การจับมือระหว่างบริษัทยานยนต์ยักษ์ใหญ่ไม่ใช่เรื่องแปลกรวมไปถึงความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตชิ้นส่วนแบตเตอรี่และค่ายรถยนต์ก็เป็นสิ่งที่เห็นกันเป็นปกติในทุกวันนี้แต่ทว่าความร่วมมือระหว่างบริษัทรถยนต์และบริษัทอากาศยานอาจจะดูแปลกสำหรับใครหลายคน เนื่องจากเป้าหมายในการพิชิตการลดมลภาวะทางการขนส่งมีความเข้มข้นสูงขึ้นในทุกๆปี ดังจะเห็นได้จากการประชุมนโยบายต่างๆในระดับสากลดังนั้นการเดินทางทุกประเภทต้องร่วมมือกันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการลดปริมาณคาร์บอนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง
ในความเป็นจริงรถยนต์ไฟฟ้าอาจตอบโจทย์สิ่งเหล่านั้นในแง่ของการปล่อยมลพิษแต่ในแง่ของการใช้งานจริงระยะทางที่รถยนต์ไฟฟ้าล้วนสามารถวิ่งได้นั้นไม่สามารถเทียบได้กับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในนี่จึงเป็นที่มาของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ล้ำสมัย Solid stage ที่พวกเราคงเคยจะได้ยินกันมาก่อนหน้านี้ในนาม Solid state ค่ายรถยนต์ระดับโลกรวมไปถึงค่ารถยนต์ชั้นนำจากแดนอาทิตย์อุทัยอย่างโตโยต้าเคยประกาศ ไทม์ไลน์การวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่แบบนี้เพื่อที่จะทลายกำแพงข้อจำกัดของรถยนต์ไฟฟ้าล้วน
จนกระทั่งเวลาผ่านไปยังไม่มีค่ายรถยนต์ค่ายไหนสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการผลิตในระดับจำนวนมากได้จึงมีความร่วมมือในวงกว้างเกิดขึ้นทั้งในแง่ของธุรกิจระดับสถานภาพโดยเฉพาะในอเมริกาเหนือและยุโรป
Renault Mégane E-TECH
ในเมื่อรถยนต์และอากาศยานเป็นยานพาหนะที่ปล่อยมลภาวะสูงกว่าแบบอื่นๆจึงเกิดความร่วมมือครั้งนี้ขึ้นทางด้านของเครื่องบินที่ปรับเข้าสู่ระบบขับเคลื่อนแบบ Hybrid ต้องการเทคโนโลยีแบตเตอรี่ความจุต่อน้ำหนักที่เหนือชั้นกว่าเทคโนโลยีแบตเตอรี่ในปัจจุบัน ซึ่งหากความร่วมมือนี้เดินหน้าและประสบความสำเร็จทั้งสองบริษัทได้เคลมว่าแบตเตอรี่ที่มีน้ำหนักเท่ากันในปัจจุบันนี้จะสามารถทำให้รถยนต์วิ่งได้ไกลถึงเท่าตัว
ยกตัวอย่างเช่นแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถยนต์ขุมพลังไฟฟ้าล้วนรุ่นล่าสุดอย่าง Mégane E-Tech Electric ที่เป็นแบบมีความจุ 60 kWh จะสามารถให้ระยะทางสูงสุดที่ 280 ไมล์ซึ่งหากเปลี่ยนไปใช้แบตเตอรี่แบบจะสามารถวิ่งได้ไกลสุดถึง 560 ไมล์
Renault ZOE
เมื่อหันมามองความเป็นจริงทาง Richard Moore ผู้บริหารนโยบายของโครงการอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในอังกฤษตอนกลางได้ออกมาเปิดเผยกับทางสื่อต้นทาง Autocar ว่า เทคโนโลยีนี้ถูกพูดถึงกันในวงกว้างมาตลอดระยะเวลา 10 ปี แต่ถ้าพัฒนาการของมันก็ยังอยู่ในขั้นตอนของเวอร์ชั่นต้นแบบทดลองใช้และกระบวนการผลิตยังมีข้อจำกัดทำให้ไม่สามารถผลิตในจำนวนมากเพื่อป้อนอุตสาหกรรมของรถยนต์ได้ แน่นอนว่ามันจะเกิดขึ้นจริงในอนาคตแต่อาจจะไม่ใช่เร็วๆนี้ เนื่องจากเทคโนโลยีที่ออกแบบได้ยังคงมีข้อจำกัดในการนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
โดยทาง Renault เองคิดว่าความร่วมมือกับบริษัทอากาศยานระดับโลกครั้งนี้ เป็นการตอกย้ำถึงการพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ควบคู่ไปกับการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่มาพร้อมกับความปลอดภัยเนื่องจากเทคโนโลยีอากาศยานถือสิ่งนี้เป็นตัวตั้ง
จากประสบการณ์ของค่ายกว่า 10 ปีที่วางจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าระดับเริ่มต้นรุ่น Zoe จะช่วยให้ความร่วมมือครั้งนี้ผลิตนวัตกรรมระดับแนวหน้าที่เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีระหว่างยานยนต์และอากาศยานที่อยู่บนพื้นฐานการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา: Autocar