นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
แถลงรายงานสถิติการขายรถยนต์ ประจำเดือนมีนาคม 2552  ปริมาณการขาย 41,328 คัน ลดลง 37.8%
ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 16,194 คัน ลดลง 23.4%  รถเพื่อการพาณิชย์   25,134 คัน ลดลง 44.5%
รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 21,610 คัน ลดลง  44.8%

สถิติการขายสะสมในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2552 มีปริมาณทั้งสิ้น 107,774 คัน ลดลง 33.4%
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 43,968 คัน  ลดลง 17.4% 
รถเพื่อการพาณิชย์ 63,806 คัน ลดลง 41.2% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้
จำนวน 55,095 คัน ลดลง 40.9%

ประเด็นสำคัญ
1. ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคม มีปริมาณการขาย 41,328 คัน ลดลง 37.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
โดยเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 เนื่องจากการหดตัวของตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
ซึ่งเป็นตลาดที่สะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งมียอดขายลดลงถึง 44.5% ลดลงสูงสุดในรอบ 11 เดือน
นับตั้งแต่ภาวะตื่นตระหนกของราคาน้ำมันดีเซล ตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา ประกอบกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงต่ำสุด
ในรอบ 7 ปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่าย

2. ตลาดรถยนต์ในไตรมาสแรกมีปริมาณการขาย 107,774 คัน ลดลง 33.4%  เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 17.4% ส่วนหนึ่งเนื่องจากยอดขายในไตรมาสแรกของปีทีผ่านมามียอดขายที่สูง
เนื่องจากการตอบรับรถยนต์ที่ใช้พลังงาน อี20 ในขณะที่ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 41.2%
เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก ประกอบกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และความเข้มงวดของสถาบันการเงิน ในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ต่างเป็นปัจจัย
ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์

3. สำหรับตลาดรถยนต์เดือนเมษายน  คาดว่าจะมีปริมาณการขายหดตัว  แม้ว่ายอดจองรถยนต์ในงานบางกอก มอเตอร์โชว์
ที่ผ่านมา จะมียอดจองสูงถึง 16,936 คัน ก็ตาม อย่างไรก็ดีสถานการณ์ทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจ อาจมีผลต่อความมั่นใจ
ของผู้บริโภคซึ่งมีผลต่อระบบเศรษฐกิจรวมถึงตลาดรถยนต์เช่นกัน

 

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนมีนาคม  2552
1.)  ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 41,328 คัน ลดลง 37.8%                              
    อันดับที่ 1 โตโยต้า    16,762 คัน    ลดลง     41.2%        ส่วนแบ่งตลาด 40.6%
    อันดับที่ 2 อีซูซุ          8,761 คัน    ลดลง     40.2%        ส่วนแบ่งตลาด 21.2%
    อันดับที่ 3 ฮอนด้า       7,244 คัน    ลดลง     16.4%        ส่วนแบ่งตลาด 17.5%

2.)  ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 16,194 คัน ลดลง 23.4% 
                               
    อันดับที่ 1 โตโยต้า     6,951 คัน    ลดลง      33.4%        ส่วนแบ่งตลาด 42.9%
    อันดับที่ 2 ฮอนด้า       6,760 คัน    ลดลง      7.0%        ส่วนแบ่งตลาด 41.7 %
    อันดับที่ 3 เชฟโรเลต      537 คัน    ลดลง     45.2%        ส่วนแบ่งตลาด 3.3 %

3.)  ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง SUV – PPV) ปริมาณการขาย  21,610 คัน ลดลง 44.8%
    อันดับที่ 1 โตโยต้า     8,880 คัน    ลดลง    45.4%        ส่วนแบ่งตลาด 41.1 %
    อันดับที่ 2 อีซูซุ         8,211 คัน    ลดลง    40.7%        ส่วนแบ่งตลาด 38.0 %
    อันดับที่ 3 นิสสัน        1,645 คัน    ลดลง    46.1%        ส่วนแบ่งตลาด  7.6 %
    *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (SUV – PPV) ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 2,205 คัน
    โตโยต้า 1,249 คัน – มิตซูบิชิ 463 คัน – อีซูซุ 450 คัน – ฟอร์ด 43 คัน

4.)  ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย  19,405 คัน ลดลง  47.0%

    อันดับที่ 1 อีซูซุ         7,761 คัน    ลดลง    39.4%        ส่วนแบ่งตลาด 40.0 %
    อันดับที่ 2 โตโยต้า     7,631 คัน    ลดลง    48.6%        ส่วนแบ่งตลาด 39.3 %
    อันดับที่ 3 นิสสัน        1,645 คัน    ลดลง    46.1%        ส่วนแบ่งตลาด  8.5 %

5.)  ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 25,134 คัน ลดลง 44.5%                    
    อันดับที่ 1 โตโยต้า      9,811 คัน    ลดลง    45.8%        ส่วนแบ่งตลาด 39.0 %
    อันดับที่ 2 อีซูซุ          8,761 คัน    ลดลง    40.2%        ส่วนแบ่งตลาด 34.9 %
    อันดับที่ 3 นิสสัน         1,658 คัน    ลดลง    47.0%        ส่วนแบ่งตลาด 6.6 %

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มีนาคม 2552

1)  ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 107,774 คัน ลดลง 33.4%                              
    อันดับที่ 1 โตโยต้า    44,444 คัน    ลดลง    33.7%        ส่วนแบ่งตลาด 41.2%
    อันดับที่ 2 อีซูซุ        23,558 คัน    ลดลง    34.5%        ส่วนแบ่งตลาด 21.9%
    อันดับที่ 3 ฮอนด้า     18,360 คัน    ลดลง    18.2%        ส่วนแบ่งตลาด 17.0%

2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 43,968 คัน ลดลง 17.4%                                
    อันดับที่ 1 โตโยต้า     20,578 คัน    ลดลง    19.4%        ส่วนแบ่งตลาด 46.8%
    อันดับที่ 2 ฮอนด้า      17,250 คัน    ลดลง    10.0%        ส่วนแบ่งตลาด 39.2%
    อันดับที่ 3 นิสสัน         1,075  คัน    ลดลง    44.7%        ส่วนแบ่งตลาด 2.4%

3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการ   ขาย  55,095 คัน ลดลง  40.9%

    อันดับที่ 1 อีซูซุ         22,096 คัน    ลดลง    34.5%        ส่วนแบ่งตลาด 40.1%
    อันดับที่ 2 โตโยต้า     21,493 คัน    ลดลง    42.8%        ส่วนแบ่งตลาด 39.0%
    อันดับที่ 3 นิสสัน          4,109 คัน    ลดลง    40.9%        ส่วนแบ่งตลาด  7.5%
    *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 5,489 คัน
    โตโยต้า 3,151 คัน – มิตซูบิชิ 1,155 คัน – อีซูซุ 1,090 คัน – ฟอร์ด 93 คัน

4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย  49,606 คัน ลดลง 43.0%

    อันดับที่ 1 อีซูซุ          21,006 คัน    ลดลง    33.4%        ส่วนแบ่งตลาด 42.3%
    อันดับที่ 2 โตโยต้า      18,342 คัน    ลดลง    45.7%        ส่วนแบ่งตลาด 37.0%
    อันดับที่ 3 นิสสัน           4,109 คัน    ลดลง    40.9%        ส่วนแบ่งตลาด  8.3%

5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 63,806 คัน ลดลง 41.2%                    
    อันดับที่ 1 โตโยต้า      23,866 คัน    ลดลง    42.5%        ส่วนแบ่งตลาด 37.4%
    อันดับที่ 2 อีซูซุ          23,558 คัน    ลดลง    34.5%        ส่วนแบ่งตลาด 36.9%
    อันดับที่ 3 นิสสัน           4,199 คัน    ลดลง    41.8%        ส่วนแบ่งตลาด  6.6%

 

——————————————///———————————————–