ค่านิยมการปล่อยอัพเดทผ่านทางระบบเครือข่ายตัวรถ โดยที่เจ้าของรถไม่ต้องนำรถเข้ามาที่ศูนย์บริการนั้นกำลังเป็นที่นิยม รวมไปถึงหารเพิ่มและติดตั้งฟีเจอร์ ออฟชั่น ในภายหลัง ผ่านการซื้อขาดหรือสมาชิกรายเดือน/ปี (Subscription) บน Platform ที่บริษัทรถสร้างขึ้นมาเอง กำลังเป็นกระแสยอดฮิต ที่หลายค่ายมองว่า นี่คือช่องทางของการแสวงหารายได้ไปโดยปริยาย จนมีนักวิเคราะห์การตลาดในวงการรถยนต์ต่างนำไปถกเถียงและตีแผ่ตัวเลขรายได้ต่างๆ

อย่างไรก็ตามค่าย Volvo กลับไม่คิดเช่นนั้น เนื่องจากลูกค้าคนสำคัญที่จ่ายเงินเป็นจำนวนกว่า 100,000 เหรียญสหรัฐ (3,475,000 บาท) คงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมาจ่ายเงินเพิ่มเพียงเล็กน้อย เพื่อซื้ออุปกรณ์สำคัญเพิ่มเติม

ในขณะที่คู่แข่งอย่าง BMW Mercedes-Benz และ Audi คิดต่าง และเล็งเห็นช่องทางในการสร้างรายได้จากส่วนนี้ ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้รถ EQ series หรือรถยนต์พลังงานไฟฟ้าล้วน ต้องการอัพเกรดซอฟต์แวร์เพื่อเพิ่มพละกำลังและสร้างอัตราเร่งได้เร็วทันใจมากยิ่งขึ้นจะต้องจ่ายค่าสมาชิกรายปีเป็นจำนวนเงินกว่า 1,200 เหรียญสหรัฐ (41,700 บาท)

 

ด้วยเหตุนี้เองจึงมีบทวิเคราะห์จากเราผู้เชี่ยวชาญการพยากรณ์และการคาดการณ์ระบบเศรษฐกิจของธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์จากสถาบัน UBS ได้ทำรายงานเป็นจำนวนมากกว่า 91 หน้าออกตีพิมพ์ในเดือนพฤศจิกายน 2022 พูดถึงรายได้ที่เกิดจากการอัพเดทเพิ่มเติมผ่านระบบดังกล่าว จะสามารถสร้างเม็ดเงินสะพัดถึง 700,000,000 เหรียญสหรัฐภายในปี 2030

อย่างไรก็ตามทาง Volvo ยังคงเสนอทางเลือกการจ่ายเงินสำหรับ option ความปลอดภัยบางอย่างที่เป็นทางเลือกเพิ่มเติม มิใช่ฟีเจอร์สำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วยังคงต้องการการพัฒนาร่วมไปกับการใช้งานจริงผ่านกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้

กว่านั้นทางค่ายยังเปิดตัวศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีความปลอดภัยและระบบการสื่อสารภายในตัวรถที่ใช้สถาปัตยกรรมและศาสตร์ใหม่ ตั้งอยู่ที่เมือง Stockholm ประเทศสวีเดน ซึ่งในขณะนี้กำลังง่วนอยู่กับการพัฒนา Platform ออนไลน์สำหรับการขายรถโดยไม่ต้องใช้ศูนย์บริการเป็นสื่อกลาง เพื่อให้รองรับการจำหน่ายรถ EV อย่างเต็มตัว ภายในปี 2030 นี้ ที่ในปัจจุบันสร้างยอดขายเป็นสัดส่วนสูงถึง 1 ใน 5

 

 

นอกจากนี้ ทาง Volvo ยังตั้งเป้าพัฒนาระบบซอฟท์แวร์สำหรับการทำงานของตัวรถ ให้เป็นเทคโนโลยีของตน (in-house) ได้เป็นสัดส่วนสูงถึง 50%

อย่างไรก็ตามระบบดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับการทำงานของอุปกรณ์และชิ้นส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยเป็นหลัก เนื่องจากทาง Volvo ให้ความสำคัญในส่วนนี้มาโดยตลอด

ในขณะที่ระบบสื่อสารภายในตัวรถ ทาง Volvo กลับให้ความเห็นว่า ควรยกให้เป็นความรับผิดชอบของบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น Google ที่มีระบบสั่งงานด้วยเสียงอัจฉริยะ เป็นต้น รวมไปถึงฮาร์ดแวร์ของระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ บนแผงวงจรฮาร์ดแวร์

ที่มา: Autoblog