วันที่ 1 มิถุนายน 2009 เป็นวันที่ทุกคนจดจำตลอดไป GM เข้าสู่กระบวนล้มละลายพิทักษ์ทรัพย์มาตราที่ 11 (Chapter) โดยกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกา,รัฐบาลแคนาดา แม้จะตอกย้ำว่าหลายสิ่งหลายอย่างไม่เปลี่ยนแปลงแต่สิ่งที่แปรเปลี่ยนแล้วคือจิตใจของลูกค้าที่มีต่อ GM ความมั่นใจที่แห้งเหือดไปกับข่าวสารต่าง ๆ
แต่ชีวิตจะต้องดำเนินต่อไปแต่อดีตอันหวานชื่นและขื่นขมก็ยังคงอยู่ เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ครบรอบ 100 ปีของ GM ก็มีระคนทั้งสุขและเศร้าด้วยเช่นกัน เราจะย้อนเวลารำลึกเหตุการณ์เหล่านั้นด้วยกัน
1908 – ก่อตั้งบริษัท GM ในเมือง Flint มลรัฐ Michigan
1919 – จัดตั้งบริษัท GMAC ไฟแนนซ์ในเครือ GM
1929 – ซื้อหุ้นกิจการ Adam Opel AG. 80%
1937 – GM ตระหนักถึงพนักงานรายชั่วโมงจัดสวัสดิการผ่านสหภาพแรงงาน
1971 – GM ซื้อหุ้นบริษัท Isuzu Motor 34.2% ในปี 1998 เพิ่มหุ้นเป็น 49%
1981 – GM ซื้อหุ้น Suzuki Motor 5%
GM ร่วมทุนกับ Toyota ก่อสร้างโรงงานผลิตรถเล็กภายใต้ชื่อโครงการ NUMMI เมือง Freemont มลรัฐ California
1986 – GM ซื้อกิจการรถสปอร์ตสัญชาติอังกฤษ Lotus จนผลักออกจากอ้อมอกในปี 1993
1990 – GM ซื้อหุ้นส่วนกิจการรถหรูสวีเดน SAAB 50%
1990 – GM เปิดตัวแบรนด์ใหม่ Saturn ต่อกรความอหังการรถยนต์ญี่ปุ่นที่มีบทบาทสำคัญในยุค 80
1998 – การประท้วงหยุดงาน 56 วันของโรงงานขึ้นรูปตัวถังทำให้โรงงานประกอบรถทั่วอเมริกาต้องหยุดชั่วคราว
1999 – GM ซื้อหุ้นในบริษัท Fuji Heavy Industry ผู้ผลิตรถยนต์ Subaru 20% จนกระทั่งหุ้นส่วนถูกขายออกไปผู้ที่รับช่วงต่อคือ Toyota
ปีเดียวกัน GM ต้องตัดท่อน้ำเลี้ยงผู้ผลิตชิ้นส่วนยักษ์ใหญ่ Delphi ถาวรปล่อยให้เผชิญชะตากรรมอย่างเดียวดายจนกระทั่งต้องยืนล้มละลายพิทักษ์ทรัพย์ (Chapter 11) ในปี 2005
2000 – GM ตัดสินใจปิดตายแบรนด์ Oldsmobile ถาวรด้วยภาพลักษณ์ที่เก่าคร่ำครึจนไม่สามารถจะผลักดันต่อไปได้ ยุติการผลิตสมบูรณ์แบบในปี 2004
ปีเดียวกัน GM ทุ่มทุนซื้อหุ้นบริษัท Fiat 20% หรือมูลค่าราว 20,000 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ Fiat ยื่นข้อเสนอให้ GM ซื้อทั้งกิจการตามข้อตกลง
2002 – การล่มสลายของ Daewoo Motor จากพิษเศรษฐกิจฝั่งเอเชียในฐานะเป็นอดีตบริษัทรถยนต์ที่มีผูกพันธ์กับ GM ตลอดทำให้ GM เริ่มมองเห็นช่องทางการเติบโตระดับโลกจึงคิดซื้อค่ายรถยนต์เกาหลีใต้แห่งนี้
2005 – GM ต้องจ่ายเงินคืนให้ Fiat 20,000 ล้านดอลลาร์เพราะไม่สามารถทำตามข้อตกลงได้
มิถุนายน 2008 – พิจารณาชะตากรรมแบรนด์ Hummer อย่างไรดี แต่ทางเลือกหลักคือต้องขาย
กรกฎาคม 2008 – GM ประกาศแผนลดค่าใช้จ่ายให้ได้ 10,000 ล้านดอลลาร์ และหาเงินทุน 5,000 ล้านดอลลาร์จากการยืมจากกองทุนและขายสินทรัพย์
23-24 ตุลาคม 2008 – GM และ Chrysler เริ่มเจรจาควบรวมธุรกิจเพื่อความอยู่รอดจากสถานการณ์ยอดขายรถยนต์ตกต่ำจนต้องปลดพนักงานออกไป
19 ธันวาคม 2008 – GM และ Chryeler ได้รับเงินทุนช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาจำนวน 13,400 ล้านดอลลาร์และ 4,000 ล้านดอลลาร์ตามลำดับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนช่วยเหลือบริษัทเอกชนที่มีปัญหาขาดสภาพคล่องจำนวน 700,000 ล้านดอลลาร์
21 มกราคม 2009 – ในที่สุด Toyota ประกาศขึ้นแท่นรถยนต์ขายดีที่สุดในโลกแทนที่ GM สำเร็จ
5 กุมภาพันธ์ 2009 – GM ประกาศปลดพนักงานทั่วโลก 10,000 คน
17 กุมภาพันธ์ 2009 – GM ขอเงินทุนเพิ่มรวมทั้งหมด 30,000 ล้านดอลลาร์ พร้อมประกาศแผนลดค่าใช้จ่ายทั้งปลดพนักงานทั่วโลก 47,000 คนและปิดโรงงาน 5 แห่งภายในปี 2012
26 กุมภาพันธ์ 2009 – GM ประกาศขาดทุน 30,900 ล้านดอลลาร์
5 มีนาคม 2009 – ผู้ตรวจสอบบัญชี GM ตั้งข้อสงสัยว่าจะบริษัทจะมีศักยภาพอยู่รอดได้หรือไม่หากไม่ขอรับความคุ้มครองพิทักษ์ทรัพย์
30 มีนาคม 2009 – รัฐบาลอเมริกันโดยผู้นำบารัค โอบามา สั่งให้ GM เปลี่ยนประธานบริหารแทนคนปัจจุบันทำให้นายริค แวกอนเนอร์ลาออกแสดงเจตจำนงว่ามีความจริงใจให้บริษัทอยู่รอดได้ ทำให้นายฟริตซ์ เฮนเดอสันดำรงตำแหน่งรับภาระปรับโครงสร้างบริษัทภายใน 60 วัน
17 เมษายน 2009 – GM เริ่มมองมองแผนการกระบวนการล้มละลายพิทักษ์ทรัพย์เพื่อให้รัฐบาลอเมริกันเป็นเจ้าของกิจการ
27 เมษายน 2009 – GM ประกาศแผนครั้งสุดท้ายเร่งปรับโครงสร้างบริษัทหลีกเลี่ยงการล้มละลาย
7 พฤษภาคม 2009 – ประกาศไตรมาสแรกขาดทุน 6,000 ล้านดอลลาร์ สูญเงินกับการปรับโครงสร้างแล้วกว่า 10,200 ล้านดอลลาร์
15 พฤษภาคม 2009 – GM ตัดสินใจตัดดีลเลอร์รายเล็ก ๆ ที่ไม่ทำกำไร 1,100 ราย
21 พฤษภาคม 2009 – GM ตัดสินใจลดค่าจ้างแรงงานกับสหภาพแรงงานรวมทั้งสวัสดิการต่างๆลงครึ่งหนึ่ง
1 มิถุนายน 200 – GM เข้าสู่กระบวนล้มละลายพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตราที่ 11 สมบูรณ์แบบ