ปัจจุบัน รัฐบาลอินโดนีเซียดำเนินนโยบายส่งเสริมการลงทุนและการผลิตรถยนต์ราคา
ประหยัดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ชื่อโครงการ ‘Low Cost Green Car’ ที่สรุปพอ
สังเขปได้ว่าก็คล้าย ๆ โครงการอีโคคาร์ของบ้านเราที่เน้นอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงขั้นต่ำ
20 กิโลเมตรต่อลิตร ต้องติดตั้งเครื่องยนต์เบนซินขนาดไม่เกิน 1.2 ลิตร
ถึงเงื่อนไขข้อบังคับจากรัฐบาลอินโดนีเซียไม่แตกต่างจากรัฐบาลไทย แต่ตัวแปรสำคัญ
ที่ทำให้ผู้ผลิตต้องวางยุทธศาสตร์ผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าชาวอินโดนีเซียให้แตกต่างจาก
ลูกค้าชาวไทยก็คือพฤติกรรมการซื้อรถของลูกค้าชาวอินโดนีเซียที่นิยมรถมินิแวนเป็นหลัก
โดยไม่ใส่ด้านพละกำลังมากนัก ขอแค่ ถูก ทน ดี ก็เพียงพอแล้ว
Toyota และ Daihatsu จึงเร่งพัฒนามินิแวนราคาประหยัดเพื่อให้เข้าโครงการ Low
Cost Green Car เพื่อเสริมทัพยอดขายของทั้งคู่ที่กำลังรุ่งสุดขีด แล้วยิ่งทั้งคู่เป็นเจ้า
ตลาดมินิแวนในตลาดอินโดนีเซียแล้วล่ะก็ ทั้งคู่ก็ยิ่งได้เปรียบเข้าไปอีก เพราะคู่แข่งคง
ไร้แรงต่อกรอย่างแน่นอน
Toyota Calya และ Daihatsu Sigra คือผลงานชิ้นเอกล่าสุดที่จะรุกตลาดมินิแวน
ราคาประหยัดหวังสยบ Datsun Go+ (ที่ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรงอยู่แล้ว) ให้สงบใต้บัลลังก์
น่าแปลกใจไม่น้อยเลยว่าทั้ง Toyota Calya และ Daihatsu Sigra กลับดูมีสัดส่วน
และมิติตัวถังไม่แตกต่างจาก Toyota Avanza และ Daihatsu Xenia ด้วยความยาว
4,070 มิลลิเมตร ความกว้าง 1,655 มิลลิเมตร ความสูง 1,600 มิลลิเมตร มีความยา
วฐานล้อ 2,525 มิลลิเมตร ช่วงล่างหน้าแมคเฟอสันสตรัท ด้านหลังเป็นแบบทอร์ชันบีม
ติดตั้งล้อขนาด 14 นิ้วพร้อมยาง 175/65R14 Bridgestone Ecopia
และน่าแปลกยิ่งกว่า Toyota Calya และ Daihatsu Sigra กลับถูกออกแบบให้มี
หน้าที่ดูสวยและทันสมัยกว่า Toyota Avanza และ Daihatsu Xenia ด้วยเส้นสาย
ที่คมสปอร์ตพอสมควร
Toyota Calya จะได้รับแรงบันดาลใจจากใบหน้า X-Face จาก Toyota Yaris EU
Version และ Toyota Aygo ที่ผนวกกับแนวกระจังหน้ารถยนต์ Toyota ยุคใหม่
ส่วน Daihatsu Sigra ก็จะดูต่างกันตรงที่ทรงกันชนหน้าที่มีช่องดักลมทรง 6 เหลี่ยม
อัญมณีและติดตั้งแนวช่องไฟตัดหมอกหน้าเตี้ยใกล้กับขอบกันชนหน้า
สัดส่วนตัวถังไม่แตกต่างจาก Toyota Avanza และ Daihatsu Xenia แต่เปลี่ยน
ลูกเล่นการออกแบบด้วยการขัดเกลาแนวเส้นตัวถังที่ดูคมขึ้นและเปลี่ยนกระจกฝั่ง
ผู้โดยสารแถวที่ 3 ใหม่ ส่วนบั้นท้ายมาพร้อมกับไฟท้าย L-Shape ทรงคล้าย Honda HR-V
จุดเด่นของ Toyota Calya คือการอัดอุปกรณ์มาตรฐานเกินหน้าเกินราคาซึ่งมี 2
เกรดให้เลือกทั้งเกรด E และ G, มีขนาดห้องโดยสารและตำแหน่งเบาะนั่งที่ไม่แตก
ต่างจาก Toyota Avanza/Daihatsu Xenia
ทุกรุ่นจะได้รับเซนเซอร์ถอยหลัง, กุญแจอิมโมบิไลเซอร์, แอร์สำหรับเบาะนั่งแถวสอง
, กระจกไฟฟ้าทุกบาน, ไฟเตือนโหมด ECO, หน้าจอ MID และเบาะแถวกลางพับได้
60/40 แบบสัมผัสเดียว
สำหรับเกรด G จะติดตั้งไฟตัดหมอกหน้า, กระจกมองข้างพับไฟฟ้า, ไฟเลี้ยวกระจก
มองข้าง, ตกแต่งภายในด้วยวัสดุสีเงิน, ชุดเครื่องเสียงรองรับ Bluetooth, ลำโพง 4 ตัว
อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐานก็ให้ตามอัตภาพด้วยถุงลมนิรภัยคู่หน้าทุกรุ่น
, จุดยึด Isofix ทุกรุ่น, ระบบเบรก ABS (ยกเว้นรุ่น E เกียร์ธรรมดาที่ไร้ ABS)
Toyota Calya ติดตั้งเครื่องยนต์เบนซิน 1.2 ลิตร 3NR-VE 88 แรงม้า (PS) ที่ 6,000
รอบต่อนาที แรงบิด 108 นิวตันเมตรที่ 4,200 รอบต่อนาที จับคู่เกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ
และเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ
สำหรับ Daihatsu Sigra จะติดตั้งเครื่องยนต์เบนซิน 1.0 ลิตร 1KR-VE มีเกรดรุ่นย่อย
ให้เลือกเยอะ อาทิ D, M, X และ R
งานนี้ Toyota และ Daihatsu ฉลาดมากที่วางตำแหน่งของรถทั้งสองคันให้ต่างกันมาก
Daihatsu ยอมวาง Sigra ให้จับตลาดล่างด้วยเครื่องยนต์ 1.0 ลิตรเพียงรุ่นเดียวราคา
เริ่มต้น 106,600,000 รูเปี๊ยะ (282,000 บาท) จนถึง 148,900,000 รูเปี๊ยะ (394,000 บาท)
Toyota Calya มีราคาเริ่มต้น 129,650,000 รูเปี๊ยะ (344,000 บาท) จนถึง 150,000,000
รูเปี๊ยะ (397,000 บาท)
Toyota และ Daihatsu ไม่ได้ประกาศเป้าจำหน่ายต่อเดือน แต่เชื่อว่าลูกค้าที่คิด
จะซื้อ Toyota Avanza และ Daihatsu Xenia รุ่นล่าง ๆ น่าจะมาเทกองที่มินิแวน
รุ่นใหม่ทั้งสองแทน