หน่วยงานควบคุมอุบัติภัยบนท้องถนนหรือ NHTSA ตัดสินใจสอบสวน Toyota อย่างจริงจังในกรณีความบกพร่องของพวงมาลัยในรุ่น Corolla ครั้งแรกตั้งแต่ตอนเย็นของวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐอเมริกา และจะประกาศผลภายในเร็ว ๆ นี้
เหตุผลสำคัญที่ทำให้ NHTSA ต้องพยายามถกเถียงและขอร้องให้ Toyota ช่วยกันตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการบังคับเลี้ยวในรถรุ่น Corolla ว่า NHTSA ได้รับคำร้องเรียนถึง 160 รายเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบบังคับเลี้ยว เมื่อลูกค้าแล่นด้วยความเร็ว 64 กิโลเมตรต่อชั่วโมงบนถนนไฮเวย์ ซึ่งระบบบังคับเลี้ยวหันเหเปลี่ยนทิศทางอย่างคาดไม่ถึง ทำให้ไม่สามารถควบคุมรถให้ตรงในเลนถนนได้เลย
ความผิดปกติครั้งนี้ก็ทำให้ลูกค้า Toyota Corolla ได้รับอุบัติเหตุจนบาดเจ็บไปแล้ว 10 ราย
จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม NHTSA ถึงเรียกร้องให้ Toyota เรียกรถ Corolla รุ่นปี 2009 และ 2010 จำนวน 499,000 คัน คืนเพื่อตรวจสอบและแก้ไขความผิดปกติเหล่านี้ และถ้าตรวจสอบพบความผิดปกติจริงนั่นก็หมายความว่าวิบากกรรมของ Toyota น่าจะหนักหนาสาหัสยิ่งขึ้นไปอีก เพราะ Corolla จัดเป็นรถคอมแพคท์ตระกูลหนึ่งที่ขายดีที่สุดในโลกและช่วยสร้างรายได้และชื่อเสียงให้แก่ Toyota มากมาย
สถานการณ์ที่น่าแปลกอย่างหนึ่งคือ Toyota จำใจเรียกรถ Prius คืนเพื่อตรวจสอบและแก้ไขระบบเบรคบกพร่องก่อนที่ NHSTA จะลงไม้ลงมือไต่สวนเสียอีก แต่กลับตระกูล Corolla นั้น NHSTA เคยเตือนเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบควบคุมบังคับไปแล้วเมื่อเดือนที่แล้ว
Toyota เองก็พยายามยกระดับคุณภาพเพื่อให้ลูกค้าเชื่อใจในระยะเวลาอันสั้นด้วยการติดตั้งระบบ Brake-Shift เป็นระบบตัดกำลังเครื่องยนต์ฉุกเฉิน เมื่อพบว่าผู้ขับขี่เหยียบแป้นคันเร่งและเบรคทำงานพร้อมกัน ในรถ Toyota ทุกรุ่น (ท่านประธาน Akio Toyoda ย้ำชัดว่าระบบเบรคนี้จะติดตั้งในรถ Toyota ทุกรุ่นทั่วโลก) แต่ Toyota ก็ไม่เชื่อว่าระบบอิเล็กทรอนิคส์จะมีส่วนความบกพร่องของคันเร่งในรถ Toyota ที่เรียกคืนทั้ง 8 แปดรุ่น
นอกจากนี้ NHTSA ยังเปิดเผยว่าตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นไปได้รับคำรายงานความผิดปกติของรถ Toyota อันก่อให้เกิดอุบัติเหตุมากกว่า 2,000 ราย และมีผู้เสียชีวิต 34 ราย
ความผิดพลาดด้านความคุณภาพความปลอดภัยของ Toyota ในครั้งนี้ทำให้ Toyota ต้องรับผิดชอบสังคมและหาทางแก้ไขความผิดพลาดอย่างเต็มพิกัด
ขั้นแรกก็คือต้องติดตั้งระบบเบรคอัจฉริยะ หากตรวจพบว่าคันเร่งและเบรคเท้ายังทำงานพร้อมกัน ระบบก็จะตัดกำลังเครื่องยนต์ทันที
ขั้นที่สอง Toyota กำลังพัฒนาหน่วยเก็บข้อมูลผู้ใช้แบบ Onborad ในรถยนต์หลักฟังดูคล้าย ๆ กล่องดำในเครื่องบิน ซึ่งเก็บข้อมูลการใช้งานและความผิดปกติได้จนเป็นแนวทางปรับปรุงข้อบกพร่องที่ชัดเจนต่อไป
อย่างน้อย ๆ Toyota ก็ยังแคร์สังคมอยู่ แม้จะมีเหตุการณ์ไม่สู้ดีก็ตามนักครับ