ความเดิมเมื่อตอนที่แล้ว Toyota และ Mazda เคยจับมือกันเพื่อแลกเทคโนโลยีและการผลิตสินค้าซึ่งกันและกันมาก่อน
หน้านั้นแล้ว Toyota เคยส่งชุดระบบอิเล็กทรอนิคส์ที่เกี่ยวข้องกับระบบ Hybrid ไปให้ Mazda นำไปติดตั้ง ส่วน Mazda
ก็ผลิต Mazda 2 Sedan จากโรงงานเม็กซิโกไปให้ Scion ขายในชื่อ iA
เราก็เชื่อว่าผลลัพธ์จากความร่วมมือดังกล่าวก็น่าจะทำให้ Toyota และ Mazda มองเห็นช่องทางการเอาตัวรอดและการ
แข่งขันระยะยาว แต่มันจะเป็นความสัมพันธ์แบบไหนนั้น เรามาดูรายละเอียดกัน
เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2015 Toyota Motor Corporation และ Mazda Motor Corporation ได้จรดปากกาเซ็น
สัญญาเพื่อร่วมกันสร้างผลประโยชน์ระยะยาว โดยใช้ทรัพยากรทั้งสองบริษัทเพื่อเสริมสร้างและขยายความแข็งแกร่งของ
ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี นั่นก็ทำให้รถยนต์น่าดึงดูดใจสำหรับลูกค้าที่มีความต้องการและรสนิยมที่หลากหลายทั่วโลก
มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อคอยประเมินวิธีที่ดีที่สุดในการใช้จุดแข็งของสองบริษัท คณะกรรมการจะส่งเสริมให้มี
การทำงานร่วมกันในวงกว้างและมีความหมาย นั่นก็รวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยอีก
ด้วย
Akio Toyoda ประธานจากค่าย Toyota กล่าวว่า เทคโนโลยี Mazda SkyActiv และงานออกแบบ Kodo Design ซึ่ง
เป็นสิ่ง Mazda คิดอยู่เสมอว่ามันจะต้องปรากฏในรถยุคหน้า Toyota มองเห็นแล้วว่าวิธีการปฏิบัติเช่นนั้นจะทำให้
สามารถสร้างรถที่ดีกว่าที่เคยเป็น เขาดีใจที่ทั้ง Toyota และ Mazda ได้ร่วมแชร์วิสัยทัศน์และการทำงานร่วมกันเพื่อ
เป้าหมายการพัฒนารถให้ดีขึ้นด้วยกัน
Masamichi Kogai ท่านประธานและซีอีโอ Mazda กล่าวว่า Toyota เป็นบริษัทที่แน่วแน่ในการรับผิดชอบกับปัญหา
สิ่งแวดล้อมระดับโลกและกระบวนการผลิตในอนาคต และเขายังเคารพการอุทิศตนให้แก่ Toyota แสวงหารถยนต์ที่ดีขึ้น
ผ่านนวัตกรรมใหม่
นอกจากนี้ Mazda ก็ยังคงรักษาจุดยืนเหมือนอย่างที่ Toyota ก็มีรากฐานของตัวเองและก็ยังรักษาจุดยืนในขณะร่วมกัน
ทำงานอีกด้วย เขาหวังอย่างยิ่งว่าการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนารถที่ดีขึ้น มันจะช่วยเพิ่มคุณค่าตัวรถในสายตาของลูกค้า
และยังสามารถเพิ่มขีดจำกัดการผลิตที่โรงงานฮิโรชิม่า บ้านเกิด Mazda ได้
ทั้ง Toyota และ Mazda ตระหนักดีว่าปรัชญาของ Mazda ที่ต้องการใส่ความสนุกสนานในตัวรถและ Toyota ที่ต้องการ
ทำรถที่ดีกว่าเดิมมันเริ่มทับซ้อนกัน แต่ทั้งสองก็อุทิศตนเพื่อปฏิรูปโครงสร้างบริษัทเพื่อการแข่งขันที่แท้จริงและการเติบโต
อย่างยั่งยืน
ความร่วมมือล่าสุดจะไปได้ไกลกว่ากรอบความร่วมมือแบบดั้งเดิม แต่เป็นการสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่รถยนต์สำหรับความ
ร่วมมือระยะกลางและระยะยาว
ความคิดเห็นจากผู้เขียน
Akio Toyoda ท่านประธาน Toyota คนปัจจุบันเคยออกดำริอย่างแข็งกร้าวว่ารถยนต์ Toyota นับจากปี 2013 เป็นต้น
ไปจะต้องทรงเสน่ห์ เร้าใจ ไม่น่าเบื่อเหมือนแต่ก่อนซึ่งผลลัพธ์ในการเปลี่ยนแปลงก็ดูชัดเจนขึ้น แต่ก็มีลูกค้าบางฝ่ายยังมอง
ว่ามันแค่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคมากกว่าการปฏิรูปภาพลักษณ์ใหม่ แต่ปีที่ Toyota สามารถแสดงให้เห็นชัดถึงความ
เปลี่ยนแปลงก็คือเราจะได้เห็นในปีนี้ด้วย All New Toyota Prius
แต่ก็ยังเชื่อว่า Toyota ก็ยังคงไม่พอใจกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้มากนัก พวกเขายังต้องการความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้
ลูกค้ารู้สึกภาคภูมิใจมากกว่านี้ ดังนั้น Toyota จึงจำเป็นต้องหา “ตัวช่วย” ที่เชี่ยวชาญในการทำรถสวยงาม, ขับสนุกสนาน
ของจริงมาเป็นพันธมิตร
สำหรับ Mazda เป็นค่ายที่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ แต่ด้วยความ
เป็นบริษัทรถยนต์ขนาดเล็กอาจทำให้ Mazda เสียเปรียบ Big3 จากญี่ปุ่นมาก ด้วยจำนวนการผลิตที่น้อยกว่าจนทำกำไร
ได้น้อยกว่า
การแข่งขันเพื่อการออยู่รอดในระยะยาวก็คือการควบคุมต้นทุนให้เข้มงวดที่สุด ถึงหลายบริษัทจะเริ่มใช้งานวิศวกรรม
Modular Platform แต่ยังไง ๆ ก็เสียเปรียบบริษัทรถรายใหญ่ที่มีจำนวนการผลิตสูงมากอยู่ดี
นั่นจึงอาจทำให้ Mazda ต้องยอมร่วมมือกับ Toyota เพื่อการเอาตัวรอดในระยะยาว และคิดในแง่ดีคือ Mazda ก็อาจจะ
ได้รับการถ่ายทอดเคล็ดวิชาในด้านการพัฒนางานวิศวกรรมที่มีความทนทาน, น่าเชื่อถือสูงจนทำให้รถยนต์ Mazda
กลายเป็นรถที่ดีขึ้นไปอีกขั้นได้
แต่งานนี้เราไม่แน่ใจว่าใครจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบมากกว่ากัน
ที่มา : Worldcarfans