Ford ได้นำชื่อรุ่นเก่ากลับมาใช้กับรถรุ่นใหม่หลายรุ่น และถึงแม้ว่าจะไม่มีความเกี่ยวข้องอันใดกับรถรุ่นพี่ แต่ก็เป็นการบ่งชี้ว่าทางค่ายยังเห็นความสำคัญ๘องชื่อรุ่นเหล่านี้อยู่ ตั้งแต่รถรุ่น Puma ที่แต่เดิมเป็นรถสปอร์ตคูเป้ราคาเข้าถึงได้ในยุค 90 จนกระทั่งกลายมาเป็นรถ Crossover ที่ราคาจับต้องได้ยอดนิยมในปัจจุบัน

 

และก็เป็นอีกครั้งที่ Ford ได้นำชื่อรุ่น Capri ที่แต่เดิมเป็นรถ Fastback coupe กลับมาใช้กับรถรุ่นใหม่ ซึ่งในครั้งนี้เป็นรถทรง Crossover Coupe ที่เป็นพี่น้องกับ Explorer ซึ่งเป็นรถ EV ที่ Ford พัฒนาร่วมกันกับ Volkswagen Group บนงานวิศวกรรมพื้นฐาน MEB platform ที่ใช้อยู่ในรถตระกูล ID. series เช่น ID.4 และ ID.5 เป็นต้น

 

งานออกแบบภายนอกมีการใช้เส้นสายบริเวณเสา C ที่มีความโค้งมนเป็นการรับมรดกตกทอดจากรถสปอร์ตรุ่นต้นตำรับเพิ่มความโดดเด่นด้วยสีตัวถังสีเหลืองอันเป็นสีเอกลักษณ์ของรุ่นดั้งเดิม

มิติตัวถังของ Capri จะมีความยาว 4,634 มิลลิเมตร กว้าง 1,872 มิลลิเมตร สูง 1,626 มิลลิเมตร และความยาวฐานล้อ 2,767 มิลลิเมตร ซึ่งใกล้เคียงกันกับมิติตัวถังของ Volkswagen ID.5

 

งานออกแบบภายในจะเป็นการยกชุดจากเวอร์ชั่นรถอเนกประสงค์ SUV ฝาแฝดอย่าง ford explorer ที่เลือกใช้หน้าจอกลางขนาด 14.6 นิ้วติดตั้งในแนว portrait พร้อมกับการติดอุปกรณ์และฟังก์ชันอำนวยความสะดวกต่างๆโดยเฉพาะช่องเก็บของจำนวนมากบริเวณด้านหลังของคอนโซลหน้า แรงรับการเชื่อมต่อ Ford SYNC Move รวมไปถึง Apple CarPlay และ Android Auto

นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันเบาะหลังพับราบเรียบเพื่อเพิ่มพื้นที่ความจุห้องเก็บสัมภาระจาก 569 ลิตร เป็น 1,509 ลิตรซึ่งมากกว่ารถรุ่น explorer ที่มีระยะฐานล้อเท่ากันแต่ความยาวตัวถังไม่เท่ากันโดย explorer จะมีความจุห้องเก็บสัมภาระเมื่อเบาะแถว 2 ตั้งขึ้นอยู่ที่ 450 ลิตร และเมื่อพับเบาะแถว 2 อยู่ที่ 1,400 ลิตร

 

ขุมพลังของรุ่นพื้นฐานจะใช้มอเตอร์เดี่ยวขับเคลื่อนล้อหลังเส้นเดียวกับรถรุ่นอื่นๆในตระกูลพกพากันไอดี series ให้พละกำลังสูงสุด 286 แรงม้า (PS) แรงบิดสูงสุด 545 นิวตัน-เมตร สามารถทำอัตราเร่งจากความเร็ว 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ภายในเวลา 6.4 วินาที ซึ่งถือว่าอย่างช้ากว่าอัตราเร่งของรถสปอร์ตรุ่นดั้งเดิม

โดยในรุ่นเริ่มต้นจะจับคู่กับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบ Li-NMC มีความจุ 77 kWh ให้ระยะทางวิ่งได้สูงสุดต่อ 1 รอบการชาร์จที่ 624 กิโลเมตรตามมาตรฐาน WLTP รองรับระบบชาร์จเร็วไฟฟ้ากระแสตรงด้วยกำลังไฟสูงสุด 135 kW ทำให้สามารถชาร์จได้จาก 10 ถึง 80% ภายในเวลาเพียง 28 นาที

 

หากใครยังไม่พอใจกับอัตราเร่งและความแรงในรุ่นเริ่มต้นทางฟอร์ดได้เตรียมรุ่นสมรรถนะสูงที่เลือกใช้มอเตอร์คู่ขับเคลื่อน 4 ล้อให้พละกำลังรวมสูงสุด 340 แรงม้า (PS) แรงบิดสูงสุด 679 นิวตัน-เมตร ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สอดคล้องกับขุมพลังที่วางอยู่ในเวอร์ชั่นสมรรถนะสูงของรถพี่น้องต่างแบรนด์อย่าง GPS series

ทำให้อัตราเร่งจากความเร็ว 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงลดลงเหลือเพียง 5.3 วินาทีพร้อมอัพเกรดความจุของแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นเป็น 79 รวมไปถึงระบบชาร์จเร็วที่เพิ่มกำลังไฟฟ้าสูงสุดในการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสตรงจาก 135 เป็น 185 ผลลัพธ์ก็คือระยะเวลาในการชาร์จจากระดับพลังงาน 10-80% เหลือ 26 นาทีอย่างไรก็ตามระยะทางสูงสุดที่วิ่งได้ต่อ 1 รอบการชาร์จจะลดลงเหลือ 592 กิโลเมตร ตามมาตรฐาน WLTP เช่นเดียวกัน

สำหรับแผนการเปิดตัวรถยนต์ขุมพลังไฟฟ้าล้วนในอนาคตภายใต้แบรนด์ฟอร์ดจะมีการเสริมทัพด้วยรถอเนกประสงค์น้องเล็กรุ่น puma ในเวอร์ชั่น EV ที่เตรียมเปิดตัวในเร็วๆนี้นับเป็นรถอเนกประสงค์ขุมพลังไฟฟ้าล้วนรุ่นที่ 3 ต่อจาก Mustang Mach-E และ Capri

ที่มา: Ford