Segment Compact
Class คันอื่นๆ มีดังนี้
เป็นไงครับ..เห็นตัวเลขแล้ว เหวอไปเลยไหมครับ?
แม้แต่ผมเองก็นึกไม่ถึงว่า เพียงแค่การเปลี่ยนไส้ในเครื่องยนต์ใหม่ แถมยังติดตั้ง Turbo
จากโรงงาน ให้กับเครื่องยนต์ธรรมดาๆ หน้าตาบ้านๆ จะทำให้ Preve 1./6 CFE Turbo
ทำอัตราเร่ง 0 – 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ได้ดีที่สุด จะด้อยกว่าก็แค่เพียง Toyota Corolla Altis
2.0 CVT (9.56 วินาที) เท่านั้น ที่เหลือ ถูกทิ้งหายไปในกระจกมองหลัง
ไม่ใช่แค่อัตราเร่งจากจุดหยุดนิ่งเพียงอย่างเดียว ทว่า อัตราเร่งแซง 80 – 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง
คราวนี้ทำได้ดีที่สุดในตลาด และถือเป็นครั้งแรกในเมืองไทย ที่รถเก๋งเครื่องยนต์ แค่เพียงบล็อก
1,600 ซีซี จะทำตัวเลขอัตราเร่งแซง ได้ต่ำกว่า 7 วินาทีลงมา แทบไม่เหลืออะไรให้ผมพูดต่อ
นอกจากนั่งดูภาพตารางนี้กันเอาเอง
เพราะผมแทบไม่เชื่อกับตาตัวเองว่า เนี่ยแหละ Proton …เฮ้ย! ไม่อยากเชื่อเลยจริงๆ!
เป็นไปได้ และเป็นไปแล้วด้วยเถอะ!
ในการขับขี่จริง อัตราเร่ง ช่วงออกตัว ยังต้องรอรอบการทำงานของ Turbo อยู่บ้าง ในช่วง
1,000 – 2,000 รอบ/นาที ยังไม่มีอะไรให้ตื่นเต้น จนกว่าเขมวัดรอบเครื่องยนต์จะกวาดขึ้น
ผ่านหลัก 2,000 รอบ/นาที ขึ้นไป จึงจะเริ่มพบว่า ตัวรถ พุ่งทะยานไปข้างหน้า อย่างนุ่มๆ
ลื่นๆ แรงดึงที่เกิดขึ้น ดึงพอให้รู้ว่ารถกำลังพุ่งออกไป แต่ไม่ได้ดึงแบบกระชากลากฉุด
แค่ดึงแบบสุภาพๆ เหมือน ผู้บริหารไฟแรง แนวสุขุมนุ่มลึก กำลังเริ่มจะฉะใครบ้างคน
กลางที่ประชุมอย่างผู้ดี ค่อยๆขึ้นเสียงตำหนิลูกน้อง แต่ไม่ได้เกรี้ยวกราดผรุสวาท จน
สัตว์ทั้งเขาดินเพ่นพ่านเต็มห้องประชุม….
ด้วยการพัฒนาให้เครื่องยนต์ มีแรงบิดสูงสุดไหลมาอย่างต่อเนื่องเท่าเทียมกันเป็นแบบ
Flat Torque ตั้งแต่ระดับ 2,000 – 4,500 รอบ/นาที ช่วยเพิ่มอรรถรสในระหว่างเดินทาง
ได้อย่างน่าพิศมัย รื่นเริงบันเทิงใจเป็นอย่างดี ใครมาขับรถจี้ตูด ผมก็แค่ยิ้มๆ คิดในใจ
ว่า “เดี๋ยวรู้จัก Proton”…แล้วก็เหยียบคันเร่งส่งลงไป สัก 70% ของระยะเหยียบทั้งหมด
ปล่อยให้ Turbo ของ Borg Warner ทำงานปั่นจี๋ ส่งเสียงดังวี๊ดดดดด เป็นคลื่นความถี่
เสียงแหลม ลอดเข้ามาในห้องโดยสาร พา Preve พุ่งทะยาน ไปข้างหน้า แซงผ่าน
บรรดารถเก๋ง ECO Car มือใหม่ ที่ชอบขับช้าวิ่งขวา รวมทั้งบรรดา Taxi Meter กับ
Taxi สนามบินบ้าพลัง รวมทั้ง Fortuner กับ Vigo จนถึง Altis 1.6 และ Camry 2.0 ที่
ขับรถทุเรศทุรัง จี้ตูดชาวบ้านไม่บันยะบันยัง หายลับไปในกระจกมองหลัง เพียงแค่
คุณหายใจเข้า – ออก 2 – 3 ครั้ง!!
แถมการทำงานของ แป้น Paddle Shit บวก’ลบ นั้น ค่อนข้างเร็ว และฉับไวต่อความ
ต้องการของผู้ขับขี่มาก สั่งเปลี่ยนเกียร์ปุ่ม ไม่เกิน 0.4 วินาที เปลี่ยนเกียร์ให้ทันที
ถือว่า ทำได้ดีมากเกินกว่าที่คาดคิด
คันเร่ง เซ็ตมาในแบบรถเก๋งทั่วๆไป ที่ใช้คันเร่งไฟฟ้า คือไม่ได้ไวขนาดเหยียบปุ๊บ
มาปั๊บ แบบ คันเร่งไฟฟ้าของ Toyota 86 หรือ Altis แต่ น้ำหนักคันเร่ง และระยะ
การตอบสนอง พอกันกับคันเร่งของ Honda City 2008 คันที่บ้านผมตอนนี้เลย
คืออาจต้องเหยียบลึกอีกนิดนึง แต่ไม่มากนัก รถก็พร้อมจะเรียกอัตราเร่งมาให้
ทันท่วงที
การเก็บเสียง ทำได้ดีกว่าที่คิด แม้กระทั่งช่วงความเร็วสูงสุด 210 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ผมแทบไม่ต้องเพิ่มเสียงพูดคุยไปจากเดิมมากนัก เว้นแต่เจอสภาพถนนที่ขรุขระ
หรือพื้นซีเมนต์เสียหายมากกว่าปกติ นั่นก็อีกเรื่อง แต่ยังถือว่า เบากว่ารถญี่ปุ่น
รุ่นใหม่ ป้ายแดงอยู่หลายคัน
ระบบบังคับเลี้ยว เป็นพวงมาลัย แร็คแอนด์พีเนียน พร้อมเพาเวอร์ผ่อนแรง แบบไฮโดรลิก
รัศมีวงเลี้ยว 5.3 เมตร ระยะฟรีปรับตั้งมาที่ 30 มิลลิเมตร น้ำมันเฟืองพวงมาลัย ให้ใช้ ATF
DEXRON หรือ DEXRON II ขนาด 0.8 ลิตร
พวงมาลัยหนืด และหนักค่อนข้างมากในความเร็วต่ำ หรือขณะขับคลานๆ แม้จะไม่หนัก
เท่ากับ Proton รุ่นก่อนๆ แต่ก็ยังถือว่า หนืดและหนักพอกันกับ Chevrolet Optra เลยทีเดียว
อย่าว่าแต่คุณสุภาพสตรีเลย เพราะงานนี้คุณสุภาพบุรุษ ทั้งหลาย ก็อาจต้องออกแรงหมุน
พวงมาลัยเยอะขึ้นนิดนึงหากต้องถอยรถเข้าจอด หรือเลี้ยวกลับรถ แถมในจังหวะ เลี้ยว
และคืนพวงมาลัยเร็วๆ ยังได้ยินเสียงกระทบกันดัง “แต๊ก” จากชุดก้านไฟเลี้ยวด้วย เสียงนี้
ยิ่งได้ยินชัดเจน ถ้าคุณจะเปิดไฟเลี้ยว พอหมุนพวงมาลัยคืนกลับมาในตำแหน่งล้อตรงอย่าง
รวดเร็วๆ เสียง”แต๊ก” จะดังชัดเจน ราวกับทำให้ผู้ขับขี่รู้สึกได้ถึงการประกอบชิ้นส่วนข้างใน
ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งยังไม่น่าจะเรียบร้อย
แต่ในช่วงความเร็วสูง พวงมาลัยกลับตอบสนองเบาขึ้นอย่างชัดเจน แถมยังไวขึ้นอีกด้วย
แม้จะนิ่ง และมั่นใจได้ในย่านความเรวสูง กระนั้น ถ้าต้องเลี้ยวเข้าโค้ง พวงมาลัยจะไว
ไปสักหน่อย ระยะฟรี ไม่ได้เยอะอย่างที่คิด ช่วงที่หมุนพวงมาลัยเลี้ยว จาก ตั้งล้อตรง
ถึง 45 องศา จะพบอาการเบาโหวงแบบรถญี่ปุ่นสมัยก่อนอยู่มาก ก่อนที่จะเริ่มพบความ
หนืดเพิ่มขึ้น ถ้าต้องหักเลี้ยวแบบ 90 องศา ซึ่งอันที่จริงแล้ว พวงมาลัยควรจะเบาในช่วง
ความเร็วต่ำ และหนืดในช่วงความเร็วสูง ทว่า พวงมาลัยของ Preve นั้น มาในแนวทาง
กลับกัน คือหนืดหนักมั่นใจในความเร็วต่ำ แต่เบาเกือบจะโหวง ในย่านความเร็วสูง
ระบบกันสะเทือนหน้าเป็นแบบแม็คเฟอร์สันสตรัต ส่วนด้านหลังนั้น แตกต่างจาก
บรรดารถยนต์ในพิกัดเดียวกัน เพราะใช้ระบบ Multi-Link แบบรถยนต์ชั้นดีกันไปเลย
มาพร้อมเหล็กกันโคลง ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยทีมวิศวกร
ของ Lotus อีกเช่นกัน
การตอบสนอง ถือว่าซับแรงสะเทือนได้ดีมากในช่วงความเร็วต่ำ ทั้งในจังหวะคลาน
ไปตามหลุมบ่อต่างๆ หรือแม้แต่เนินลูกระนาด จะพบได้ถึงความนุ่มนวลกำลังดี แต่
ยังแอบมีอาการตึงตังเล็กๆ เล็ดรอดมานิดนึง ในบางรูปแบบของพื้นผิวถนนที่ขรุขระ
ต่อเนื่องกัน กล้าพูดเลยว่า ดีกว่ารถญี่ปุ่นหลายๆคันในเมืองไทยตอนนี้ด้วยซ้ำ!
ส่วนในย่านความเร็วสูง การทรงตัว ทำได้ดีมากๆ ตัวรถนิ่งมาก แม้จะใช้ความเร็วถึง
210 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่แทบไม่มีอาการส่ายของบั้นท้าย หรืออาการหน้ารถลอยจาก
แรงยกของกระแสลม แต่อย่างใดทั้งสิ้น ยกเว้น ช่วงที่เจอรถบรรทุกแล่นสวน อาจมี
อาการวูบเกิดขึ้นทางขวา นิดหน่อย เพราะกระแสลมที่แรง แต่ถือว่า ทำได้ดีมากๆ
เกินคาดคิด
ยิ่งในช่วงเข้าโค้ง ผมสามารถ พา Preve ซัดเข้าโค้งไปได้อย่างดี บางโค้งบนทางด่วน
เช่น โค้งขวารูปตัว U จาก ทางแยกดินแดง มุ่งหน้าย้อนเข้ามาทางโรงแรมเมอเคียว
ผมพา Preve เข้าโค้งนี้ไปด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง ได้สบายๆ แบบไม่มี
ความหวาดเสียวใดๆทั้งสิ้น! เช่นเดียวับ โค้งรูปเคียว บริเวณต่างระดับโรงเรียน
พระห”ทัยคอนแวนท์ จากนางลิ่นจี่ มุ่งหน้าไปบางนา โค้งนั้น ผมใส่เข้าโค้งซ้าย
ด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตร/ชั่วโมงสบายๆ และพารถเข้าไปอยู่ในโค้งขวาทันที
ด้วยความเร็ว 85 ก่อนจะเร่งเป็น 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง สบายๆ หรือต่อให้เป็น
สะพานทางโค้งรูปเคียว ซ้าย-ขวาจากมอเตอร์เวย์ เข้าสู่สนามบินสุวรรณภูมิ ผม
ก็พา Preve ใส่เข้าไปที่ 90 – 95 กิโลเมตร/ชั่วโมง ได้อย่างมั่นใจ ไม่ต้องกลัวว่ารถ
จะหลุดออกจากโค้งแค่อย่างใด!!
ส่วนหนึ่ง ต้องขอยกความดีให้กับยางติดรถ ยี่ห้อ GT Radial ขนาด 205/55 R16 ที่
สวมเข้ากับล้ออัลลอย 16 นิ้ว x 6.5 J ซึ่งเกาะอยู่กับพื้นถนนติดหนึบยิ่งกว่าตีนตุ๊กแก
เข้าโค้งแต่ละที ไม่มีอาการท้ายปัด เหวี่ยงแรงแค่ไหน ก็สบายๆ แถมยังให้ความนุ่มนวล
แบบยาง Comfort ดีมากๆ จนผมอยากให้ Bridgestone, Goodyear และ Michelin
รีบหาซื้อยางตัวนี้ ไปวิเคราะห์โดยด่วน เพราะนี่คือยางที่เหมากับสภาพการขับขี่ในบ้านเรา
และภูมิประเทศเขตร้อนมากที่สุดรุ่นหนึ่งเท่าที่ผมเคยเจอมา!!!!!!!!!
ระบบห้ามล้อ เป็น ดิสก์เบรกทั้ง 4 ล้อ โดยตู่หน้ามีรูระบายความร้อนมาให้ มาพร้อมทั้ง
ตัวช่วยแท็คทีมกันครบครัน ทั้ง ระบบป้องันล้อล็อก ABS (Anti-Brake Lock System)
ระบบกระจายแรงเบรกตามน้หนักรรทุด EBD (Electronic Brake Force Distribution)
ระบบเสริมแรงเบรก ในภาวะฉุกเฉิน Brake Assist ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีช่วงออกตัว TCL
Traction Control พร้อมระบบควบคุมการทรงตัว ตัดแรงบิด และเพิ่มแรงเบรกในล้อที่จำเป็น
ขณะเข้าโค้ง ESC (Electronic Stability control)
แป้นเบรก ตอบสนองได้ Linear ดี ต่อเนื่องดี เพียงแต่จังหวะถอนเท้าขุึ้นมา แป้นเบรก
มีเสียงเสียดสีกันของโลหะให้ดังอยู่ เฉพาะในรถคันที่เราลองขับ คงผ่านมือผ่านเท้า
มาหลายต่อหลายคน เยอาจเสื่อมโทรมไปบ้างนิดๆ ตามการใช้งาน ปรับตั้งเสียใหม่
ก็จะดีขึ้น
การหน่วงความเร็ว ในช่วงความเร็วต่ำ คลานไปตามสภาพการจราจรติดขัด เบรกได้
นุ่มนวลดี ส่วนการหน่วงรถลงมาจากย่านความเร็วสูง ก็ทำได้ดี เบรกแรงๆ ไม่เป๋ ไม่ปัด
มั่นใจได้ อยู่ในระดับต้นๆ เมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด แต่โอกาสที่อาจเกิดอาการ Fade
นั้น ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้าง เพียงแต่ ผมยังไม่ได้พบอาการนี้กับตัวเองแต่อย่างใด
โครงสร้างตัวถัง เป็นแบบ Reinforced Safety Structure (RESS) มีคานเหล็กเสริมเพื่อ
ลดแรงกระทแกที่บานประตูคู่หลัง และเสริมความแข็งแกร่งบริเวณเสาหลังคาทั้งคู่หน้า
(A-Pillar) และด้านข้าง (B-Pillar) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายแรงปะทะ ขณะ
ยุบตัว เพื่อคงสภาพของโครงสร้างห้องโดยสารไว้ให้ได้มากที่สุด ในทุกสภาพรูปแบบ
ของอุบัติเหตุ พนักศีรษะ เป็นแบบ Active Headrest ดีดตัวขึ้นมา เมื่อเกิดการชน เพื่อ
ป้องกันการบาดเจ็บที่กระดูกต้นคอ และมีแกนพวงมาลัยแบบยุบตัวได้ ช่วยเสริมให้
ผู้ขับขี่ปลอดภัยมากขึ้น
ที่เด็ดสุดก็คือ Proton ติดตั้ง ถุงลมนิรภัยมาให้ Preve 1.6 CFS Turbo เวอร์ชันไทย
มากถึง 6 ใบ! ทั้งคู่น้า ด้านข้าง และม่านลมนิรภัย! เรียกได้ว่า ใจป้ำมากๆ ที่แถมมา
ให้เยอะมาก รถญี่ปุ่นประกอบในประเทศ ทุกราย ยังไม่มีใครกล้าให้ได้ขนาดนี้!
Proton Preve ผ่านขั้นตอนทดสอบการชนทั้งแบบเต็มหน้า ด้านข้าง และครึ่งคันหน้า
และผ่านมาตรฐานทดสอบความปลอดภัยทั้งในมาเลเซีย และคาดว่าจะผ่านการทดสอบ
ของ ANCAP ของ ประเทศออสเตรเลีย รวมทั้ง EuroNCAP ในอนาคตอันใกล้
********** การทดลองหาอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ย **********
ในเมื่อสมรรถนะออกมาแรงขนาดนี้ คำถามก็คือ แล้วความประหยัดน้ำมันละ? รถยนต์
ที่ใช้เครื่องยนต์ ซึ่งมีระบบอัดอากาศจำพวก Turbo นั้น มันคงต้องกินน้ำมันแหงๆเลย
ยิ่งถ้าเป็นเบนซิน ยิ่งกินน้ำมันหนักกว่า Diesel Turbo ? ความเชื่อเหล่านี้ มันคร่ำครึ
กันเหลือทน เพราะ Preve คันนี้ ทำตัวเลขความประหยัดออกมาในระดับที่ ดีกว่าคู่แข่ง
ในพิกัดเดียวกันบางรุ่นเสียอีก!
เรายังคงทำการทดลองหาอัตราสิ้นเปลืงเชื้อเพลิงเฉี่ย กันตามมาตรฐานเดิม นั่นคือ
เติมน้ำมันเบนซิน 95 Techron ที่สถานีบริการน้ำมัน Caltex ถนนพหลโยธิน ฝั่ง
เยื้องและตรงข้ามซอยอารีย์สัมพันธ์ ใกล้สถานีรถไฟฟ้า BTS อารีย์
เนื่องจากรถคันนี้ อยู่ในพิกัดไม่เกิน 2,000 ซีซี และเป็นรถยนต์ระดับราคาที่ผู้คน
สามารถหาซื้อได้ อยู่ในกลุ่ม C-Segment Compact Class ดังนั้น เราจึงต้องทำใน
สิ่งที่เราไม่ค่อยอยากทำ แต่ต้องทำ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานดั้งเดิมที่เราทำมา
นั่นคือ การเขย่ารถ แล้วเติมหยอด กรอกน้ำมันลงไปให้เต็มถังจนเอ่อล้นขึ้นมาถึง
คอถังอย่างที่เห็นอยู่นี้ เพื่อไล่อากาศให้หมดไปจากถังน้ำมันมากที่สุด
สักขีพยานของเราในวันนี้ ….ในเมื่อตาโจ๊ก V10ThLnD ในกลุ่ม The Coup Team
ของเรา ไม่ว่าง ก็คงต้องรบกวน คุณผู้อ่านของเรา น้องตูน Touchpong Nanraksa
มาช่วยเป็นสักขีพยาน และเป็นผู้ช่วยระหว่างการทดลองของผมแทน น้ำหนักตัว
48 กิโลกรัม รวมกันคนขับ 95 กิโลกรัม ลมยางขณะทำการทดลองอยู่ที่ 32 psi
อุณหภูมิขณะทำการทดลอง อยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส
เมื่อเติมน้ำมันเสร็จแล้ว เราก็พร้อมออกรถ คาดเข็มขัด ติดเครื่องยนต์ เปิดแอร์ไว้
เบอร์ 1 อุณหภูมิ 25 องศาเซลสเซียส ทั้ง 2 ฝั่ง เซ็ตมาตรวัดระยะทาง Trip Meter A
เป็น 0 รวมทั้งเซ็ตมาตรวัดอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง เป็น 0 ก่อนออกรถ แล้วมุ่งหน้า
ไปเลี้ยวกลับบนถนนพหลโยธิน ผ่านโชว์รม Proton ที่ปิดปรับปรุงชั่วคราว เลี้ยวซ้าย
เข้าซอยอารีย์ ลัดเลาะไปออกปากซอยโรงเรียนเรวดี ขึ้นทางด่วนที่ด่านพระราม 6
มุ่งหน้าออกไปยังปลายสุดทางด่วนอุดรรัถยา (เส้นเชียงราก) ที่ด่านบางปะอิน แล้ว
เลี้ยวกลับมาขึ้นทางด่วนสายเดิม มุ่งหน้ากลับมาทางเดิม โดยใช้ความเร็วมาตรฐาน
คือ วิ่ง 110 กิโลเมตร/ชั่วโมง เปิดแอร์ นั่ง 2 คน (แต่ไม่ได้เปิดระบบ Cruise Control)
ลงจากทางด่วน ที่ด่านอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนพหลโยธินอีกครั้ง
เลี้ยวกลับที่สถานีรถไฟฟ้า BTS แล้วเข้าไปเติมน้ำมันเบนซิน 95 Techron ที่สถานี
บริการน้ำมัน Caltex เหมือนเดิม หัวจ่ายเดิม และแม้แต่เด็กปั้ม ก็ยังเป็นคนเดิม!
เพื่อให้การทดลองเป็นไปตามมาตรฐานเดิม เราจึงจำเป็นต้องเติมน้ำมันแบบเขย่ารถ
อัดกรอกลงไป เช่นเดียวกับช่วงเริ่มต้นทำการทดลอง เพื่อลดโอกาสความเพี้ยนให้
น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
เอาละ เมื่อน้ำมันเอ่อจนถึงคอถังแล้ว เรามาดูตัวเลขกันดีกว่า
ระยะทางที่แล่นไปทั้งหมด บนมาตรวัก Trip Meter A อยู่ที่ 92.6 กิโลเมตร
ปริมาณน้ำมันเติมกลับ 6.88 ลิตร
คำนวนแล้ว ได้ อัตราสิ่นเปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ย 13.45 กิโลเมตร/ลิตร
ถือว่าประหยัดน้ำมันกว่า Mitsubishi Lancer EX ทั้ง 1.8 และ 2.0 ลิตร รวมทั้ง Ford Fiesta
1.4 ลิตร เกียร์อัตโนมัติ ไปจนถึง Mazda 3 เครื่องยนต์ 1.6 ลิตร รุ่นเดิม แต่นอกนั้น
ก็ยังด้อยกว่าเจ้าตลาดอยู่ชัดเจน เมื่อเทียบกับตารางข้างบนนี้
Proton ยังต้องทำการบ้านเรื่องการลดแรงเสียดทานในระบบ รวมทั้ง ลดน้ำหนักตัว
ของรถ ให้ต่ำลงกว่านี้อีกสักหน่อย น่าจะช่วยเพิ่มความประหยัดน้ำมันได้มากขึ้นอีก
อย่างไรก็ตาม น้ำมัน 1 ถัง แล่นไปได้ไกลแค่ไหน คำตอบก็ อย่างที่เห็นนี่ละครับ
เมื่อเติมน้ำมันกลับกันเสร็จแล้ว เราก็เซ็ต 0 บน Trip Meter A กันอีกครั้ง เพื่อจะ
ใช้งานจริง และทำการทดลองจับเวลาตัวเลขต่างๆด้วย ระยะเวลา 3 วัน 2 คืนถัดมา
จนถึงวันส่งคืนรถ เราใช้น้ำมันไปครึ่งถัง และมีระยะทางแล่นไปเท่าที่เห็น ซึ่ง
ต้องถือว่า น้ำมันลดลงจากถัง ช้ากว่าที่คิด กว่าขีดแรกจะดับวูบลง ต้องปาเข้าไป
234 กิโลเมตร กันเลยทีเดียว ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดี ว่า มีแนวโน้มที่ Preve
ใหม่ จะประหยัดน้ำมันอยู่บ้าง
********** สรุป **********
ขับดีกว่าที่คิด ออพชันจัดเต็ม ถุงลม 6 ใบ ในราคาแค่ 759,000 บาท !!
Danny Bahar อดีตผู้กุมบังเหียน Lotus ในช่วงที่ถูก Proton ขายกิจการไปให้กับ DRB-HICOM เคย
ให้สัมภาษณ์ไว้ในนิตยสาร Car Magazine ช่วงเดือนเมษายน 2012 ไว้ตอนหนึ่งว่า “รถยนต์รุ่นต่อไป
ของ Proton นั้น น่าตื่นตาตื่นใจมาก ดังนั้น ในอีก 5-6 ปีนับจากนี้ อนาคตของ Proton จะสดใสอย่างมาก”
แม้แต่ Jean Alesi อดีตนักแข่ง Formula-1 ทีม Lotus ที่ได้ทดลองขับ Preve แล้ว เขาก็พูดออกมาใน
ภาพยนตร์โฆษณา ที่มาเลเซียว่า “ผมได้ขับแล้ว และผมเชื่อแล้ว ว่ามันดีขึ้นจริงๆ”
ก่อนหน้านี้ ผมก็ไม่เชื่อหรอก คำโฆษณาหนะ ใครๆก็เขียนกันได้วะ ใครก็จับกรอกปากให้พูด เอาเงิน
จ้างให้พูดก็ออกมาไม่ต่างไปจากนี้นักหรอก จนได้มาลองขับ Preve 1.6 CFE Turbo คันนี้ ถึงได้รู้ว่า
คำพูดของ Danny Bahar และ Jean Alesi ดูท่าจะเป็นความจริง!
ต้องยอมรับเลยว่า สำหรับบริษัทที่ผม เคยลองขับรถยนต์รุ่นเก่าของพวกเขาสั้นๆ มาหมดแล้วทั้งรุ่น
Persona Gen2 Satria Neo และ Savvy จนเขียนลงในเว็บเก่าที่ผมเคยทำงานให้เขาไปอย่างรุนแรงว่า
“กลับไปทำรถมาใหม่เถอะ” จะลุกขึ้นมาฮึดต่อสู่กับทั้งตัวเอง และคู่แข่ง ได้มากขนาดนี้
มันเป็นพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น อย่างรวดเร็ว น่าทึ่งมาก! จนดูราวกับว่า พวกเขาแค้นมากกับ
คำพูดนี้ของผม จนกลับไปทำ Preve มาใหม่ ให้ดีขึ้นในระดับก้าวกระโดด จาก Persona รุ่นเดิม
อย่างชัดเจนมากๆ ในทุกด้าน น่าใช้ขึ้น ขับดีขึ้น เข้าโค้งดีขึ้น ตอบสนองทุกด้านได้ครบถ้วนขึ้น
Preve เป็นรถที่ทำให้ผม พร้อมจะลืม ความไม่เข้าท่าของ Proton รุ่นก่อนหน้านี้โดยสิ้นเชิง แบบ
หมดข้อกังขา การขับขี่เทียบชั้นได้กับรถยนต์ยุโรป ความคล่องตัวที่ทำได้ดีขึ้น การดูดซับรอยต่อ
พื้นผิวถนน และลดการสั่นสะเทือนของช่วงล่างขึ้นมายังผู้ขับขี่และผู้โดยสาร รวมทั้งอัตราเร่ง
ที่ทำได้ดีจนน่าประหลาดใจ เพราะผมคาดหวังจากแบรนด์ Proton น้อยกว่านี้ด้วยกระมัง
เหนือสิ่งอื่นใด บรรยากาศขณะขับขี่ไปตามถนนและทางหลวงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
จังหวะที่ผมมองไปรอบตัว ช่วงที่ใช้ความเร็วประมาณ 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง เสียงรบกวนที่
เล็ดรอดเข้าห้องโดยสารน้อยกว่าที่คาด และภาพที่เห็นกับสายตา ทำให้ผมคิดว่า แค่เพียงเอา
โลโก้ Proton บนพวงมาลัยออก แล้วแทนที่ด้วย ตราของ Chevrolet หรือ Ford ผมก็พร้อมจะ
เชื่อ ว่านี่คือรถยนต์จากผู้ผลิตรายอื่น ที่มีภาพลักษณ์ในอดีต เหนืกว่า Proton อย่างง่ายดาย!
เพราะ Preve ไมใช่ Proton ในแบบที่คุณเคยเจอมา มันทิ้งคราบเดิมไปเกือบหมดสิ้น!
และเป้นไปในทางที่ดีขึ้น สมดังสโลแกนโฆษณาของเขาเลยนั่นละ!
เดี๋ยวนะ…เกือบหมดสิ้น?
ครับ เกือบหมดสิ้น เพราะยังไงๆ รถยนต์ 1 รุ่น ก็ยังต้องมีจุดที่ต้องปรับปรุง เหมือนเช่นกับ
รถยนต์ทุกคันที่ผมเจอมาตลอดชีวิตของผมนั่นแหละ Preve เอง ก็ยังมีจุดที่ต้องปรับปรุง
อยู่อีกเช่นกัน
สิ่งที่ Proton ยังต้องทำต่อไป เพื่อการพัฒนารถให้ดียิ่งขึ้นกว่านี้ มีอีกหลายประการ ตั้งแต่
– การลดตำแหน่งเบาะนั่งให้เตี้ยกว่านี้อีกหน่อย เพื่อเพิ่มความมั่นใจของผู้ขับขี่ ขณะเข้าโค้ง
ได้ดีขึ้นอีกนิด
– การปรับปรุง วัสดุภายในห้องโดยสารให้ดียิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่นี้อีก รวมทั้ง ปรับปรุงรูปแบบ
ของพนักพิงเบาะ และเบาะรองนั่ง ให้สอดรับกับสรีระคนทั้งโลกมากยิ่งขึ้นกว่านี้ ตามหลัก
Universal Design ไม่ให้แข็งเป็นไม้กระดานเหมือนอย่างที่เคยเป็นมา
– การย้ายตำแหน่งของแผงควบคุมกลาง ให้เข้าใกล้มืผู้ขับขี่มากกว่าที่เป็นอยู่นี้อีกนิด
– การลดแรงเสียดทานในเครื่องยนต์ ลดน้ำหนักของชิ้นส่วนลง เพื่อให้ประหยัดน้ำมัน มาก
ยิ่งขึ้นไปอีก
– แต่การลดน้ำหนัก ก็ต้องเพิ่มความแข็งแกร่ง เหนียว ทนทาน ของวัสดุรอบคันให้เพิ่มขึ้นด้วย
ซึ่งยาก และต้นทุนจะแพงขึ้นไปอีก แต่ในอนาคต ถ้าต้องการหลุดพ้นจากสถานะผู้ผลิตรถยนต์
ที่เน้นแต่ความคุ้มราคาเป็นหลัก ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่ดี
– การเซ็ตพวงมาลัย ให้มีน้ำหนักในช่วงความเร็วสูงเพิ่มขึ้นอีกนิด เพราะในความเร็วต่ำ น้ำหนัก
พวงมาลัยหนืดมาก พอกับ Chevrolet Optra อาจทำให้ลูกค้าสุภาพสตรีบ่นว่าได้ง่าย แต่ต้องรักษา
ความหนืดในย่านความเร็วสูงไว้ เอาใจนักขับตีนโหดด้วย
– การปรับปรุงเรื่องเบรก ให้ลดโอกาสการเกิดอาการ Fade ได้น้อยลง และเพิ่มความหนักแน่น
ในการตอบสนองของแป้นเบรก ในช่วงระยะแรกที่เหยียบลงไป ราวๆ 40% แรก
– ปรับ Attitude ในการทำงาน ที่ไม่ได้คิดแค่ว่า คนมาเลเซีย ต้องการอะไร แต่ต้องคิดรวมไปด้วยว่า
คนทั้งโลก ต้องการอะไรจากรถยนต์ 1 คัน และเอาใจใส่ลูกค้าดุจญาติมิตรของตัวเองอย่างจริงจัง
แต่นอกนั้น ผมว่า Proton เดินมาไกล และเดินมาถูกทางแล้ว สำหรับการมุ่งหน้ายืนหยัดอยู่ใน
อุตสาหกรรมรถยนต์ของโลก ที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง เพื่อความอยู่รอด มากกว่าทุกช่วง
ทศวรรษก่อนหน้าที่เคยเป็นมา
ถ้าให้เปรียบเทียบกับคู่แข่งในเวลานี้ ก็คงต้องพูดกันอย่างตรงไปตรงมาว่า Preve มีหลายสิ่งที่
รถญี่ปุ่นทุกค่าย ยังให้คุณได้ไม่เต็มที่ คือ อัตราเร่ง ที่แรงสะใจ อันเป็นผลมาจากแนวทางพัฒนา
เครื่องยนต์ แบบ Downsizing ที่โลกยานยนต์กำลังทำกันอยู่ ความมั่นใจของช่วงล่าง การดูดซับ
แรงสะเทือนที่ดีมากๆ และการทรงตัวที่นิ่งสนิทในย่านความเร็วสูง รวมทั้ง บรรยากาศการขับขี่
ในห้องโดยสาร ที่ถูกยกระดับจากรถรุ่นก่อนๆ ทั้ง Waja และ Persona ให้ดียิ่งขึ้น แต่ต้องบอก
ว่า อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ก็ยังทำได้แค่ระดับมาตรฐาน ยังไม่เด่นเด้งเหมือนอย่างที่ทีมงาน
ตั้งใจให้เป็น
ถ้าคิดว่าจะด้อยกว่าคู่แข่งอยู่ ก็มีแค่เรื่องของ “ภาพลักษณ์แบรนด์ Proton ในสายตาของผู้บริโภค”
และการติดยึดกับความภาคภูมิใจในความเป็นมาเลเซียมาก ซึ่งเราต้องไม่ลืมว่า เมืองไทยยังมี
คนที่ใจคอคับแคบในเรื่องเชื้อชาติอยู่ และต่อให้ไม่ต้องโฆษณา คนไทยก็รู้เต็มอกว่า Proton
มาจาก มาเลเซีย…
ดังนั้น ความพยายามที่จะทำตัวให้เป็น Global Brand นอกเหนือจากการทำรถยนต์ให้เป็น
Global Car คือสิ่งสำคัญที่ Proton ควรมุ่งหน้าไปให้มากกว่านี้ แคมเปญโฆษณาเพื่อความ
ภูมิใจของชาวมาเลเซีย มันอาจได้ผลกับชาวมาเลย์ ในประเทศด้วยกัน เช่นแคมเปญ
ในเว็บไซต์ www.1malaysia-proton.com นั้น ถือเป็นแคมเปญที่ดีมากๆ แต่ สำหรับชาว
ต่างชาติ “ที่มีความคิดเจริญทางจิตใจแล้ว” เขาไม่สนใจหรอกครับว่าคุณจะมาจากชาติไหน
ขอแค่ว่า ทำรถยนต์ออกมาให้เจ๋งและมีภาพลักษณ์ที่ดี การบริการที่ทำให้ลูกค้ารัก หลง และ
ไม่คิดจะเปลี่ยนใจไปจาก Proton เลยต่างหาก คือสิ่งที่ DRB-HICOM ควรมุ่งหน้าไปทางนั้น
แต่ถ้าคุณ ในฐานะลูกค้า ตัดสินใจแล้วว่า จะเปิดใจกว้าง ลองใช้ Proton สักคันหนึ่ง และคิดว่า
จะเลือก Preve เป็นการเริ่มต้น คุณควรจะซื้อรุ่นย่อยไหนดีกว่ากัน ผมคงต้องขอแนะนำว่า
เมื่อได้นั่งดูตารางออพชันท้ายโบรชัวร์แล้ว เพิมงบแล้วลงชื่อสั่งซื้อ ตัวท็อป Premium Turbo
ที่เห็นอยู่ในรีวิวนี้ไปเลยจะคุ้มค่าที่สุดในระยะยาว!
ท้ายสุด ในวันที่ผมต้องส่งคืนกุญแจรถให้กับทาง Proton Thailand ไป ผมลองถามใจผมเองดู
เหมือนเช่นที่ถามถึงรถยนต์ทุกคันที่เคยนำมาลองขับ นั่นคือ ถ้าให้รถยนต์รุ่นนี้ ผมยินดีจะรับ
ไว้ใช้งานไหม แล้วถ้าจะซื้อเองละ จะยังยอมซื้อ หรือเก็บไว้เป็นตัวเลือกอยู่หรือเปล่า?
ถ้าผมต้องตอบคำถามนี้ในวันนี้ ก็คงจะตอบได้เต็มปากครับ
จากเดิม Proton ให้ฟรีๆ ผมยังไม่เอา มาวันนี้ ถ้าเป็น Preve ผมจะรีบกระโดคว้ากุญแจรถ แย่งชิง
กับตาแพน Commander CHENG! เพื่อ ขับรถคันนี้ขึ้นไปเที่ยวที่เชียงใหม่แน่ๆ
แต่ถ้าให้ซื้อ Preve มาใช้เอง จะซื้อหรือไม่? ผมตอบเลยว่า ก้ำกึ่ง…เพราะจนถึงตอนนี้ ผมคงต้อง
ตอบว่า “จะเก็บเอามาเป็นตัวเลือกแน่ๆ แต่จะซื้อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้จำหน่ายในเมืองไทย”
ถ้า พระนครยนตรการ สามารถปรับปรุงบริการหลังการขาย ให้ดียิ่งขึ้นกว่านี้ มัดใจลูกค้า ได้มากกว่านี้
ทั้งด้วยราคาอะไหล่ที่ไม่แพงเกินไป การเอาใจใส่กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ไม่แน่ครับ ผมอาจยอมขาย
Honda City ทิ้ง ไปเปลี่ยนเป็น Preve 1.6 Turbo นี่ก็เป็นไปได้
ใครจะไปรู้?
——————///—————-
ขอขอบคุณ / Special Thanks to:
Mr. Choo Chun Khui
Operation Manager
คุณกุลธิรัตน์ เท่าทอง (คุณหม่อน)
Marketing Executive
บริษัท Proton Motors (Thailand) จำกัด
และ บริษัท พระนคร โอโต้ เซลส์ จำกัด
เอื้อเฟื้อรถยนต์ทดลองขับ และการประสานงานอย่างดียิ่ง
————————————————————-
J!MMY
สงวนลิขสิทธิ์ ทั้งบทความ และลิขสิทธิ์ภาพถ่ายในไทย เป็นผลงานของ ผู้เขียน
ลิขสิทธิ์ภาพวาด Illustration เป็นของ บริษัท Proton Motors (Thailand) จำกัด
ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
เผยแพร่ครั้งแรกใน www.Headlightmag.com
17 มกราคม 2013
Copyright (c) 2013 Text and Pictures
Use of such content either in part or in whole without permission is prohibited.
First publish in www.Headlightmag.com
Jaunuary 17th, 2013
แสดงความคิดเห็น เชิญได้ คลิกที่นี่ / Comments are Welcome! CLICK HERE!