Toyota หนึ่งในผู้ผลิตยานยนต์ชั้นนำระดับโลกที่นอกจากจะมียอดการจำหน่ายในปี 2022 ที่ผ่านมากว่า 10.48 ล้านคันทั่วโลก ครองตำแหน่งผู้ผลิตที่มีระบบการจัดการทรัพยากรในการผลิตรถยนต์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยแนวคิด Toyota way และ Toyota Production System (TPS) ที่แพร่หลายไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ในเครือ รวมไปถึงผู้ผลิตยานยนต์เจ้าอื่นๆ
ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อครั้งได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ขาดแคลนเซมิคันดักเตอร์ ขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์หลายเจ้ายังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวเป็นแรมปี แต่ Toyota ก็ได้ผลิกกลับมาเดินหน้าผลิตอย่างเต็มสูบเป็นเจ้าแรกๆของโลก โดยตัวเลขการผลิตตลอดครึ่งปีแรกของปี 2023 มีอัตราการเติบโตกว่า 29% เมื่อเทียบกับปี 2022 ซึ่งนับว่าเป็นการกลับมาเอาคืนของยอดขายขาขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี
แต่ทว่า เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็มักจะเกิดขึ้นได้ในวงการอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ โดยเฉพาะการโดนโจมตีจากเหล่าผู้ไม่หวังดี ซึ่งใช้การเจาะเข้าสู่ฐานข้อมูล และทำการก่อกวนให้ไม่สามารถเดินสายพานการผลิตได้ตามปกติ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า cyberattack ที่เมื่อเช้าวันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2023 นี้ สำนักข่าว Reuters ได้รายงานว่า Toyota ได้หยุดสายพานการผลิตในโรงงาน 2 แห่งในญี่ปุ่น ก่อนที่จำเป็นจะต้องปิดเพิ่มอีก 2 แห่งในเวลาต่อมา
ผลกระทบดังกล่าวทำให้ TPS ที่เป็นหัวใจหลักของการดำเนินสายพานการผลิต ที่ส่งผลกระทบในวงกว้างมากกว่าที่ใครหลายคนคาดคิด ด้วยการเชื่อมโยงไปยังระบบของผู้ผลิตชิ้นส่วนจำนวนมาก ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนในการสืบค้นสาเหตุของปัญหาครั้งนี้
โดยในขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้จากการถูกโจมตีดังกล่าว แต่หากพิจารณาจากจำนวนโรงงานทั้ง 14 แห่งดังกล่าว ที่คิดเป็นจำนวนกว่า 1 ใน 3 ของโรงงานที่มีอยู่ทั่วโลก ก็อาจเป็นตัวเลขที่ไม่คาดฝันได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Toyota ถูกโจมตีโดยวิธี cyberattack โดยเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมา ได้เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้จนทำให้ต้องหยุดเดินสายพานการผลิต แต่ก็สามารถกลับมาดำเนินการผลิตได้อีกครั้ง โดยการพึ่งพาระบบสำรองแทน TPS
หวังว่าการโดนโจมตีครั้งนี้ จะสามารถถูกแก้ไขได้โดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดสุญญากาศเป็นเวลานานจนเกินไป และเพิ่มมูลค่าความเสียหายให้กับบริษัทอย่างมหาศาล
อ้างอิงข่าวจาก