29 มกราคม 2011 อาจเป็นวันธรรมดาวันหนึ่งของผู้คนทั่วไป แต่สำหรับวงการรถยนต์แล้ว นี่คือวัน
ที่มีความสำคัญยิ่ง
เพราะในวันเดียวกันนี้ เมื่อ 125 ปีที่แล้ว นักประดิษฐ์ชาวเยอรมันนามว่า Carl Benz
ได้จดสิทธิบัตรในการประดิษฐ์คิดค้นรถยนต์คันแรกของโลกซึ่งมีชื่อว่า “Benz Motorwagen” เมื่อวันที่
29 มกราคม ค.ศ. 1886 ทำให้วันนี้ของทุกปีกลายเป็นวันครบรอบการถือกำเนิดรถยนต์คันแรกในโลก
และในเวลาไม่นานนักหลังจากนั้น รถยนต์สมัยใหม่คันแรก Mercedes 35 HP ได้วางจำหน่ายเมื่อ
เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1900 รถยนต์รุ่นนี้ถือเป็นต้นแบบของรถยนต์ส่วนบุคคลที่ใช้กันอยู่จวบจนปัจจุบัน
โดยมีการใช้หลักการติดตั้งเครื่องยนต์ตรงส่วนหน้ารถและขับเคลื่อนด้วยแรงส่งของล้อด้านหลังสองล้อ
อันเป็นรูปแบบระบบขับเคลื่อนทั่วไปสำหรับรถยนต์ที่มีการผลิตใช้กันมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้
Mercedes 35 HP ยังเป็นยานพาหนะคันแรกที่ส่งให้แบรนด์ Mercedes กลายเป็นตำนานในหน้า
ประวัติศาสตร์ยานยนต์ในฐานะแบรนด์รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังเครื่องยนต์/จักรกล ยี่ห้อแรกของโลก
นับแต่นั้นเป็นต้นมา รถยนต์ตราดาว จากเมืองชตุทท์การ์ต ก็ได้เปล่าประกายรัศมีเจิดจรัส ท่ามกลาง
ความเปลี่ยนแปลงของโลก ที่เกิดขึ้นมากมายหลังจากนั้น สิ่งที่ทำให้ Mercedes-Benz สามารถยืนหยัด
ในตำแหน่งผู้นำอุตสาหกรรมรถยนต์โลก ทุกวันนี้ได้ มีด้วยกันหลายประการ เริ่มกันตั้งแต่ งานออกแบบ
ของรถยนต์รุ่นต่างๆ อันเป็นเอกลักษณ์ ทันสมัย รวมถึงคุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัย และนวัตกรรม
ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อาทิ หลังช่วงสงครามโลกที่สอง Mercedes-Benz 300 SL หรือ
“เบนซ์ปีกนกนางนวล (Gullwing)” สุดหรูที่ได้ชื่อว่าเป็น Design Icon แห่งยุค แม้ในปัจจุบัน รถรุ่นนี้
ยังเป็นที่ต้องการของสาวก Benz ทั่วไปและได้รับการโหวตให้เป็น “รถสปอร์ตแห่งศตวรรษ” โดยคณะ
กรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ในปี 1999 และหนึ่งในโมเดลที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ซีรีส์
“เบนซ์หางปลา (Fintail)” ที่ประกอบด้วยรุ่น 220, 220 S และ220 SE ในปี 1959 เป็นตระกูลรถยนต์นั่ง
Sedan ที่มีความโดดเด่นด้านการออกแบบส่วนหลังของรถที่ทั้งสวยงามและให้ความสะดวกในการ
กะระยะ เมื่อเข้าจอดในช่องจอดรถแคบๆ
นอกจากนี้ Mercedes-Benz ยังถือเป็นผู้นำนวัตกรรมด้านความปลอดภัย และสานต่อความทุ่มเท
ด้านการพัฒนาความปลอดภัยอย่างจริงจังมาโดยตลอด ด้วยเป้าหมายพันธกิจหลักในการ ลดอัตราการ
เกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ให้เป็นศูนย์ ดังนั้นนวัตกรรมชั้นนำต่างๆ ที่ Mercedes-Benz เริ่มต้นพัฒนาขึ้น
จึงได้กลายเป็น บรรทัดฐานในการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ อาทิ เบาะ
ที่นั่งสำหรับผู้โดยสารซึ่งได้รับ สิทธิบัตรในปี 1951, ระบบเบรค ABS ระบบเบรคป้องกันล้อล็อคในปี 1978
ถุงลมนิรภัยที่นำมาใช้ตั้งแต่ปี 1981 รวมไปถึงระบบทรงตัว อัตโนมัติ ESP® (Electronic Stability Program)
ในปี 1995 และระบบปกป้อง PRE-SAFE® ในปี 2002 ทุกวันนี้ นวัตกรรมเหล่านี้กลายเป็นอุปกรณ์
มาตรฐานของผู้ผลิตรถยนต์ทั่วไปในปัจจุบัน
ขณะเดียวกัน ก็ยังเป็นผู้นำนวัตกรรมด้านความสะดวกสบาย และพละกำลังในระบบขับเคลื่อน
ในปี 2003 Mercedes-Benzได้พัฒนาเกียร์อัตโนมัติ 7 จังหวะ และนำมาใช้กับรถยนต์นั่งโดยสาร
รุ่นต่างๆ มากมาย อาทิ E 500, S 430, S 500, CL 500 และ SL 500 V8 เป็นครั้งแรกของโลก โดย
ล่าสุดในปี 2010 เกียร์อัตโนมัติลูกใหม่นี้ก็ได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบที่เรียกว่า 7G-TRONIC
PLUS และใช้กับรุ่นท็อปโมเดลอย่าง CL-Class และ S-Class คู่กับเครื่องยนต์แบบ BlueDIRECT
และที่สำคัญ Mercedes-Benz ยังเป็นแบรนด์ผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการสร้างยานพาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในแง่ของความพยายามใช้พลังงานทางเลือก
Mercedes-Benz แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในด้านนี้มาตั้งแต่ปี 1906 โดยได้มีการประดิษฐ์คิดค้น
เทคโนโลยี Hybrid จากพลังงานแบตเตอรีอิเล็คทรอนิคมาใช้ควบคู่กับน้ำมันเชื้อเพลิง ในช่วงปลาย
ทศวรรษ 60 ความก้าวหน้าในการพัฒนาพลังงานทางเลือกเดินทางมาถึงจุดที่มีความหลากหลายและ
น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีการทดสอบเชื้อเพลิงทางเลือกมากมาย อาทิ ก๊าซธรรมชาติ เชื้อเพลิง
ที่มีสารต้นเป็นแอลกอฮอล์ และไฮโดรเจน ในปี 1994 Mercedes-Benz ได้ช็อควงการยานยนต์
ครั้งสำคัญด้วยการเปิดตัว NECAR 1 ซึ่งเป็นรถยนต์ Fuel Cell จนล่าสุดในปี 2010 รถยนต์พลังงาน
ไฟฟ้าจากแบตเตอรีก็ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกันถึง 3 รุ่น A-Class E-Cell, Vito E-Cell และ B-Class F-Cell
การสร้างสรรค์รถยนต์ในซีรีส์ต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นนำมาซึ่งแนวคิด BlueEFFICIENCY
ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ทาง Mercedes-Benz นำมาปรับใช้กับการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ มุ่งเน้นประสิทธิภาพ
ทางด้านสมรรถนะและความรับผิดชอบที่มีต่อสภาพแวดล้อมและทรัพยากรของโลกเข้าด้วยกัน
ในปีนี้ จึงถือเป็นปีที่ครบรอบ 125 ปีของรถยนต์ Mercedes-Benz และการมีรถยนต์ในโลกนี้
ไปพร้อมๆกัน
———————————————-///———————————————-