หลังจากที่ Hyundai เปิดตัว IONIQ 6 พร้อมวางจำหน่ายในยุโรปด้วยรุ่น First Edition สร้างความฮือฮาให้กับวงการรถยนต์กลุ่มพลังไฟฟ้าล้วน เนื่องจากมีรูปทรงที่แปลกแหวกแนว ซึ่งนอกเหนือจากความสวยงามแล้ว ตัวรถยังมีประสิทธิภาพเรื่องอากาศพลศาสตร์ที่ดีเยี่ยม ซึ่งนั่นก็คือเหตุผลที่ Hyundai ตัดสินใจทุ่มทุนสร้าง จนกระทั่ง Hyundai ได้เผยวิธีการออกแบบเส้นสายเหล่านี้

Ioniq 6 จึงได้นำเส้นสายที่ถูกใช้ตั้งแต่ยุค 1930 ผสมผสานกับงานออกแบบสมัยใหม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกพัฒนาและวิจัยในอุโมงค์ลมตั้งแต่เริ่มโปรเจครุ่นนี้ โดยหัวหน้าแผนกออกแบบของ Hyundai เผยว่าได้นำ Stout Scarab ปี 1947 รถแวนอเมริกันมาเป็นต้นแบบ ซึ่งมีความล้ำสมัยจากเส้นสาย Streamline รวมไปถึงรถต้นแบบสุดล้ำยุค Phantom Corsair และรถต้นแบบรุ่นแรกของแบรนด์ Saab Ursaab

 

ตัวถังโดยรวมถูกรังสรรค์จากรูปทรงของปีกเครื่องบิน โดยเมื่อสังเกตทิศทางของกระแสลมที่ไหลผ่านหลังคาและใต้ท้อง จะเกิดแรงยกเมื่อขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูง ทาง Hyundai จึงได้ติดตั้งสปอยเลอร์ เพื่อสร้างแรงกดตัวถังและเพิ่มเสถียรภาพการขับขี่

 

ในส่วนของสปอยเลอร์หลังที่สามารถพับเก็บได้ ได้รับแรงบันดาลใจจากชิ้นส่วนของเครื่องบินรบอังกฤษ Supermarine Spitfire สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อให้รีดกระแสลมที่ไหลต่อเน่องจากหลังคา โดยยังช่วยลดการหมุนเวียนของอากาศบริเวณด้านท้ายรถ รวมไปถึงการลดแรงต้านอากาศด้านข้างของตัวรถ อีกทั้งยังใช้แรงบันดาลใจ จากสิ่งที่มีชีวิตในธรรมชาติ อย่างท่าทางของเหยี่ยว Peregrine falcon ขณะบุกล่าเหยื่อ ด้วยความเร็วสูงกว่า 390 กม./ชม.

 

Ioniq 6 ถูกทดสอบภายในอุโมงค์ลม ที่ประกอบไปด้วยพัดลมซึ่งสามารถสร้างกระแสลมที่มีความเร็วสูงถึง 200 กม./ชม. จากพัดลมกำลังสูงกว่า 3,400 แรงม้า ด้วยเป้าหมายที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพทางอากาศพลศาสตร์ได้ดีขึ้นกว่า 10%

 

โดยเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังรายละเอียดทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ทาง Hyundai ได้กล่าวถึง การใช้เอฟเฟคการเปลี่ยนแปลงรูปทรงตัวรถขณะยังอยู่ในกระบวนการออกแบบ ที่มีความละเอียดสูง บริเวณชิ้นส่วนสปอยเลอร์หลัง ซึ่งผ่านการวิเคราะห์พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ computational fluid dynamics (CFD) ผ่าน Supercomputer มาแล้วกว่า 70 รูปทรง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังติดตั้งชิ้นส่วนต่างๆ ที่มีรูปทรงเฉพาะสามารถปรับทิศทางกระแสลมได้ตามต้องการภายใต้ชิ้นส่วนที่เรียกว่า

  • ช่องรับลมบริเวณกันชนหน้า ที่ปรับการเปิด-ปิด ได้โดยอัตโนมัติ Active air flap
  • ม่านอากาศบริเวณซุ้มล้อ Wheel air curtains
  • แผ่นลดช่องว่างระหว่างยางและซุ้มล้อ Wheel gap reducers
  • ครีบจัดกระแสลมบริเวณใต้ไฟท้าย Separation traps
  • ครีบจัดกระแสลมบริเวณซุ้มล้อใต้กันชนหน้า Wheel deflectors

 

ทั้งหมดนี้ ทำให้ Hyundai สามารถเอาชนะเป้าหมายและทำให้ IONIQ 6 กลายเป็นรถเกาหลีที่มีค่าสัมประสิทธิ์แรงต้านอากาศ (Cd.) ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ 0.21 เท่านั้น เพิ่มระยะทางวิ่งต่อ 1 การชาร์จ ได้สูงสุด 614 กิโลเมตร (มาตรฐาน WLTP) และยังมีรูปโฉมที่สวยไร้กาลเวลาอีกด้วย

ที่มา: Insideevs


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:

Hyundai Ioniq 6 First Edition รถ EV ตัวถังซีดานสุดล้ำ มอเตอร์คู่ขับเคลื่อน 4 ล้อ วิ่งได้ไกลสุด 583 กิโลเมตร จำนวนจำกัดเพียง 2,500 คัน สำหรับชาวยุโรป