ประวัติศาสตร์ อุตสาหกรรมรถยนต์ ของเมืองไทย มีเรื่องราวที่น่าภูมิใจ ให้ต้องจารึกกันอีกแล้ว
เพราะเมื่อวานนี้ Nissan Motor Thailand ได้ทำพิธี เริ่มการส่งออก รถยนต์ Nissan March
จากโรงงานของตน บนถนนบางนา-ตราด กม.21 และ 22 ไปยังตลาดญี่ปุ่น อย่างเป็นทางการ

โดยมี Carlos Ghosn ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ Hiroto Saikawa รองประธานบริหาร
และประธานกรรมการบริหารภูมิภาคเอเซีย บริษัท Nissan Motor Company และตัวแทนจากภาครัฐบาล
โดย ฯพณฯ ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รวมเป็นสักขพยาน ในพิธีส่งรถยนต์ Nissan March ขึ้น เทรลเลอร์
เพื่อเตรียมขนส่งไปยังท่าเรือ A5 ในบริเวณ ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ขึ้นเรือขนส่ง ไปยังประเทศญี่ปุ่น

พิธีกรของงานในวันนั้น คุณ ฮาร์ต สุทธิพงษ์ ทัตพิทักษ์กุล เป็นสักขีพยานร่วมกับบรรดาผู้สื่อข่าวทั้งใน
และต่างประเทศ ไปจนถึง พนักงานของ Nissan ที่โรงงาน บางนา-ตราด กม 21 – 22 จำนวนมาก

นี่ถือเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของประเทศไทยที่มีต่อภูมิภาคเอเชีย ในฐานะฐานการผลิต
รถยนต์ขนาดเล็กรุ่นใหม่ที่จะจำหน่ายทั่วโลก ทั้งนี้ประเทศไทยยังเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำ ที่มี
ศักยภาพในการแข่งขันด้านการผลิต หรือ LCC (Leading Competitive Countries) เช่นเดียวกับ
ประเทศจีน อินเดียและเม็กซิโก โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่ม LCC นี้คือ ประเทศที่มีโรงงานผลิต
ที่ผลักดันให้ใช้ศักยภาพการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
ในตลาดสากล ด้วยการผลิตรถยนต์ที่ได้มาตรฐานและคุณภาพสูงสุดภายใต้ต้นทุนที่สามารถแข่ง ขันได้

ภายในปีงบประมาณ 2010 นี้ Nissan Motor Thailand วางแผนที่จะส่งออก Nissan March จำนวนกว่า
70,000 คันไปยังตลาดเอเชียและโอเชียเนีย (ไม่รวมประเทศจีน) ขณะเดียวกันก็ผลิตเพื่อป้อนสู่ตลาด
ประเทศไทยที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดย NMT จะส่งออกรถยนต์และรถกระบะทั้งสิ้น 150,000 คัน
ในปีงบประมาณนี้

หากย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์วงการรถยนต์บ้านเราแล้ว ต้องถือว่า นี่เป็นครั้งแรก ที่ Nissan
เมืองไทย ผลิตรถยนต์นั่งส่งกลับไปขายในญี่ปุ่น แม้ว่าจะถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์ รายที่ 3 ที่ทำเช่นนี้
โดยก่อนหน้านี้ มีทั้ง Honda City รุ่นที่ 2 ซึ่งส่งไปขายในญี่ปุ่นด้วยชื่อ Honda FiT ARIA และ
Chevrolet Zafira ที่ถูกส่งไปขายในญี่ปุ่น ผ่านแบรนด์ Subaru ด้วยชื่อ Subaru Traviq ก็ตาม

แต่ในการวางแผนเตรียมการผลิต Nissan March Nissan ตั้งเป้า ให้ ทั้ง 4 โรงงานหลักของ
รถยนต์รุ่นนี้ คือทั้ง ไทย อินเดีย จีน และ แม็กซิโก เป็นผู้ผลิตรถทั้งคัน หรือแยกชิ้นให้
โรงงานในประเทศต่างๆ ที่จะรับไปประกอบขึ้นรูปเป็นคันรถกันเอง เช่นที่อินโดนีเซีย
มีจำนวนรวมให้ได้มากถึง 1 ล้านคัน ภายในปีแรกทีเปิดตัว

โดยกำลังการผลิตของ March  1 ใน 3 จากอดทั้งหมด จะถูกส่งให้กับผู้จำหน่ายในเมืองไทย
ขณะที่ อีก 2 ใน 3 ที่เหลือ จะเป็นตลาดส่งออก ทั้งญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

ฐานการผลิตของเมืองไทย ไม่เพียงแต่จะรับหน้าที่ ผลิต March รุ่นมาตรฐานส่งให้ตลาดญี่ปุ่น
หากแต่ยังจะดูแลการผลิต รถรุ่นพิเศษ เช่น Nissan MARCH Bolero (By AUTECH Japan)
ซึ่งเป็นรุ่นตกแต่ง ด้วยโครเมียม และเอาใจกลุ่มลูกค้าสตรี ที่อยากได้รถรุ่น March ที่มีความ
แตกต่างออกไป (ภาพถ่ายนี้ ถือเป็นการ เปิดเผยครั้งแรก สู่สายตาของสาธารณชน
อย่างไม่เป็นทางการ ของ March Bolero ครั้งแรกใน Headlightmag.com)

รายละเอียดของตัวรถจะแตกต่างจาก March ปกติ นิดหน่อย เช่น กระจังหน้าโครเมยม
บนเปลือกกันชนหน้า มีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นพิเศษ เอกลักษณ์ เฉพาะรถรุ่น Bolero
ล้ออัลลอย 15 นิ้ว ลายพิเศษ สีตัวถังเป็นสีน้ำตาล เฉดพิเศษ มีสัญลักษณ์ March Blero
แปะที่ฝาประตูห้องเก็บสัมภาระ ฯลฯ อีกมากมาย

การย้ายฐานการผลิตรถยนต์ Nissan March มายังเมืองไทย จะส่งผลให้ โรงงานของ Nissan ในญี่ปุ่น
เข้าสู่แผน เริ่มลดกำลังการผลิต และ ยุติการผลิต Nissan March รุ่นเดิมทั้งหมด ในระยะเวลาหลังจากนี้
อีกไม่นานนัก หมายความว่า นับจากนี้ Nissan March จะไม่มีการผลิตในประเทศญี่ปุ่นอีกต่อไป

สำหรับราคาของ March เวอร์ชันญี่ปุ่น ทุกรุ่น จะมีการประกาศ เมื่อถึงเวลา เปิดตัว อย่างเป็นทางการ
ในตลาดแดนปลาดิบ ภายในเดือน กรกฎาคม – สิงหาคม นี้

ซึ่งนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการตอบคำถาม ในช่วง Q & A ที่ Carlos Ghosn และผู้บริหาร Nissan
ทั้งญี่ป่น และคนไทย เปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวทั้งในเมืองไทย และต่างประเทศ ได้ซักถามกัน
อย่างเต็มที่ เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง ประเด็นส่วนใหญ่ พุ่งไปที่เรื่องของ Nissan March เป็นหลัก
แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกด้วย เช่นในเรื่องที่จะหยิบยกบางส่วน
มาให้ได้อ่านกัน ดังนี้

– แผนการทำตลาด Nissan LEAF รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ใน ภูมิภาคอาเซียน จะมีหรือไม่?

Carlos Ghosn บอกว่า การทำตลาดรถรุ่นนี้ จะต้องแยกออกมาเป็น 2 กลุ่ม คือ ตลาด Mass
ในประเทศที่มีการสนับสนุนด้านภาษี พิเศษให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์พลังงานสะอาดเหล่านี้
เช่นใน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ส่วนตลาด Niche นั้น มีไว้สำหรับประเทศที่พร้อม แต่ขนาด
ของตลาดไม่ใหญ่นัก อย่างไรก็ตาม Nissan ยังไม่มผนการนำ Leaf เข้ามาทำตลาดใน
ภูมิภาคเซาท์อิสต์ เอเซีย อย่างนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่า รัฐบาลในแต่ละประเทศ ของภูมิภาคนี้
ยังไม่ได้ให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ในเรื่องการให้ส่วนลดด้านภาษีแก่ลูกค้า ที่คิดจะ
ซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเหล่านี้ อีกทั้งยังไม่มีสาธารณปโภค อย่างตู้เสียบชาร์จไฟ ตาม
ถนนหนทาง หรือสถานที่สาธารณต่างๆ รองรับมากนัก

– Nissan Juke กำลังเตรียมขึ้นไลน์ประกอบในอินโดนีเซีย Nissan มองเห็นอะไรถึงได้ลงทุน
ที่จะผลิตรถรุ่นนี้ ในประเทศนั้น เพื่อส่งขายในภูมิภาคอาเซียน?

คำตอบนี้ Ghosn โยให้ Toru Hasegawa ประธาน Nissan Motor Thailand เป็นผู้ตอบคำถาม
และ แน่นอน เขามองว่า ตลาดในกลุ่ม รถยนต์ ครอสโอเวอร์ SUV นั้น ยังมีช่องว่างอยู่
นั่นคื กลุ่มรถยนต์ประเภทนี้ ที่มีตัวถังเล็กกว่า X-Trail หรือ Honda CR-V ดังนั้น จึงมี
ศักยภาพการเติบโตของตลาดกลุ่มนี้ ในภูมิภาคนี้อีกมาก

– 10 ปีที่ผ่านมา ของ Nissan เมืองไทย ในสายตาของ Carlos Ghosn เป็นอย่างไร?

“ถือว่า ดีพอใช้ได้ แต่ยังต้องทำให้ดียิ่งขึ้นกว่านี้อีก เพราะเมืองไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการ
เจริญเติบโต สูง แต่ ที่ผ่านมา Nissan เอง ยังทำผลงานอกมาได้ไม่เต็มที่นัก ลองคิดดูว่า ส่วนแบ่ง
การตลาดของเรา ในเมืองไทย ไม่ถึง 7 เปอร์เซนต์ ! ดังนั้น สิ่งที่ ต้องเร่งทำคือ หารถยนต์รุ่นใหม่ๆ
มาผลิตทำตลาด ซึ่ง March และรถยนต์ในกลุ่ม V-Platform ที่จะคลอดออกมาในอนาคตอันใกล้นี้
ก็เป็นส่วนหนึ่ง รวมทั้งยังต้องเร่งปรับปรุงในหลายๆด้านกันอีกมาก ผมชื่นชมรัฐบาลไทย กับสิ่งที่
พวกเขาพยายามทำ เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศ แต่ ผมเองยังคิดว่า Nissan ทำผลงาน
ออกมาได้ยังไม่ดีพอ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่เราจะต้องจัดการภายในกันเองต่อไป”

———————————-///———————————-