ในยุคที่การรณรงค์เพื่อลดปริมาณมลพิษและคาร์บอนจากการดำเนินอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นเรื่องสำคัญที่โดยปกติจะเห็นได้ในกระบวนการการผลิตไม่ว่าจะเป็นการลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นการเลือกใช้วัสดุและชิ้นส่วนที่เกิดจากการนำกลับมาใช้ใหม่ ทั้งหมดนี้นับเป็นแนวทางที่พบเห็นได้ทั่วไป
จนกระทั่งมีแนวคิดสุดแปลกแหวกไปจากข้างต้นนำร่องโดยโตโยต้าซึ่งมีการเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนในโรงงานให้กลายเป็นโรงเรือนปลูกผลไม้อย่างสตรอว์เบอร์รีและมะเขือเทศเชอรี่ ซึ่งเป็นการใช้ของเสียจากการผลิตไม่ว่าจะเป็นพลังงานความร้อนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นำมาหล่อเลี้ยงพืชผลเหล่านี้
หลักการง่ายงานที่หลายคนอาจเคยเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์เมื่อครั้งเยาว์วัยนั่นก็คือการใช้ทฤษฎีการปลูกพืชผักแบบเรือนกระจก โดยย้อนไปเมื่อปี 2022 เกษตรกรกลุ่มหนึ่งได้เข้ามาช่วยเหลือโตโยต้าเพื่อที่จะนำแนวคิด ในการสร้างโรงเรือนท่ามกลางโรงงานผลิตรถยนต์สู่ความเป็นจริงได้ในที่สุด โดยโรงงาน Kamigo ที่ทดลองปลูกสตรอว์เบอร์รีนำร่องดังกล่าวตั้งอยู่ในจังหวัด Kamigo ซึ่งมีหน้าที่ผลิตเครื่องยนต์รหัส 3GR 4GR ให้กับ Toyota Crown และ Lexus อีกหลากรุ่น ขณะที่โรงงาน Myochi ซึ่งโดยปกติทำการผลิตชิ้นส่วนช่วงล่างทั้งหมดที่ตั้งอยู่ในจังหวัด Aichi ได้รับมอบหมายให้ปลูกมะเขือเทศเชอร์รี่
นอกจากนี้ทฤษฎีที่นำมาใช้ในการปลูกสตรอว์เบอร์รีและมะเขือเทศเชอร์รี่ ในการนี้ยังถูกคิดค้นผ่านการใช้พื้นที่ที่มีอยู่จำกัดให้มีประโยชน์สูงสุดซึ่งทำให้ผลผลิตที่ได้ทีจำนวนมากกว่าการเพาะปลูกในพื้นที่เท่ากันถึง 1.5 เท่า โดยการลดพื้นที่ระหว่างต้นให้ได้มากที่สุด สำหรับแสงไฟที่ทาง Toyota นำมาใช้ในการปลูกเหล่าสตรอว์เบอร์รีและมะเขือเทศเชอร์รี่ จะใช้เป็นไฟ LED สีชมพู โดยได้ทำการกรองแสงสีเขียวออกไปที่ไม่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเหล่านี้ ยิ่งไปกว่านั้น ผลผลิตที่ได้ยังนำไปแจกจ่ายให้กับเหล่าพนักงานเป็นส่วนหนึ่งของอาหารกลางวัน เป็นอีกสวัสดิการของพนักงาน
การนำพลังงานและของเสียมลภาวะจากกระบวนการผลิตรถยนต์กลับมาใช้ใหม่ นับว่าเป็นอีกทางออกของการลดปริมาณคาร์บอนที่เกิดจากกระบวนการผลิตรถยนต์ หรือจะเป็นการเปลี่ยนพลังงานตั้งต้นให้เป็นพลังงานจากภาคพื้นดิน ซึ่งเป็นแหล่งหมุนเวียนใหม่อย่างที่ Stellantis ได้เตรียมนำมาใช้ในปี 2025 นี้ เป็นเจ้าแรก หรือแม้กระทั่งพลังงานลมเพื่อนำไปปั่นกังหันลมเพื่อสร้างพลังงานให้กับโณงงานต่างๆ
ที่มา: Motor1