ใครจะไปเชื่อว่าตลาดรถยนต์ในญี่ปุ่นจะถึงช่วงขาลงจนบริษัทรถญี่ปุ่นทั้งหลายพากันถอดใจกับตลาดในประเทศแล้ว แต่ก็
ใช่ว่าการหวังผลจากตลาดต่างประเทศคือคำตอบสุดท้าย เพราะทุกค่ายรถยนต์กำลังเผชิญปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
มากด้วยข้อบังคับด้านความปลอดภัย, มาตรฐานการปล่อยค่าไอเสียและการแข่งขันด้านความต้องการลูกค้า ประกอบกับ
สภาวะเศรษฐกิจในญี่ปุ่นชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะทำให้บริษัทรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นจะต้องเปลี่ยนแปลงและปรับตัว
ครั้งยิ่งใหญ่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันกับคู่แข่งขันในระดับโลก

2016_02_12_Toyota

มูลค่าตลาดรถยนต์ในญี่ปุ่นทุกยี่ห้อรวมกัน 8 แบรนด์มีพลังมูลค่ารวมมากถึง 4.4 ล้านล้านดอลลาร์ โดยมีผู้นำตลาดคือ
Toyota และแบรนด์ชั้นนำที่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่าง Honda และ Nissan ครอบครองตลาดรถยนต์ญี่ปุ่นอยู่

สัญญาณแรกที่บ่งบอกว่ามันจะเข้าสู่ยุคการปรับสภาพคล่องของอุตสาหกรรมรถยนต์ในญี่ปุ่นก็คือ การซื้อหุ้น Daihatsu
3 พันล้านดอลลาร์โดย Toyota ซึ่ง Takaki Nakanishi นักวิเคราะห์จาก Jefferies Group LLC ระบุว่าอุตสาหกรรม
รถยนต์ในญี่ปุ่นจะต้องมีผู้ผลิตไม่เกิน 3 รายเท่านั้น เนื่องจากต้นทุนการพัฒนาและผลิตที่สูงขึ้นเพื่อทำให้รถปล่อยไอเสีย
สะอาด, ปลอดภัยและมีระบบการเชื่อมต่อที่ดี

เขาบอกว่าการมีผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศเพียง 1 หรือ 2 ราย จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การที่มีบริษัทรถ
จำนวนมากเกินไป ทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดใช้ปริมาณมากเกินไป หากมีการควบรวมกันก็จะช่วยลดการสูญเสีย
ทรัพยากรได้

สำหรับบริษัทรถยนต์พลเมืองชั้นสอง (Second Tier) อย่าง Daihatsu ก็มีเหตุผลที่ปล่อยให้ Toyota เข้าครองครอง
กิจการทั้งหมด เพราะ Daihatsu ยังต้องพัฒนาระบบไฟฟ้า, ระบบขับขี่อัตโนมัติและระบบการเชื่อมต่อตามกลไกโลก จึง
จำเป็นต้องควบรวมกับ Toyota เพื่อลดต้นทุนการพัฒนาไปได้อีกเปราะ

อุปสรรคในการควบรวมกิจการเพื่อความอยู่รอดคือ Honda, Mitsubishi และ Mazda ไม่มีนโยบายถือหุ้นไขว้ข้ามบริษัท
รถ พวกเขาต้องการเป็นบริษัทรถถือหุ้นเดี่ยวเท่านั้น

และนั่นก็ทำให้ไม่มีบริษัทรถยนต์รายใดที่มีสถานะทางการเงินเทียบเคียงกับ Toyota ที่มีเงินสดสำหรับกระแสระยะสั้น
มากถึง 5.2 ล้านล้านเยน หรือรวมเป็นจำนวนเงินมากกว่าปีงบประมาณบริษัทรถญี่ปุ่น 6 ค่าย

ทั้ง Suzuki และ Toyota ยืนยันตรงกันว่าทั้งคู่จะไม่มีแผนร่วมกันทำอะไร แต่ Takaki Nakanishi ก็วิเคราะห์ไว้ว่ายังไง ๆ
ทั้งคู่ก็ต้องมี Something ก่อนที่จะถึงปี 2020 ความสัมพันธ์ระหว่าง Toyota และ Daihatsu คงจะคล้ายกับที่สามีโทร
ตามหาภรรยาที่หายไปตอนดึกเพื่อให้กลับมาเลี้ยงลูก ส่วน Toyota และ Suzuki ก็เพิ่งเริ่มแลกเปลี่ยนไดอารี่และจับมือไป
ด้วยกัน เพราะตอนนี้ Toyota มีหุ้น Suzuki อยู่ราว 5% แล้วซึ่งมันก็ง่ายต่อการสานสัมพันธ์

แม้ Honda ยังยึดมั่นความเป็น Standalone อยู่ แต่ Honda ก็ยอมพลิกกลยุทธ์ความร่วมมือด้วยการจับมือกับ GM เพื่อ
ช่วยกันผลักดันเทคโนโลยี Fuel Cell ด้วยกัน และอาจจะควานหาพันธมิตรสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่อื่น ๆ

การเป็นพันธมิตรร่วมกันอย่าง Renault-Nissan เป็นตัวบ่งชี้ได้ดีว่าการควบรวมกิจการและทำให้ผู้ถือหุ้นสองฝ่ายพอใจ
เป็นเรื่องที่ยาก แต่ Takaki Nakanishi ก็มองว่าการควบรวมและการเป็นพันธมิตรคือสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้หากอยากอยู่รอด
ในอุตสาหกรรมยานยนต์ สเกล คือตัวกำหนดการแข่งขัน นี่จึงเป็นเหตุผลของการควบรวมเพื่อรวมพลังความสามารถใน
การแข่งขันกันได้

ที่มา : Bloomberg