สถานภาพของ Toyota ณ ตอนนี้ถือว่ามีสถานะที่ค่อนข้างแข็งแกร่งเพียงพอที่จะล้มคู่แข่งอย่างสบาย ๆ แต่ถ้า
เปรียบเทียบศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ Toyota ก็ยังไม่พอใจ เพราะใคร ๆ ก็รู้ว่าปี 2016 คือปีที่ตลาดรถยนต์ทั่วโลกซบเซาอัน
เนื่องจากพิษเศรษฐกิจ, พิษภาษีมลภาวะในหลาย ๆ ประเทศและภาวการณ์ซื้อรถที่อิ่มตัวลง

และนั่นจึงเป็นที่มาของการหาทางขยับยอดขายด้วยวิธีอื่น

2016_01_28_Daihatsu

Toyota มีแผนที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดที่เหลือของ Daihatsu อีก 3.1 พันล้านดอลลาร์ (ปัจจุบัน Toyota ถือหุ้นส่วนใน
Daihatsu มากถึง 51.2%) แถมยังปฏิเสธข่าวลือที่ว่า Toyota จะเข้าไปร่วมมือกับ Suzuki อีกด้วย

การเข้ามาถือหุ้นทั้งหมดของ Daihatsu ก็จะช่วยทำให้ Toyota สามารถสร้างแบรนด์ Daihatsu อันเป็นแบรนด์รถราคา
ประหยัดได้ดีขึ้นและมีส่วนร่วมในการลดค่าใช้จ่ายลงไปอีกขั้น

Toyota แถลงการณ์ว่าพวกเขามีแผนพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการทำธุรกิจกับ Daihatsu ไม่ว่าจะเป็นการเป็น
พันธมิตรหรือการปรับโครงสร้างองค์กร รวมไปถึงการครอบครองบริษัทอย่างสมบูรณ์แบบ

ในปี 2015 ที่ผ่านมา หน่วยรถยนต์ Daihatsu ถือเป็นหน่วยงานที่เป็นจุดอ่อนมากที่สุดใน Toyota Motor เมื่อ
เปรียบเทียบกับ Lexus แบรนด์หรูหรือ Hino เจ้าใหญ่แห่งรถบรรทุก

Daihatsu มียอดขายประจำปี 2015 หดตัวลง 13.3% จนเป็นตัวถ่วงทำให้ยอดขายรวมในเครือ Toyota หดลง 0.8%

Christopher Richter นักวิเคราะห์อาวุโสจาก CLSA ได้แสดงความคิดเห็นว่า แบรนด์ Daihatsu สามารถผลักดันให้
กลายเป็นแบรนด์ Budget Car ได้ง่ายกว่าการเจรจากับ Suzuki เหมือนกับที่ Volkswagen มี Skoda, Renault มี
Dacia, Nissan มี Datsun และนั่นเป็นอาวุธที่ดีในการบุกตลาดเกิดใหม่หรือตลาดอินเดีย ซึ่งฝ่าย Suzuki เองก็คงไม่กล้า
ร่วมมือกับ Toyota

ความสัมพันธ์ระหว่าง Toyota และ Daihatsu เริ่มตั้งแต่ปี 1967 จนกระทั่งปี 1998 Toyota ก็เริ่มเข้ามาครองครอง
Daihatsu มากขึ้น

เราต้องจับตากันต่อไปว่า การรื้อฟื้นแผนธุรกิจรถยนต์สำหรับตลาดเกิดใหม่อีกครั้งของ Toyota จะประสบความสำเร็จ
หรือไม่? เพราะที่ผ่านมา Toyota ไม่ค่อยประสบความสำเร็จกับการสร้างรถยนต์ให้โดนใจลูกค้ากลุ่มนี้

ที่มา : Reuters