บทความที่ผ่านมาท่านคงเข้าใจระบบแอร์กันไปบ้างแล้ว ทีนี้เรามาทำความรู้จักกับ
คอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์ กันบ้าง ว่ามีด้วยกันกี่ชนิดและทำหน้าที่อย่างไร
ในระบบแอร์ของรถยนต์ คอมเพรสเซอร์แอร์รถยนต์นั้นเป็นหัวใจสำคัญของระบบทำความเย็น
เลยทีเดียว ผู้ใช้รถหลายท่านคงมีประสบการณ์กันมาบ้างในการนำรถเข้าซ่อมระบบแอร์ และเปลี่ยน
คอมเพรสเซอร์ ในกรณีที่คอมเพรสเซอร์พังเสียหาย การเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์นั้น ถ้าช่างเปลี่ยนให้
ตามสเปคเดิมก็ไม่เกิดปัญหาอะไรตามมา แต่ถ้ามีการดัดแปลงคอมเพรสเซอร์ต่างรุ่นติดตั้งแทนของเดิม
มักเจอปัญหา เช่น เปิดแอร์แล้วฉุดกินกำลังเครื่องยนต์มาก เครื่องยนต์วิ่งไม่ค่อยออก
หรือบางรายพอดัดแปลงคอมเพรสเซอร์แอร์แล้ว เวลารถติดแล้วแอร์ไม่เย็น ปัญหาเหล่านี้ป้องกันได้
ถ้าผู้ใช้รถยนต์ทุกท่านสนใจดูแลคอมเพรสเซอร์แอร์ ไม่ให้เสียหายมาก ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ
อุปกรณ์ในตัวคอมเพรสเซอร์ว่ามีอะไรอยู่บ้าง
ภาพแรกดูรูปภาพคอมเพรสเซอร์ SANDEN 709 ซึ่งคอมแอร์รุ่นนี้จะติดตั้งในรถยนต์กระบะ
และรถตู้หรือแม้กระทั่งรถเก๋งบางยี่ห้อก็ติดตั้งมา
ชิ้นส่วนต่างๆ ถูกแทนด้วย หมายเลข เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายที่สุดครับ
1. คือภาพตัวคอมเพรสเซอร์หรือเสื้อคอม
2. ลูกสูบคอมเพรสเซอร์ (ซึ่งขาดน้ำมันหล่อลื่นไม่ได้)
3. เพลาคอมเพรสเซอร์ที่ต่อกับชุดลูกสูบและชุดคลัตช์
4. ชุดแผ่นเพลตลิ้นบริการ
5. จานรองลูกปืนวงกลม
6. เฟืองปรับระดับการชักของลูกสูบ
7. ลูกปืนจานวงกลม
8. คอคอมเพรสเซอร์ (ซึ่งจะมีซีลอยู่ในคอคอมด้วย)
อุปกรณ์ต่างๆในตัวคอมเพรสเซอร์นั้นจะขาดน้ำมันหล่อลื่นไม่ได้ เหมือนกับเครื่องยนต์
ถ้าขาดน้ำมันหล่อลื่นเมื่อใด อุปกรณ์ภายในก็สึกหรอและเกิดความเสียหายเช่นกันกับ
คอมเพรสเซอร์แอร์
สาเหตุที่น้ำมันหล่อลื่นคอมเพรสเซอร์จะรั่วออกมาได้นั้น เนื่องจากมีอุปกรณ์ของระบบแอร์รั่ว
จุดใดจุดหนึ่งน้ำยาแอร์ก็จะรั่วออกมาพร้อมกับน้ำมันคอมพ์ด้วย การดูแลให้คอมพ์มีความคงทนนั้น
ต้องเช็คถ่ายน้ำมันคอมใหม่ตั้งแต่ 80,000 กม. ถึง 150000 กม. โดยประมาณ นอกจากการถ่ายน้ำมัน
คอมเพรสเซอร์แล้ว พวกตลับลูกปืนของพู่เล่ย์คอมแอร์ก็ต้องดูแลเช่นกันเมื่อเช็คพบว่าเริ่มดัง
ก็ต้องเปลี่ยนทิ้งไป ถ้าฝืนใช้พอตลับลูกปืนแตก มักจะทำให้คอคอมเพรสเซอร์เสียหายไปด้วย
รูปต่อมา คอมเพรสเซอร์ในภาพนี้คือคอมเพรสเซอร์ของรถยนต์ HONDA CIVIC DIMENSION
(รุ่นปี 2000 – 2005) เป็นคอมแบบสกอร์ (ทำกำลังอัดแบบเป็นเกลียว) ต้องหมั่นตรวจเช็คทุกๆ
60,000 กม.โดยเฉพาะตลับลูกปืนของพู่เล่ย์คอคอมเพรสเซอร์ รวมถึงตลับลูกปืน ของ
เพลาแกนคอมเพรสเซอร์และน้ำมันหล่อลื่นคอมเพรสเซอร์ซึ่งจะขาดไม่ได้
ภายในคอมเพรสเซอร์ของ HONDA CIVIC DIMENSION มีลูกปืนในรูปวงแหวน 18 เม็ด
ภาพที่ 1 เป็นรูปของพู่เล่ย์ของคอมเพรสเซอร์ซึ่งจะหมุนตลอด ถ้าเราสตาร์ทเครื่องยนต์
ถึงเราไม่เปิดแอร์ก็หมุนตามเครื่องยนต์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นควรตรวจเช็คทุกๆ 60,000 – 80,000 กม.
ถ้าพบว่าตลับลูกปืนดังก็ควรเปลี่ยนก่อนที่ตลับลูกปืนจะแตก
ภาพที่ 2 เป็นแม่เหล็กไฟฟ้า ภายในมีขดลวดทองแดงและต่อสายไฟออกมา 2 เส้น
เส้นหนึ่งลงกราวน์อีกเส้นหนึ่งรอเปิดกระแสไฟจาก A/C ภายในห้องโดยสาร
ภาพที่ 3 เป็นชุดคอคอม ที่อยู่ติดกับพู่เล่ย์และตัวคอมเพรสเซอร์ภายในเป็นจานรองลูกปืน 18 เม็ด
เวลาหมุนก็จะทำให้ก้นหอยหมุนไปด้วย
ภาพที่ 4 คือรูปก้นหอยส่วนกลางก็หมุนเคลื่อนที่ทำกำลังอัด
ภาพที่ 5 เป็นเสื้อคอมด้านท้าย ภายในคอมเพรสเซอร์ จะเห็นเป็นรูปก้นหอย
ตรงกลางเป็นเส้นสีดำนั้นเป็นไฟเบอร์เส้นเล็กๆถ้าไฟเบอร์ขาดคอมก็ไม่มีกำลังอัด
ส่วนในภาพนี้เป็นรูปคอมเพรสเซอร์นิปปอนเดนโซ รุ่น 10PA15C เป็นคอมชนิดสวอทเพรส
ซึ่งมีความทนทานมาก การติดตั้งสามารถติดตั้งได้ทั้งเครื่องยนต์หมุนซ้ายและหมุนขวา
คอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพรสไม่เหมือนคอมเพรสเซอร์ชนิด สกอร์หรือระบบโรตารี่
เพราะทั้งสองแบบที่ว่า ถ้าออกแบบมาให้หมุนด้านขวาก็ต้องติดตั้งเฉพาะเครื่องยนต์ที่
หมุนขวาเท่านั้น หรือ ถ้าออกแบบให้หมุนซ้ายก็ต้องติดตั้งเฉพาะเครื่องยนต์หมุนซ้ายเท่านั้น
ซึ่งแตกต่างกับคอมเพรสเซอร์ชนิดสวอทเพรส เพราะใช้ได้ทั้งเครื่องยนต์ หมุนซ้ายและหมุนขวา
การทำกำลังอัดระหว่างการหมุนรอบต่อรอบนั้น คอมชนิดสวอทเพรสนั้นทำได้ดีกว่าคอมเพรสเซอร์แอร์
ทั้งสองชนิดที่กล่าวมาอย่างแน่นอน
ลองมาดูภายในคอมเพรสเซอร์กันว่ามีอะไรบ้าง
1. ตัวคอมเพรสเซอร์ที่เราเห็นถูกเปิดออกเป็นบางส่วนจะมองเห็นเพลาที่บังคับให้ลูกสูบหมุน
ลูกสูบมีอยู่ห้าลูกด้วยกันแต่ทำงานสองตัวด้วยกับลิ้นบริการทั้งด้านอัดและดูดมีสองชุดด้วยกัน
จึงทำให้กำลังอัดได้เสมอต้นเสมอปลายและทำความเย็นได้ดี
2.หรีดวาล์วสำหรับปิด-เปิด หน้าลูกสูบเพื่อไม่ให้แรงอัดรั่ว และแรงดูดรั่ว
3.คอยล์แม่เหล็กไฟฟ้า อยู่ในชุดคลัตช์คอมเพรสเซอร์แอร์ เมื่อเราเปิดแอร์ กระแสไฟฟ้า
จะถูกส่งมาที่ คอยล์แม่เหล็กไฟฟ้า และเกิดสนามแม่เหล็กดึงหน้าคลัตช์ ให้จับเข้ามา
เพื่อจะหมุนตามพู่เล่ย์ ที่สายพานขับเคลื่อนอยู่พอหน้าคลัตช์หมุน ลูกสูบภายในคอม
ก็จะหมุนตามไปด้วย ดังนั้น ถ้าเทอร์โมสตัท ตัดการทำงาน กระแสไฟฟ้าที่ส่งมาหา
คอยล์แม่เหล็กก็จะถูกตัดไฟด้วย คอมแอร์จึงหยุดทำงาน ระบบการตัดความเย็น
จะทำงานตัดและต่ออย่างนี้เรื่อยไป ตลอดระยะใช้ระบบแอร์
4. เป็นหน้าคลัตช์และพู่เล่ย์ของคอมเพรสเซอร์
5. ฝาหน้าคอมฯ จะมีซีลอยู่ด้วย เวลาซีลหมดอายุ จะมีน้ำมันคอม
กระเด็นออกมาบริเวณหน้าคลัตช์คอม และจะทำให้หน้าคลัตช์ลื่นและเกิดความเสียหายได้
6. เป็นฝาท้ายของคอมเพรสเซอร์
รูปนี้เป็นภาพของคอมฯ แอร์ แบบ Rotaly ยี่ห้อ Calsonic ซึ่งจะใช้ติดตั้งกับรถยนต์
ISUZU DMAX คอมฯ แอร์ จะมีขนาดเล็กจะไม่ค่อยฉุดกินกำลังเครื่องมากนัก
อายุความคงทนนั้นพอสมควร เรื่องน้ำมันหล่อลื่นนั้นใช้ #9 เท่านั้น ของ DENSO
หรือ ZEXEL ก็ได้ ถ้าเติมน้ำมันผิดเบอร์จะทำให้คอมแอร์นั้นเสียหายได้ทันที
หรือไม่เช่นนั้นก็จะมีเสียงดังภายในคอม และเสียในที่สุด
จากภาพข้างบนที่เห็นนี้
หมายเลข 1.นั่นคือเปลือกคอมฯ ของระบบโรตารี่ ซึ่งภายในจะมีน้ำมันหล่อลื่นอยู่
หมายเลข 2 เป็นภายในคอมฯ จะมีเพลาหมุนให้ใบพัดภายในหมุนทำกำลังอัด
หมายเลข 3 ฝาหน้าคอคอมฯ มีซีลและยางโอริงอยู่ด้วย
หมายเลข 4 เป็นพู่เล่ย์ที่ติดอยู่กับคอคอมเพรสเซอร์ และสายพานเครื่องยนต์จะคล้องอยู่
เวลาเครื่องยนต์หมุนก็จะหมุนพร้อมกัน
หมายเลข 5 เป็นคลัตช์ไฟฟ้า เวลาเปิด A/C ก็จะเกิดเป็นสนามแม่เหล็ก
หมายเลข 6 จานหน้าคลัตช์ เป็นตัวยึดติดกับเพลาโรตารี่ เวลาเปิดแอร์ ก็จะเกิดสนามแม่เหล็ก
ดึงจานคลัตช์ให้หมุนเพื่อทำความเย็น พอเย็นได้อุณหภูมิ กระแสไฟถูกตัด จานคลัตช์
ก็จะหยุดทำงานทันทีจะมีการตัดต่ออย่างนี้ ตลอดการใช้แอร์
. . . . . . .
ได้เห็นชิ้นส่วนภายในของ คอมเพรสเซอร์ แอร์รถยนต์ แล้ว เป็นอย่างไรบ้างครับ ชิ้นส่วนภายใน
คอมเพรสเซอร์ แอร์ ไม่ได้ยากเกินกว่าที่คุณผู้อ่านจะลองเริ่มต้นศึกษา ทำความรู้จักแต่อย่างใดใช่ไหมละครับ
อย่าลืมนะครับว่า การบำรุงรักษา ระบปรับอากาศในรถยนต์ อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยยืดอายุการใช้งาน
ให้ยาวนาน เพื่อที่ จะทำความเย็นๆให้กับคุณๆ ในทุกๆวันที่ใช้รถยนต์ ได้อย่างสบายใจ ไร้กังวล
พบกันใหม่ ตอนหน้าครับ
__________________________________________________________________
คุณวินัย บุญโชติ
อู่ราชันต์แอร์
3/14 ม.13 ถ.บางนา-ตราด กม.6 ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : สาขา บางนา :02-7385738
แฟกซ์ :02-7385739
มือถือ :081-8543358,081-3096909
เว็บไซต์ :www.rachanair.net
สงวนลิขสิทธิ์ 2009
ลิขสิทธิ์ทั้งบทความ และรูปภาพ เป็นของผู้เขียน
ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
เผยแพร่ครั้งแรกใน www.Headlightmag.com
17 สิงหาคม 2009
Vinai BunChoat
www.Rachanair.net
Copyright (c) 2009 Use of such content either in part
or in whole without permission is prohibited.
First Publish in www.Headlightmag.com
August 17th,2009
__________________________________________________________________