จุดประสงค์หลักในการพัฒนารถยนต์อัตโนมัติขึ้นมานั้นเพื่อที่จะลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนให้
มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งทฤษฎีนี้เป็นไปได้หากรถยนต์ทุกคันที่อยู่บนท้องถนนล้วนเป็นยานพาหนะไร้
คนขับ แต่ในเมื่อรถยนต์อัตโนมัติมาเจอกับรถยนต์ที่มีคนขับหลากหลายรูปแบบ ปัญหาจึงเกิดขึ้นเนื่องจาก
การทดสอบบนถนนจริงพบว่ารถที่มีมนุษย์เป็นคนขับนี่หละที่น่ากลัวที่สุดสำหรับรถยนต์อัตโนมัติ

self-driving-volvo

Raj Rajkumar ผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์ทดสอบรถยนต์ขับขี่อัตโนมัติหรือ GM-Carnegie Mellon Autonomous
Driving Collaborative Research Lab ได้ทำการทดสอบโดยการนำรถยนต์ขับขี่อัตโนมัติไปวิ่งจริงบนถนน
หลวงเพื่อสาธิตให้สมาชิกสภา Congress ของประเทศสหรัฐว่าระบบดังกล่าวมีปัญหาอะไรบ้าง จริงอยู่ที่มัน
สามารถทำงานได้อย่างดีเยี่ยมเวลาอยู่ในสนามปิด แต่พอรถยนต์ขับขี่อัตโนมัติลงสู่ถนนจริงนั้นกลับจะกลาย
เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุมากกว่าข้อผิดพลาดของมนุษย์เสียอีก

self-driving-cars

Rajkumar ตั้งข้อสังเกตว่า sensor ตรวจจับการเคลื่อนไหวและระบบการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นถูกตั้งค่ามาให้
เคารพกฏจราจรเสมอ ซึ่งนั่นแตกต่างจากมนุษย์ที่จำเป็นต้องแหกกฏบ้าง เช่น ปาดหน้าคันอื่นระยะกระชั้นชิด
เพื่อหักหลบอุบัติเหตุหรือการใช้ความเร็วเกินกำหนดเวลาที่เร่งรีบ ซึ่งเมื่อระบบคอมพิวเตอร์เจอพฤติกรรมแบบนี้
เข้าไปก็เบรกกันหัวทิ่มจนรถคันข้างหลังที่ขับตามมาจะชนท้ายเอา

นอกจากนี้เพียงแค่มีคนเดินเข้ามาใกล้ๆรถก็เบรกกะทันหันเองแล้วซึ่งกลายเป็นว่ามนุษย์ทั้งในรูปแบบคนเดิน
ถนนและคนขับนั้นเป็นศัตรูของระบบขับขี่อัตโนมัติไปโดยปริยาย อย่างไรก็ดีมีข้อคิดเห็นจาก Bloomberg ที่เสนอ
programmer มาให้ปวดหัวโดยถามว่าในกรณีฉุกเฉินที่ต้องเลือกระหว่างความเป็น-ความตาย ระบบจะเลือกอะไร
ระหว่างส่งเจ้าของรถลงเหวกับประสานงานกับรถบรรทุกนักเรียนที่มีเด็กขึ้นมาเต็มคันรถ อันที่จริงแล้วต่อให้เป็น
มนุษย์แท้ๆอาจจะตอบไม่ได้เสียด้วยซ้ำว่าต้องเลือกข้อใด

maxresdefault

ดังนั้นจึงมีข้อเสนอว่าถ้าเป็นไปได้ระบบพวกนี้ควรจะเรียนรู้วิธีการขับรถที่หลากหลายของมนุษย์และตั้งค่าให้
สามารถปรับตัวได้บนถนนซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะเป็นจริงmี่คอมพิวเตอร์จะเข้าใจพฤติกรรมอันหลาก
หลายของมนุษย์ได้หมด

.

ที่มา: autoevolution